แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10 (The 10th Botanical Conference of Thailand)
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวช่อทิพย์ กัณฑโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา (อนุกรมวิธานพืช)
ประสบการณ์ : "กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของของพรรณไม้กลุ่มลูกใต้ใบ (Phyllanthus) บางชนิดในประเทศไทย และความหลากหลายของพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี "
ความเชี่ยวชาญ : อนุกรมวิธานและกายวิภาคศาสตร์ของพืชวงศ์เอื้องเพ็ดม้า (Polygonaceae) และพืชสกุลทองพันชั่ง (Rhinacanthus) ในประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
นายวิโรจน์ เกษรบัว คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา
ประสบการณ์ : สอนและวิจัยในสาขาอนุกรมวิธานและกายวิภาคศาสตร์พืช
ความเชี่ยวชาญ : อนุกรมวิธานและกายวิภาคศาสตร์พืช (Plant taxonomy and anatomy)
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.แก้ว อุดมศิริชาคร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วทม.พฤกษศาสตร์
ประสบการณ์ : "อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย และทำวิจัยทาง ด้านพฤกษศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 26 ปี "
ความเชี่ยวชาญ : Taxonomy of Vascular Plants and Ethnobotany
ผู้ร่วมโครงการ
นายถาวร สุภาพรม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา : เซลล์พันธุศาสตร์
ประสบการณ์ : "1. อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีหน้าที่สอนและเตรียมปฏิบัติการวิชาในกลุ่ม วิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิชาชีพ หมวดกลุ่มวิชา พันธุศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับปริญญาตรี – โท และ เอก ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ และนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุขของโครงการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกว่า 23 ปี 2. หัวหน้าแผนกวิเคราะห์โครโมโซม ในฐานะนักเซลล์พันธุศาสตร์ (Human Cytogeneticist) ประจำ Family health Clinic and Fertility Center (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท Fertility Center จำกัด ) รับผิดชอบ งานตรวจวิเคราะห์โครโมโซม ให้ความเห็น และคำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ (genetic counseling) แก่ผู้ป่วย และ ครอบครัว(ทำงาน เฉพาะ วันเสาร์ – อาทิตย์) 3. หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์โครโมโซม ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ยกฐานะจากหน่วยปฏิบัติการเซลล์พันธุศาสตร์เป็นศูนย์วิเคราะห์โครโมโซมเมื่อปี 2548) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ ให้บริการ ด้านการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมแก่โรงพยาบาล คลีนิก และหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตอิสานใต้"
ความเชี่ยวชาญ : มีความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติจากเลือด น้ำคร่ำ ปละไขกระดูก และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษาโครโมโซมของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุภาพร พรไตร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การสอนวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางอรัญญา พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สรีรวิทยาพืช
ประสบการณ์ : (1) หัวหน้าโครงการเพาะเมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้ป่า (ระยะที่ 4: กล้วยไม้สกุลหวาย) และโครงการศึกษาสภาวะการปลูกลูกกล้วยไม้สกุลกะเรกะร่อนในสภาพป่าธรรมชาติ (2) Light and Scanning Electron Microscopy Studies of Stomata, Guard Cells and Trichomes in Mokjong (Scaphium macropodum)
ความเชี่ยวชาญ : Plant Physiology และ Plant Tissue Culture
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุทธนา ปลอดสมบูรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา
ประสบการณ์ : อาจารย์ผู้สอนวิชา Biology I และ Introduction to Biology II
ความเชี่ยวชาญ : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและแพลงค์ตอน
ผู้ร่วมโครงการ
นายปรัชญาพร วันชัย คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ประสบการณ์ : อาจารย์ผู้สอนวิชา Bioscience และ Biology II
ความเชี่ยวชาญ : Ecology
ผู้ร่วมโครงการ
นายประเสริฐ ผางภูเขียว คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ประสาทวิทยา
ประสบการณ์ : (1) Quercetin-loaded zein based nanofiber mat: A novel cognitive enhancer (2) Quercetin-loaded nanofibers enhanced memory and neurons density in both normal and memory deficit animals. Society for Free Radical Research (SFRR)
ความเชี่ยวชาญ : Neuroscience
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมความอุดมสมบูรณ์ของพรรณพืชที่มีความหลากหลายทางชีวภาพพันธุกรรม และนิเวศวิทยา ซึ่งมีความสำคัญต่อมนุษย์ โดยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จาเป็นสาหรับปัจจัยสี่ ปัจจุบันมี หน่วยงานต่างๆ ของรัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาวิจัย รวบรวมความรู้และผลิตผลงานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์ ไว้มากมาย ตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน จนถึงการประยุกต์ใช้อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพืชอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ สำหรับการวางแผนอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ สมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ได้จัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติทางด้านทรัพยากรพืชเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อก่อให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และผลงานวิจัยในรูปแบบการประชุมวิชาการ ในปี พ.ศ. 2559 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับเกียรติจากสมาคมพฤกษศาสตร์ฯ ให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10 (The 10th Botanical Conference of Thailand: BCT10) ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รูปแบบการจัดประชุม ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ มีการเสนอผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา ในสาขาที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยต่างๆ ดังนี้ อนุกรมวิธาน สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา กายวิภาค พันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ พฤกษเคมี พฤกษศาสตร์พืน้ บ้าน นิเวศวิทยา ตลอดจนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น พืชสวน พืชไร่ ป่าไม้ สาหร่าย เห็ดรา และไลเคน จากการจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้ คณะผู้จัดคาดว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้สนใจทั้ง คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อเปิดโอกาสและกระตุ้นให้ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจทางด้านพฤกษศาสตร์ ได้พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ 2. เพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางด้านความร่วมมือในระดับชาติ/นานาชาติ ทางด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศไทย 3. