แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ศูนย์เรียนรู้การจัดการภัยพิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประเทือง ม่วงอ่อน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Doctor of Public Administration Program สาขาวิชาPublic Policy The National Institute of Development Administration (NIDA)
ประสบการณ์ : ประสบการณ์: สอน วิจัย งานบริหาร : รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ปี 2549 – 2550 • รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ปี 2550 – 2551 • รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ปี 2551 – 2552 • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ เดือนเมษายน 2558-ปัจจุบัน • ผู้อานวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น ม.อุบลฯ (โครงการพิเศษ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย) (ปี 2549 – 2552) • เลขานุการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยอุบลราธานี(ปี 2549 – 2551)
ความเชี่ยวชาญ : นโยบายสาธารณะ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวปิยะมาศ ทัพมงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเพียงกมล มานะรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การปกครอง
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองท้องถิ่น และ นโยบายสาธารณะ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวกิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองภาคประชาชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2560 1. โครงการการส่งเสริมความรู้และการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง 2. โครงการวันรัฐธรรมนูญกับสังคมการเมืองไทย
ความเชี่ยวชาญ : รัฐศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นายปฐวี โชติอนันต์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวชนิดา ศรีบุญเรือง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่หลายครั้งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ.2521, 2545 ทำให้เกิดการตื่นตัวของทุกภาคส่วนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยน้ำท่วม มีการบูรณาการของหน่วยงานเพื่อการป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2554 จังหวัดอุบลราชธานีได้เผชิญกับภัยน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีระดับความรุนแรงเกือบเท่ากับที่เกิดในปี พ.ศ.2545 สร้างความเสียหายจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะมีการเตือนภัยให้ประชาชนได้รับทราบเป็นระยะๆ แต่ก็พบว่ายังมีข้อจำกัดหลายประการในระบบการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม และการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และได้พัฒนาความรู้ด้านภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2543 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ลักษณะและคุณสมบัติการไหลของน้ำท่าจากลุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2547 โครงการแบบจําลองสภาพนํ้าท่วมพื้นทิ่ริมตลิ่งแม่นํ้ามูลเพื่อทราบระดับนํ้าและพื้นที่ท่วมนอง บริเวณเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีและเทศบาลเมืองวารินชําราบ ปี 2548 โครงการการทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบจําลองทางชลศาสตร์สําหรับการทํานายระดับน้ำและอัตราการไหล กรณีศึกษาลําน้ำมูลบริเวณ อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2550 โครงการการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล GIS ลุ่มน้ำห้วยข้าวสาร และปี 2555 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ชุดภัยพิบัติ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการการปรับตัวของเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก กรณีศึกษา: บ้านท่างอย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โครงการระบบและกลไกในการจัดการสุขภาวะของชุมชนกับภัยน้ำท่วมในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพไทย ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โครงการการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมของเทศบาลเมืองวารินชำราบโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง กรณีศึกษา ชุมชน 14 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม โครงการการพัฒนาศักยภาพในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชุมชนบ้านช่างหม้อ ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และโครงการรูปแบบการบริหารจัดการภัยน้ำท่วม โดยชุมชน บ้านหาดสวนยา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า หลักการที่สำคัญที่สุดในการจัดการภัยพิบัติ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายใต้การบริหารจัดการที่ดี ทั้งภาครัฐ (public sector) ภาคธุรกิจเอกชน (private sector) และภาคประชาสังคม (civil society) โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต การจัดทำแผนป้องกันและจัดการบนพื้นฐานของเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา ทั้งนี้ การคาดหวังว่ารัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือตนอย่างทันท่วงทีขณะเกิดภัยพิบัตินั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีการการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ชุมชนและประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบอย่างเป็นระบบ ให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมและการปฏิบัติตัวระหว่างเกิดภัยพิบัติ การจัดทำแผนการจัดการอุทกภัยโดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือ โดยการกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ประสานการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยองค์ความรู้ที่มี