แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ นำเข้าและส่งออกสินค้าออนไลน์จากจีนผ่านทางเว็บไซต์ Alibaba
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การใช้งาน Google Apps for Education จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปี 2557 - การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP จัดโดย SIPA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556 -วิทยากรรับเชิญ “การเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ของภาคธุรกิจด้าน IT”
ความเชี่ยวชาญ : - Data Mining - Soft Computing - Information Retrieval - Network Systems - Parallel Programming - Database and Application Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education - Internet Marketing
หัวหน้าโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.กมลพร นครชัยกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : วิจัย, วิทยากร และการเป็นที่ปรึกษา
ความเชี่ยวชาญ : การตลาดและการจัดการ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการว่างงานของคนในประเทศได้ดีที่สุด เพราะหากมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นก็จะต้องมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังว่างงานอยู่ผันตัวเองไปเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายใหม่ได้ ซึ่งตัวอย่างของโครงการที่ภาครัฐได้ดำเนินการมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ “กิจกรรมเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs Creation: NEC)” เป็นโครงการที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนา SMEs โดยถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ด้วยการสร้างผู้ประกอบการ SMEs ใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็จะช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เดิมที่ยังคงมีศักยภาพให้อยู่รอด เพื่อให้ SMEs ทั้งรายใหม่และรายเดิมสามารถดำรงอยู่และเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อันจะทำให้ประเทศไทยมีฐานธุรกิจและฐานภาษีที่กว้างขวางขึ้น สร้างรายได้เพื่อนำมาพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจที่ผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ กำลังให้ความสนใจก็คือธุรกิจค้าปลีกแต่ปัญหาของธุรกิจนี้ก็คือผู้ประกอบการรายใหม่ไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคากับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ประกอบการขนาดเล็กขาดอำนาจในการต่อรองด้านราคาในการสั่งซื้อ ส่งผลให้ได้ต้องสินค้าที่มีราคาสูงกว่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่แม้ว่าสินค้าจะเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ผู้ประกอบการก็คือการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าบางอย่างจากประเทศจีน เนื่องจากจีนมีโรงงานผลิตเป็นจำนวนมาก มีสินค้าที่มีความหลากหลายและต้นทุนที่ถูกกว่าสินค้าบางอย่างในประเทศ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการทุกขนาดเริ่มให้ความสนใจในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีน อย่างไรปัญหาและอุปสรรคของการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนก็คือปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารและการเลือกตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ผลิตที่มีความไว้วางใจได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือผู้ที่สนใจต้องการจะสั่งซื้อหรือนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาขายหรือใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กร จึงเห็นควรที่มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ Alibaba ให้กับผู้ประกอบการหรือตัวแทนผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้ากับประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ Alibaba ได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ Alibaba ได้
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานทางด้านธุรกิจได้
3.เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ที่มีความสนใจเกี่ยวกับธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ Alibaba ได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนผู้ประกอบการหรือบุคคลที่สนใจในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
เตรียมแผนงานอบรมเชิงปฏิบัติการ จากนั้นทำการประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัคร แล้วดำเนินการและสรุปผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแผนงานอบรม - --- --- --- 3,860.00
2.ประชาสัมพันธ์ -- - --- --- 2,000.00
3.รับสมัครผู้ร่วมโครงการ --- -- --- --- 2,500.00
4.ดำเนินโครงการ --- -- -- 23,500.00
5.สรุปโครงการ --- --- --- -- 2,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
8.00-9.00 ลงทะเบียน
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
9.00-10.00 หลักการและเหตุผลเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน อ.กมลพร นครชัยกุล
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.00-12.00 กฎหมายและความรู้พื้นฐานการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน อ.ดร.จักริน วชิรเมธิน
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 เริ่มต้นใช้งานเว็บไซต์ Alibaba อ.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
8.00-9.00 ลงทะเบียน
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
9.00-12.00 การค้นหาสินค้าและการเจรจาต่อรองซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์ Aliaba อ.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 การตรวจสอบประวัติตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ผลิต อ.ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ และทีมงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ผู้เข้าอบรมมีทักษะและความรู้ความเข้าใจทางด้านการประยุกต์ใช้เว็บไซต์ Alibaba ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากประเทศจีน 2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนได้ด้วยต้นเองผ่านทางเว็บไซต์ Alibaba
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เหมืองข้อมูลธุรกิจ
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชาร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,240.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,040.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 23,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,200.00 บาท
=
3,600.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 9,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,400.00 บาท )
1) เช่าสถานที่
=
2,500.00 บาท
2) จ้างเหมาแรงงานทำความสะอาดสถานที่และห้องน้ำ
=
400.00 บาท
3) ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน
=
500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 7,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,500 แผ่น x 0.50 บาท
=
750.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
500.00 บาท
=
500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,500.00 บาท
=
1,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
30 คน x 25.00 บาท
=
750.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,700.00 บาท
=
3,700.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 46,240.00 บาท