แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ รุ่นที่ 17
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Plant Pathology
ประสบการณ์ : การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมไส้เดืนฝอยรากปมโดยชีววิธี การเพาะเห็ด
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจำนงค์ จันทะสี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาตร์)
ประสบการณ์ : - ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโโดยชีวินทรีย์แ่ห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานชุดโครงการ การพัฒนาไก่พื้นเมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : โรคพืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : General Plant Science
ประสบการณ์ : ด้านการสอน วิชาปฐพีเบื้องต้น พืชอุตสาหกรรม งานวิจัย อโครงการน้ำทิ้งจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดต่อการผลิตข้าว โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการผลิตป๋ยน้ำจากสิ่งเหลือใช้ในครัวเรือน การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ธาตุอาหารพืช
ผู้ร่วมโครงการ
นายสมชาย คำแน่น คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สาธารสุขชุมชน
ประสบการณ์ : พนักงานห้องปฏิบัติการ
ความเชี่ยวชาญ : งานทางด้านอารักขาพืช (โรคแลฃะแมลงศัตรูพืช)
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เห็ดเป็นพืชผักที่นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง และเห็ดบางชนิดยังมีสรรพคุณทางยาที่สามารถป้องกันและรักษาโรคบางอย่างได้ จึงมีผู้นิยมบริโภคเห็ดกันทั่วไป เห็ดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดนางนวล เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหลินจือ เป็นต้น นอกจากเห็ดจะมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในแง่ของอาหารและยาป้องกันรักษาโรคแล้ว เห็ดหลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการเพาะเห็ดหลายชนิด วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรกรรม เช่นขี้เลื่อยฟางข้าว ฝักและซังข้าวโพด ชานอ้อน หรือแกลบ เป็นต้น ซึ่งหาได้ง่ายและทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความสนใจ ประกอบกับมีศึกษาวิจัยการเพาะเห็ดชนิดต่างๆก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันมีเห็ดหลายชนิดๆสามารถเพาะให้เกิดดอกได้และกลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี เช่น เห็ดหัวลิง เห็ดนางนวล เห็ดออเรนจิ เห็ดขอนขาว เห็ดบด(ลม) เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดแครง และ เห็ดหลินจือ เป็นต้น เห็ดขอนขาวเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันแพร่หลายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ พบเจริญบนขอนไม้ตระกูลเต็งรัง รวมทั้งไม้มะม่วงบางครั้งจึงเรียกว่า “เห็ดมะม่วง”ดอกเห็ดมีสีขาวนวล นิยมรับประทานในระยะที่ขอบดอกยังม้วนงออยู่ เมื่อหงายขึ้นมองไม่เห็นครีบใต้ดอก เนื่องจากเนื้อไม่เหนียว รดชาดหวานเล็กน้อยคล้ายเนื้อสัตว์ สามารถนำมาประกอบอาหารคาวได้หลายชนิด ถ้าดอกบานเนื้อจะเหนียว รับประทานยาก ตามธรรมชาติเห็ดขอนขาวจะออกดอกได้ดีในช่วงหน้าร้อน ตามขอนไม้ในป่าในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน แต่ในปัจจุบันเห็ดขอนขาวสามารถเพาะได้ในถุงพลาสติกด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและให้ผลผลิตสูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการส่งเสริมให้ความรู้และหลักการเพาะเห็ดแก่ผู้ที่สนใจ จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ” ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปมาแล้วจำนวนทั้งสิ้น 16 รุ่น ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมฯทั้งที่เป็นผู้ประกอบการเพาะเห็ด ข้าราชการครู เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน และประชาชนทั่วไป และในปีงบประมาณ 2559 วางแผนการจัดฝึกอบรมฯ โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดขอนขาวในถุงพลาสติก แก่ผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรที่เพาะเห็ดเดิมอยู่แล้ว ที่ต้องการเพาะเห็ดชนิดใหม่ๆ โดยเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาของเห็ด ขั้นตอนการเพาะเห็ด การเปิดดอก การดูแลรักษา การจัดการโรงเรือน การจัดการระบบน้ำ การป้องกันศัตรูเห็ด ตลอดจนการตลาด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดไม่ว่าจะเป็นเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนหรือต่อยอดพัฒนาเป็นธุรกิจ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ลดความเสี่ยงของการลงทุน เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรโดยสามารถเพาะเลี้ยงผสมผสานกับการทำเกษตรพืชผักโดยทั่วไปได้

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดขอนขาวในถุงพลาสติก
2.2. เพื่อส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการเพาะเห็ด เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สามารถเดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักกับสถานที่ฝึกอบรมได้เอง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. รับสมัครผู้เข้าอบรมโดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ อินเตอร์เน็ท ฯลฯ ของมหาวิทยาลัย 2.จัดเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ด สถานที่ เอกสารและวัสดุประกอบการฝึกอบรมฯ 3.จัดฝึกอบรมโดยการบรรยายและปฏิบัติการ 4. สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์ --- --- --- 1,500.00