โดยศูนย์การเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศูนย์การเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จะเป็นสถานที่ถ่ายทอดให้ ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ และการเตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดภัยพิบัติ เพื่อลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยมีการฝึกอบรมให้ความรู้การจัดการภัยพิบัติโดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งแกนนำชุมชน อาสาสมัครและประชาชนทั่วไปในการจัดการและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดภัย การแลกเปลี่ยน แหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติชุมชน เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งเชิงวิชาการด้านการจัดการภัยพิบัติและการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัย ถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายแนวคิดการจัดการภัยพิบัติชุมชนอย่างกว้างขวาง
2.เพื่อให้การจัดการภัยพิบัติของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นการจัดการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.เพื่อสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. แกนนำชุมชน คณะกรรมการชุมชน และประชาชนทั่วไป 2. หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติ 3. นักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการภัยพิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. กิจกรรมจัดอบรม “หลักสูตรการจัดการภัยพิบัติชุมชน” 3. กิจกรรมการคัดเลือกและพัฒนาแหล่งเรียนรู้จัดการภัยพิบัติโดยชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี 4. กิจกรรมจัดสร้างฐานข้อมูลการจัดการภัยพิบัติชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.กำหนดรูปแบบงานและกิจกรรมในแต่ละช่วง (plan) -- --- --- --- 2,000.00
2.กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม (plan) - --- --- --- 10,000.00
3.เตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (do) - --- --- --- 10,000.00
4.เตรียมความพร้อมกิจกรรมการจัดสร้างฐานข้อมูลการจัดการภัยพิบัติฯ (do) - --- --- --- 10,000.00
5.เตรียมความพร้อมกิจกรรมการฝึกอบรม (do) - --- --- --- 20,000.00
6.ประชาสัมพันธ์งาน (do) -- --- --- --- 20,000.00
7.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน รอบที่ 1 (check) --- -- --- --- 4,000.00
8.ดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนดไว้ (act) --- - -- -- 220,000.00
9.ประเมินผลการดำเนินงาน รอบที่ 2 (check) --- --- --- -- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
กิจกรรมจัดสร้างฐานข้อมูลการจัดการภัยพิบัติชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
19 มกราคม พ.ศ. 2559
กิจกรรมการคัดเลือกและพัฒนาแหล่งเรียนรู้จัดการภัยพิบัติชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการภัยพิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สถานที่คณะรัฐศาสตร์ สำนัก
20 เมษายน พ.ศ. 2559
กิจกรรมจัดอบรม “หลักสูตรการจัดการภัยพิบัติชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง” สำหรับหน่วยงาน ครั้งที่ 1
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
กิจกรรมจัดอบรม “หลักสูตรการจัดการภัยพิบัติชุมชน” สำหรับชุมชน ครั้งที่ 2

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ศูนย์เรียนรู้ได้เผยแพร่ผลงานวิจัย ถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายแนวคิดการจัดการภัยพิบัติชุมชนอย่างกว้างขวาง 2. การจัดการภัยพิบัติจะเป็นการจัดการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ชุมชนประสบภัยสามารถจัดการกับความเสี่ยง ความเปราะบาง และปัญหาอุทกภัยของชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เกิดการสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวางแผนและบริหารโครงการส่วนท้องถิ่น และการบริหารโครงการ
หลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต และรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3,4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนรายงานของนักศึกษาที่ได้จากการบริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 112,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 72,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
57,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 40,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 30 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
22,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 137,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 33,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 200 คน x ครั้งละ 100.00 บาท
=
20,000.00 บาท
2) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
3,200.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 61,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำวิดีโอ
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการ
=
10,000.00 บาท
3) ต่าจ้างเหมาจัดทำฐานข้อมูล
=
10,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารเผยแพร่
=
10,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาประมวลผลแบบสอบถามโครงการ
=
3,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาแรงงาน
=
10,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด
=
3,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
7,500.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 50,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 50,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
20,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
20,000.00 บาท
=
20,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 300,000.00 บาท