แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการให้สุขศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแนวใหม่ สำหรับบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ปีที่ 3
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2555 - 2557 ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556-2557
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
หัวหน้าโครงการ
นางสาวพัจนภา วงษาพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พิษวิทยาทางอาหารและโภชาการ)
ประสบการณ์ : ผู้ขเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ 2555-2556
ความเชี่ยวชาญ : - อาหารและโภชนาการ - พฤติกรรมการบริโภคอาหาร -การประเมินความเสี่ยงในการได้รับสารอันตรายทางเคมีจากการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คุณภาพชีวิตและวิถีชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามวิวัฒนาการของสังคม แต่ปัญหาสุขภาพไม่ได้หมดไป คือ พัฒนาการอันนำมาซึ่งความสะดวกสบายนั้น ได้ทำให้พฤติกรรมชีวิต ลักษณะนิสัยการกินอยู่ รวมถึงพันธุกรรมเปลี่ยนแปลง มีงานวิจัยระบุว่า ในรอบ10 ปีหลัง มนุษย์บริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นถึงสามเท่ามีพฤติกรรมการกินอาหารบางประเภทซ้ำ ๆ กันสม่ำเสมอ และออกกำลังกายน้อยลง ทั้งหมดเป็นผลจากระบบอุตสาหกรรมที่พัฒนาก้าวกระโดดได้ทำลายสมดุลธรรมชาติดั้งเดิมลง นำไปสู่พิษภัยต่อสุขภาพในรูปแบบใหม่ ๆ อัตราคนเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต หรือโรคอ้วน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น ที่สำคัญคือคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่ามีอาการของโรคเหล่านี้ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การปลูกฝังมุมมองให้รับรู้ร่วมกันว่า "สุขภาวะ" ไม่ใช่แค่เรื่องของความเจ็บป่วย ทั้งของตนเองและคนรอบตัว สุขภาวะที่ดีจะต้องสร้างความสุขเชื่อมโยงถึงกัน คือการช่วยเหลือเกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยแบบองค์รวมของทุกคนในสังคม ดังนั้น คนไทยต้องปฏิวัติ วิธีคิดและความเชื่อใหม่ คือ "สุขภาพคือเรื่องของคนทุกคน ไม่ใช่เพียงเรื่องของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล หรือการเจ็บไข้ได้ ป่วยตามความเข้าใจเก่าอีกต่อไป แต่ต้องเป็นเรื่อง ของทุกคน ที่ช่วยกันสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ" และในการนำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน กลุ่มเสี่ยงต่อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และการติดบุหรี่ เป็นต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นประเด็นที่นักวิชาการสาธารณสุขให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่อัตราการเกิดโรคเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ได้ผล ต้องทำในทุกระดับและอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่บุคคลที่สำคัญในการที่จะทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ผลมากยิ่งขึ้นนั้น คือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่เป็นผู้แนะนำและถ่ายทอดกระบวนการ เทคนิครวมถึงการจัดการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการมีเทคนิคและกระบวนที่ดีในการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนั้นก็จะช่วยให้บุคลากรสาธารณสุขทำงานได้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนที่จะนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะในเทคนิคและกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับบุคลากรสาธารณสุขเพื่อนำไปปฏิบัติงานในหน่วยงาน ดังนั้น วิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการให้สุขศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแนวใหม่ สำหรับบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเป็นการสนับสนุนให้บุคลากรกลุ่มนี้ได้มีการพัฒนากระบวนการในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อันจะนำไปสู่การลดปัญหาสุขภาพของประชาชนที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมในอนาคตต่อไปได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีความรู้ทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติในเทคนิคและกระบวนการการให้สุขศึกษาสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
2.เพื่อให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีความรู้ทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติในเทคนิคและกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ ที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ เทศบาลตำบลเทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุขจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการผ่านทางหนังสือราชการ , Website ตามหน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล อบต. สสจ. สสอ. โรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น 2. ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และ การสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อยืนยันการเข้าร่วมโครงการ 3. ประสานงานกับวิทยากร เพื่อจัดทำเอกสารประกอบการอบรม 4. เตรียมเอกสาร แบบประเมิน สถานที่ ในการอบรม 5. จัดอบรม 6. ประเมินผลการอบรม และสรุปผลการจัดโครงการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการภายในเวลา 3 เดือน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง --- --- --- 4,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัคร -- --- --- 0.00
3.ผลิตเอกสารประกอบการอบรม --- -- -- --- 10,000.00
4.ดำเนินการจัดอบรม --- --- -- --- 91.00
5.ประเมินผลการอบรม --- --- - -- 0.00
6.รายงานผลการดำเนินงานโครงการ --- --- --- - 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
08.00 ลงทะเบียน อาจารย์วรารัตน์ สังวะลี
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 บรรยาย เทคนิคการสื่อสารสุขภาพ บรรยาย เทคนิคการให้สุขศึกษาในชุมชน ปฏิบัติ ทักษะการสื่อสารสุขภาพ อาจารย์นิยม จันทร์นวลและคณะ
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
08.00 ลงทะเบียน อาจารย์วรารัตน์ สังวะลี
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 บรรยาย เทคนิคการให้สุขศึกษาในโรงพยาบาล ปฏิบัติ การให้สุขศึกษาในโรงพยาบาล บรรยาย เทคนิคการทำกระบวนกลุ อาจารย์นิยม จันทร์นวลและคณะ
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
08.00 ลงทะเบียน อาจารย์วรารัตน์ สังวะลี
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 บรรยาย เทคนิคการสร้างพลัง และแรงจูงใจ ปฏิบัติ การสร้างพลังและแรงจูงใจ เกมส่งต่อความรู้ อาจารย์นิยม จันทร์นวลและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการให้สุขศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแนวใหม่ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเทคนิคการให้สุขศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในการปฏิบัติงานได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอนในเรื่องการให้สุขศึกษา การปรับพฤติกรรมสุขภาพ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาไปเป็นผู้ช่วยกระบวนการกลุ่มในการจัดโครงการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 37,680.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 36,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1200 ชม. x ชม.ละ 3.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 600 ชม. x ชม.ละ 6.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
32,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,680.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 1,680.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,680.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 42,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 6,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2000 วัน x ราคา 3 บาท/คัน/วัน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าอาหารรับรองวิทยากร
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 17,020.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 14,020.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,020.00 บาท
=
3,020.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 100.00 บาท
=
5,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 97,000.00 บาท