แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ :การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านภาษีท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
ยังไม่ได้เพิ่มมาตรการ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ประสบการณ์ : สอน วิจัย บริการวิชาการ งานบริหาร: รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาหลักสูตร รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ วิจัย และบริการวิชาการ (ปัจจุบัน)
ความเชี่ยวชาญ : HRM, HRD, HR, Recruitment & Selection Organization Management Operation Management Public Service Motivation
หัวหน้าโครงการ
นางสาวรจนา คำดีเกิด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : การปกครองท้องถิ่น
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศิริพร ยศมูล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การคลังท้องถิ่นนโยบายสาธารณะการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าสาขารัฐประศาสนศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานภาครัฐ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อรทัย เลียงจินดาถาวร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : "ด้านการสอน 10 ปี ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ 10 ปี ด้านการบริหาร: รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ (ปัจจุบัน) "
ความเชี่ยวชาญ : "การบริหารโครงการ การวางแผนฯ ธรรมาภิบาล นโยบายสาธารณะ การจัดการภัยพิบัติ และงานวิจัยรับใช้สังคม"
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือว่าเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชนมากที่สุด โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นให้ครบถ้วนตามข้อบัญญัติในกฎหมาย แต่การที่จะให้บริการสาธารณะได้อย่างครบถ้วนนั้น ย่อมจะต้องอาศัยงบประมาณที่เพียงพอในการให้บริการสาธารณะ งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ได้มาจากการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง รวมทั้งได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้ ภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้เองที่สำคัญได้แก่ 1. ภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 2. ภาษีบำรุงท้องที่ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 3. ภาษีป้าย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งไม่สามารถจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากประสบปัญหาต่างๆ เช่น การไม่ยอมเสียภาษีของเจ้าของทรัพย์สิน การเสียภาษีล่าช้า หรือการแจ้งข้อมูลเท็จในการเสียภาษี เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลต่องบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะนำมาใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้มีงบประมาณน้อยลง หรือมีงบประมาณไม่ทันต่อการนำไปใช้ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบรวมทั้งหมด 239 แห่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจำนวนที่มาก หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะนำไปจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นรับผิดชอบ ก็ย่อมส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในอันที่ควรจะได้รับบริการสาธารณะที่ดี จากสภาพปัญหาดังกล่าว และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในท้องถิ่น ให้ตระหนักและยอมรับถึงความสำคัญของการเสียภาษีให้กับท้องถิ่น เพื่อจะได้เป็นการป้องกันปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี หรือการหนีภาษี เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างครบถ้วน ก็จะทำให้มีงบประมาณที่จะนำไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างเพียงพอ และตรงความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง นอกจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นแล้ว ผลจากการวิจัยยังสามารถนำไปใช้ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยได้ ดังนั้น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงเห็นควรที่จะต้องมีการจัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการจัดเก็บภาษีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ในการเสียภาษีท้องถิ่นประเภทต่างๆ ให้กับประชาชน
2.เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเสียภาษีให้กับท้องถิ่น
3.เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย ในเขตเทศบาลตำบล จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ร่างกำหนดการดำเนินงาน 1. ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการแก่ประชาชนในท้องถิ่น 2. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 1 วัน ร่างกำหนดการดังนี้ มีนาคม 2558 เวลา กิจกรรม / หัวข้อ ชื่อวิทยากร 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.15 น. พิธีเปิด 09.15 – 12.00 น. การบรรยาย - เรื่องการบริหารภาษีอากรท้องถิ่นเพื่อท้องถิ่น - การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.00 น. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องภาษีอากรท้องถิ่น กับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.การประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ การ -- --- --- --- 0.00
2.2.การเตรียมความพร้อมโครงการ --- -- --- --- 3,000.00
3.3.การลงพื้นที่ให้บริการวิชาการ --- -- --- --- 20,000.00
4.4.การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- --- --- 38,000.00
5.5.การประเมิน ผลการดำเนินงาน --- -- --- --- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 100 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการแก่ประชาชนในท้องถิ่น
9 มีนาคม พ.ศ. 2558
8.30 - 16.30 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 1 วัน ร่างกำหนดการดังนี้

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - ประชาชนในท้องถิ่นเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเสียภาษีให้กับท้องถิ่น
ด้านสังคม : - ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้ในการเสียภาษีและการวางแผนพัฒนาให้กับท้องถิ่นมากขึ้น - ท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ ให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาคณะ ได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงในวิจัย การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและ/หรือเชิงคุณภาพและการลงพื้นที่

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา - วิชาเทคนิคการบริหาร
หลักสูตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้ที่เป็นประสบการณ์จริงในเรื่องของภาษีท้องถิ่น และเทคนิคการวางแผน มากขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนกรณีศึกษาของนักศึกษาที่ได้จากการจัดทำบริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 33,520.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 6,020.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 2,500.00 บาท
=
2,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 1,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,520.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 วัน x วันละ 420.00 บาท
=
2,520.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 6,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,500.00 บาท )
1) - ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำวิดีโอ
=
2,500.00 บาท
2) - ค่าจ้างเหมาแรงงาน (10 คน x 200 บาท)
=
2,000.00 บาท
3) - ค่าจ้างเหมาประมวลผลแบบสอบถามโครงการ
=
2,500.00 บาท
4) - ค่าจ้างเหมาถอดเทป
=
1,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 18,880.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 18,880.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
13,760 แผ่น x 0.50 บาท
=
6,880.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 65,000.00 บาท