2.รับสมัครผู้เข้าอบรม --- - --- --- 1,500.00
3. จัดเตรียมโรงเรือน/อุปกรณ์เพาะเห็ด และเอกสารประกอบการฝึกอบรม -- --- --- 24,000.00
4.จัดเตรียมก้อนเห็ด รวมทั้งอุปกรณ์และวัสดุฝึกฯ --- --- --- 28,000.00
5.จัดฝึกอบรม --- -- --- --- 40,000.00
6.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 เมษายน พ.ศ. 2559
08.00-08.30 น. ลงทะเบียนพร้อมรับเอกสารฝึกอบรม -
1 เมษายน พ.ศ. 2559
08.30-08.45 น. พิธีเปิดการอบรม -
1 เมษายน พ.ศ. 2559
08.45-10.15 น. บรรยาย"ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด และขั้นตอนการเพาะในถุงพลาสติก ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
1 เมษายน พ.ศ. 2559
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
1 เมษายน พ.ศ. 2559
10.30-12.00 น. ปฏิบัติการ "เตรียมอาหารวุ้น PDA" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ จำนงค์ จันทะสี
1 เมษายน พ.ศ. 2559
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน -
1 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00-14.30 น. ปฏิบัติการ "แยกเนื้อเยื่อดอกเห็ด" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และขนิษฐา วันทา
1 เมษายน พ.ศ. 2559
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
1 เมษายน พ.ศ. 2559
14.45-16.15 น. ปฏิบัติการ "การผลิตหัวเชื้อเห็ด" จำนงค์ จันทะสี และสมชาย คำแน่น
2 เมษายน พ.ศ. 2559
08.45-10.15 น. บรรยาย "การผลิตก้อนเห็ด การบ่มก้อน โรงเรือนเปิดดอก และ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของเห็ด" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
2 เมษายน พ.ศ. 2559
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม -
2 เมษายน พ.ศ. 2559
10.30-12.00 น. ปฏิบัติการ "การผลิตก้อนเชื้อเห็ด" บรรพต คชประชาและสมชาย คำแน่น
2 เมษายน พ.ศ. 2559
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน -
2 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00-14.30 น. ปฏิบัติการ "การต่อเชื้อเห็ด การบ่มก้อนเห็ด" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และขนิษฐา วันทา
2 เมษายน พ.ศ. 2559
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
2 เมษายน พ.ศ. 2559
14.45-16.15 น. ปฏิบัติการ "การเปิดดอกเห็ด การเก็บดอกเห็ด" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ บรรพต คชประชา
3 เมษายน พ.ศ. 2559
08.45-10.15 น. บรรยาย" โรคและแมลงศัตรูเห็ด" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
3 เมษายน พ.ศ. 2559
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม -
3 เมษายน พ.ศ. 2559
10.30-12.00 น. บรรยาย "ต้นทุนการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก" วิทยากรรับเชิญ
3 เมษายน พ.ศ. 2559
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน -
3 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00-15. น. ปฏิบัติการ"การแปรรูปเห็ด" วิทยากรรับเชิญและยุวดี ชูประภาวรรณ
3 เมษายน พ.ศ. 2559
15.00-15.15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม -
3 เมษายน พ.ศ. 2559
15.15-16.15 น. ปฏิบัติการ"แปรรูปเห็ด (ต่อ) วิทยากรรับเชิญ และ ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
3 เมษายน พ.ศ. 2559
16.15-16.30 น. พิธีปิดการฝึกอบรมและมอบใบประกาศ -

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมแก่ผู้ร่วมโครงการ ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
ด้านสังคม : เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมการเพาะเห็ด ทำให้เกิดความคุ้นเคย ความรัก ความสามัคคี ในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพาะเห็ด ทำให้เป็นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ด้านอื่นๆ : แหล่งโปรตีนที่ปลอดภัยของชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เป็นการอบรมฯเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน ผู้อบรมสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนต่อไปได้ในวงกว้าง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1202 344 Mushroom Production
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาออกให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 27,300.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,300.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,300.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
6,300.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 26,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรม 30 ชุดๆละ 200 บาท
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 46,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 6,100.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,600.00 บาท
=
2,600.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 40,100.00 บาท )
1) วัสดุงานบ้านงานครัว
=
2,000.00 บาท
2) วัสดุการเกษตร
=
30,000.00 บาท
3) วัสดุคอมพิวเตอร์
=
1,000.00 บาท
4) วัสดุก่อสร้าง
=
4,100.00 บาท
5) วัสดุเคมีและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท