แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ : เถ้าแก่น้อยสายพันธุ์ Social Media
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
หัวหน้าโครงการ
ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การใช้งาน Google Apps for Education จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปี 2557 - การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP จัดโดย SIPA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556 -วิทยากรรับเชิญ “การเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ของภาคธุรกิจด้าน IT”
ความเชี่ยวชาญ : - Data Mining - Soft Computing - Information Retrieval - Network Systems - Parallel Programming - Database and Application Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education - Internet Marketing
ผู้ร่วมโครงการ
นายกวีวัฒน์ จังอินทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงจำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมให้แก่คน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งองค์กรรวมทั้งบุคลากรจึงเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง แต่การทำงานในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกองค์กร ทำให้หลาย ๆ องค์กรจำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงานให้องค์กร ซึ่งในปัจจุบันนี้ สื่อสังคม (Social Media) กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาทั้งด้านความเร็วในการใช้งานและพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นและยังมีเทคโนโลยีสนับสนุนอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภคใน หลาย ๆ ด้าน สื่อสังคมเป็นช่องทางที่สำคัญในการสื่อสารกับผู้บริโภคที่หลาย ๆ ธุรกิจนำเอาไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจ จากผลการการศึกษายุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์พบว่าผู้บริโภคที่เป็นชาวไทยนิยมใช้สื่อสังคมเฟสบุ๊คมากที่สุด โดยใช้เพื่อการหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคา ดังนั้นสถานประกอบการจึงควรมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการให้ข้อมูลข่าวสาร (พรรณี สวนเพลง และคณะ: 2556) ผู้บริโภคในยุคดิจิตอลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะศึกษาหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการเสมอ ซึ่งจะเห็นได้จากผลการวิจัยของเน็ลสันในปี 2556 ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 84% เชื่อคำแนะนำ หรือคำบอกต่อ (Word of Mouth) เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการจากคนรู้จัก (เนลสัน : 2556) นอกจากนี้จากผลการศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครยังพบว่าพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคนั้นมีความสัมพันธ์กับเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาและรายได้ (ปณิชา นิติพรมงคล : 2555) จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากในอดีต ถ้าหากธุรกิจยังใช้การสื่อสารการตลาดแบบยัดเยียดทางเดียวก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นสื่อที่มีต้นทุนต่ำ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และได้รับทราบผลตอบรับต่อการสื่อสารในทันที ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับธุรกิจ SMEs ที่มีต้นทุนน้อยที่จะนำเอาสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพของตนเอง จากผลการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของกิจการในประเทศไทยพบว่ายังมีบริษัทอยู่จำนวนมากที่ยังไม่ใช้สื่อสังคม ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เฟสบุ๊ค ทวิสเตอร์และยูทูบ โดยจะใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลของหน่วยงาน ข้อมูลสินค้า ข้อมูลบริการ และให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้าเป็นหลัก บริษัทต่าง ๆ จะเน้นการใช้เครือข่ายสังคมเฟสบุ๊คเป็นหลัก เนื่องจากเฟสบุ๊คสามารถตอบสนองความต้องการด้านการประชาสัมพันธ์และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยการสนับสนุนการใช้สื่อสังคมภายในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การประยุกต์ใช้สื่อสังคมในองค์กรประสบความสำเร็จได้ (ปีเตอร์ รักธรรม : 2556) ด้วยเหตุนี้เองจึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเพื่อนำเอาความรู้ที่ได้ไปช่วยส่งเสริมธุรกิจ SMEs ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจให้กับให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเอง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs/OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคธุรกิจ เอกชนและผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแผนงานอบรม - -- --- --- 5,900.00
2.ประชาสัมพันธ์ --- --- 10,000.00
3.รับสมัครผู้ร่วมโครงการ --- --- 5,000.00
4.ดำเนินโครงการ --- --- --- -- 23,500.00
5.สรุปโครงการ --- --- --- - 2,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 305 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
08.00-9.00 ลงทะเบียน
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
14.45-16.00 การสร้าง Facebook Fan Page และการขายสินค้าใน Facebook อ.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00-14.30 แนวทางการโปรโมทและการทำการตลาดออนไลน์ อ.ดร.จักริน วชิรเมธิน
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.45-12.00 การนำเสนอสินค้าบน Social Media อ.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00-10.30 แนวคิดเกี่ยวกับการขายสินค้าแนวใหม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อ.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
08.00-09.00 ลงทะเบียน
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00-10.30 การสร้างร้านค้าออนไลน์ด้วย Wordpress กวีวัฒน์ จังอินทร์
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.45-12.00 การสร้างร้านค้าออนไลน์ด้วย Wordpress (ต่อ) กวีวัฒน์ จังอินทร์
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00-14.30 การปรับแต่งเว็บไซต์ Wordpress เพื่อนำเสนอขายสินค้า อ.ดร.จักริน วชิรเมธิน
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
14.45-16.00 การปรับแต่งเว็บไซต์ Wordpress เพื่อนำเสนอขายสินค้า (ต่อ) อ.ดร.จักริน วชิรเมธิน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อช่วยส่งเสริมธุรกิจได้ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การตลาดบนอินเทอร์เน็ต
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชาร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,920.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,720.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,520.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,520.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 23,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,500.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
3,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 5,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
5,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 13,900.00 บาท )
1) จำนวน 5 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 200.00 บาท
=
2,000.00 บาท
2) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 200.00 บาท
=
400.00 บาท
4) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 2,500.00 บาท
=
2,500.00 บาท
5) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
6) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,480.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 10,530.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,060 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,530.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 1,950.00 บาท )
1) 3.3 ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์-แฟลตไดร์ฟ (390 บาท x 5 ตัว)
=
1,950.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 500.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 100 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
300.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 200 บาท
=
200.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 46,900.00 บาท