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยใหม่ๆ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงต่างๆ ในการปรับปรุงและพัฒนางานวิจัยเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด 4. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้พื้นฐานจากอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปทางด้านพฤกษศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
250 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน 2. ประสานงานติดต่อนักวิทยาศาสตร์รับเชิญ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการในรูปแบบต่างไปยังกลุ่มเป้าหมาย 4. ดำเนินโครงการ 5. สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน - --- --- --- 0.00
2.ประสานงานติดต่อนักวิทยาศาสตร์รับเชิญ -- --- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- --- 2,000.00
4.ดำเนินโครงการ --- --- -- --- 142,800.00
5.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- - --- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
4 เมษายน พ.ศ. 2559
08.00-09.00 ลงทะเบียนและติดโปสเตอร์
4 เมษายน พ.ศ. 2559
18.00-20.30 งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม
4 เมษายน พ.ศ. 2559
16.45-18.00 การประชุมของสมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
4 เมษายน พ.ศ. 2559
15.15-16.30 การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
4 เมษายน พ.ศ. 2559
15.00-15.15 รับประทานอาหารว่าง
4 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00-15.00 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (แบ่งกลุ่ม)
4 เมษายน พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
4 เมษายน พ.ศ. 2559
10.45-12.00 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (แบ่งกลุ่ม)
4 เมษายน พ.ศ. 2559
10.30-10.45 รับประทานอาหารว่าง
4 เมษายน พ.ศ. 2559
09.30-10.30 บรรยายพิเศษโดยวิทยากรรับเชิญ
4 เมษายน พ.ศ. 2559
09.00-09.30 พิธีเปิดการประชุม
5 เมษายน พ.ศ. 2559
15.45-16.30 พิธีมอบรางวัลการนำเสนอผลงานและพิธีปิด
5 เมษายน พ.ศ. 2559
15.30-15.45 รับประทานอาหารว่าง
5 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00-15.00 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (แบ่งกลุ่ม)
5 เมษายน พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
5 เมษายน พ.ศ. 2559
10.45-12.00 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (แบ่งกลุ่ม)
5 เมษายน พ.ศ. 2559
10.30310.45 รับประทานอาหารว่าง
5 เมษายน พ.ศ. 2559
09.00-10.30 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (แบ่งกลุ่ม)
6 เมษายน พ.ศ. 2559
7.30-16.30 ทัศนศึกษา (มีอาหารว่าง 2 มื้อ และอาหารกลางวัน 1 มื้อ) - เส้นทางที่ 1: แม่น้ำสองสี น้าตกสร้อยสวรร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพื่อสนับสนุนและสรรค์สร้างการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์เชิงพานิชย์ที่สามารถนำมาประยุกต์กับการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสังคม : 1. เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางพฤกษศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องให้สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในเอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ และยกระดับการศึกษาวิจัยบัณฑิตศึกษาให้สามารถเท่าเทียมนานาชาติ 2. ผู้เข้าร่วมงาน ทั้งอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จะได้ความรู้ ทราบความก้าวหน้าและความเข้าใจที่ดีต่องานด้านพฤกษศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ 3. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่าง อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป 4. มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางด้านความร่วมมือในระดับชาติ/นานาชาติ ทางด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศไทย
ด้านสิ่งแวดล้อม : กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานด้านพฤกษศาสตร์กับงานด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา Plant Taxonomy (1111 315)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในหัวข้อ Plant classification, identification and nomenclature
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาร่วมกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 123,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,700.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 2,700.00 บาท )
1) จำนวน 3 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 900.00 บาท
=
2,700.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 15.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 48,100.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
25,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 140 คน
=
5,600.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
17,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 45,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำรูปเล่ม program, abstract และ proceedings (250 เล่ม x 50 บ./เล่ม)
=
12,500.00 บาท
2) ค่ากระเป๋าผ้าใส่เอกสารการประชุม (จำนวน 250 คน x 50 บาท/ชิ้น)
=
12,500.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมายานพาหนะพร้อมน้ำมันสำหรับรับส่งผู้ร่วมทัศนศึกษา
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 22,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 18,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 4,500.00 บาท )
1) ค่าของที่ระลึกสำหรับ chair person, invited speaker และผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมพฤกษศาสตร์ฯ (จำนวน 10 คนๆ
=
2,500.00 บาท
2) ค่าของรางวัลสำหรับผู้นำเสนอภาคบรรยายและโปสเตอร์ (จำนวน 10 คนๆ ละ 200 บ.)
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 145,800.00 บาท