แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ใหม่เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.วิริยา พรมกอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ : 1.วิทยากรบรรยายแนวทางกาีรยืดอายุและการเก็บรักษาอาหาร 2.วิทยากรบรรยายการแปรรูปผักผลไม้ 3.วิทยากรบรรยายหลักการแปรรูปอาหาร 4.วิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปมะขามผง
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร, การแปรรูปผักผลไม้, เทคโนโลยีการทำแห้ง, การยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เคมีอาหาร หัวข้อที่สนใจ การใช้ประโยชน์จากโปรตีนพืช; สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ความเชี่ยวชาญ : บรรจุภัณฑ์อาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปัญณ์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีอาหาร
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ขนมอบ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.จิตรา สิงห์ทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีอาหาร
ประสบการณ์ : เคมีอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหาร อาหารพื้นบ้านและระบบประกันคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ไฮโดรคอลลอยด์ในอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จินดามณี แสงกาญจนวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เบเกอรี่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยสังเกตได้จากมีร้านกาแฟที่เปิดขายพร้อมกับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่หลากหลายชนิด ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่นั้นมีความหลากหลายมากตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงคนสูงวัย จากการสังเกตร้านค้าต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดที่ใกล้เคียงในกลุ่มอีสานใต้นั้นมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มาก โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในปัจจุบันจะเน้นที่คุณภาพมากขึ้น และที่กำลังได้รับความนิยมคือการเพิ่มรูปลักษณ์ภายนอกให้ดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่นี้จะมีความแตกต่างกันไปตามความรู้ของผู้ผลิตที่ได้รับการถ่ายทอดมา แตอย่างไรก็ตามการเพิ่มลักษณะที่ดึงดูดผู้บริโภคนี้อาจจะต้องมีการเติมสารปรุงแต่งลงไปเพื่อวัถตุประสงค์ที่แตกต่างกันไปเช่น การปรับปรุงสีสรร การปรับปรุงรสชาติ การปรับปรุงเนื้อสัมผัส หรือเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา แต่การเติมสารปรุงแต่งเหล่านี้อาจจะไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้นการให้ความรู้แก้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ให้ถูกต้องตามหลักของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร จะทำให้ผู้ผลิตได้เข้าใจถึงการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ นอกจากนี้การถ่ายทอดเทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์้เบเกอรี่ให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการจัดการวัตุดิบและผลิตภัณฑ์หลังการผลิตเพื่อให้ผู้ผลิตได้เห็นภาพตลอดห่วงโซ่กระบวนการดำเนินการ ก็จะทำให้ผู้ผลิตนำใช้ในการดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสสูงสุดทั้งทางด้านคุณภาพ และต้นทุนการลิตได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ผลิต เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง อาจารย์ นักวิจัยและผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและชุมชนในพื้นที่ให้บริการและพื้นที่ใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน นักศึกษา ข้าราชการ หรือบุคคลทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
-การติดต่อประสานงานกับวิทยากรที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด -การประสานหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เพื่อนำมาถ่ายทอดต่อไป -ประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรม ผ่านสื่อต่างๆ เช่น จดหมาย ป้ายประชาสัมพันธ์ อินเตอร์เน็ต -เตรียมจัดหาวัตถุดิบสำหรับการฝึกอบรม -ดำเนินการฝึกอบรมจำนวน 2 วัน โดยเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อห้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ปฏิบัติจริงพร้อมทั้งมีการสอดแทรกความรู้ในเรื่อง เทคนิคการการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แบบทันสมัย แนวทางการยืดอายุผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ การจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ -การประเมินผลการดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม -การเขียนรายงานผลการดำเนินการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การติดต่อประสานงานกับวิทยากรที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด -- --- --- --- 3,000.00
2.การประสานหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เพื่อนำมาถ่ายทอดต่อไป - --- --- --- 17,000.00
3.-ประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรม ผ่านสื่อต่างๆ เช่น จดหมาย ป้ายประชาสัมพันธ์ อินเตอร์เน็ต -- --- --- 10,000.00
4.-เตรียมจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม - - --- --- 90,000.00
5.-ดำเนินการฝึกอบรมจำนวน 2 วัน โดยเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อห้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ปฏิบัติจริงพร้อมทั้งมีการสอดแทรกความรู้ในเรื่อง เทคนิคการการผ --- -- --- --- 80,000.00
6.-การประเมินผลการดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม --- -- --- --- 2,000.00
7.-สรุปผลการดำเนินงานและการเขียนรายงานผลการดำเนินการ --- --- -- - 8,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 มีนาคม พ.ศ. 2559
09.00-12.00 บรรยายแนวทางการยืดอายุผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ คณาจารย์สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
10 มีนาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 การฝึกปฏิบัติการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ วิทยากรรับเชิญร่วมกับคณาจารย์และนักวิชาการสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
11 มีนาคม พ.ศ. 2559
9.00-12.00 การจัดการห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ วิทยากรรับเชิญ
11 มีนาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 การฝึกอบรมเชิงปฏิบิตการเพื่อควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ตลอดห่วงโซ่การผลิต คณาจารย์สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เพื่อลดต้นทุนและลดรายจ่ายที่เกินความจำเป็นได้
ด้านสังคม : ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นจึงทำให้มีจำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ได้ดีเพื่อการใช้พลังงานในระหว่างการจัดเก็บรักษาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ได้
ด้านอื่นๆ : เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์ ผู้ประกอบการและชุมชุน อีกทั้งทำให้นักศึกษาที่เข้าร่วมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีการอาหารมารับใช้สังคมได้จริง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
60
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
3800

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1205312 หลักการแปรรูปอาหาร2
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิตเทคโนโลนีการอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำกรณีศึกษาจากเทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่มาใช้ยืดอายุการผลิตภัณฑ์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การนำปัญหาที่พบจากกรณ๊ศึกษามาวิจารณ์ในชั้นเรียนพร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 29,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
1,800.00 บาท
2) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 42,240.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,840.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
2,400.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 1,440.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
1,440.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
7,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 13,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
13,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 138,360.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 89,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 1,400.00 บาท
=
70,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 49,360.00 บาท )
1) อุปกรณเครื่องครัว
=
29,360.00 บาท
2) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุเครื่องแก้วเพื่อวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 210,000.00 บาท