แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ สู่การสอบ O-NET สำหรับนักเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ระยะที่ 5
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : คุณวุฒิ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ประสบการณ์ : กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของของพรรณไม้วงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) และสกุลลูกใต้ใบ (Phyllanthus) บางชนิดในประเทศไทย และความหลากหลายของพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : อนุกรมวิธานและกายวิภาคศาสตร์ของพืชวงศ์เอื้องเพ็ดม้า (Polygonaceae) และพืชสกุลทองพันชั่ง (Rhinacanthus) ในประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล การสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามลำดับ เป็นการสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละช่วงชั้นที่จัดโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. นักเรียนทั่วประเทศ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ต้องสอบประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา และการอาชีพเทคโนโลยี โดยมีการจัดสอบทุกปีและภายหลังการสอบ O-NET ทาง สทศ. จะส่งผลไปยังโรงเรียนเพื่อให้ผู้บริหารพิจารณาวางแผน ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาครูและนักเรียนต่อไป เนื่องจากสัมฤทธิ์ผลของนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยังค่อนข้างต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยเป็นส่วนใหญ่ ในนามของมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำโครงการย่อยนี้ขึ้น ภายใต้ “โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แผนงานเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ประจำปี 2555” เพื่อจะเริ่มพัฒนาครูและกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป โดยเน้นการเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นแบบ เรียนโดยการลงมือปฏิบัติ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ โดยมีโรงเรียนหลายแห่งเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาด โดยได้ดำเนินงานต่อเนื่องตั้งแต่ในปีการศึกษา 2554 ด้วยวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นต้นมา รูปแบบการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ให้แก่ครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเมนชายแดนให้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างเสริมเนื้อหาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาด
2. เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้นักเรียนที่จะเข้าสอบ O-NET

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูประจำชั้น ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 จัดประชุมคณะทำงานและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ 1.2 จัดประชุมนักศึกษาเพื่อแบ่งหน้าที่ในแต่ละปฏิบัติการ/กลุ่มกิจกรรมโดยให้นักศึกษาร่วม 1.3 ประสานงานกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรม 1.4 ดำเนินโครงการ 1.5 สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดประชุมคณะทำงาน/โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน - -- --- --- 20,000.00
2.จัดประชุมคณะทำงานและนักศึกษา -- - --- --- 0.00
3.ประสานงานกับโรงเรียนและในการจัดกิจกรรมโครง การ --- - --- 229,480.00
4.ติดตามผล รายงานและสรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ธันวาคม พ.ศ. 2558
08.30 - 16.30 เตรียมงานและประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน
9 มกราคม พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 ครู: สอนเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเน้นที่กิจกรรมภาคปฏิบัติและฝึกทำแนวข้อสอบเก่า นักเร ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติและคณะ
10 มกราคม พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 ครู: สอนเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเน้นที่กิจกรรมภาคปฏิบัติและฝึกทำแนวข้อสอบเก่า นักเรีย ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติและคณะ
16 มกราคม พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 นักเรียน: สอนเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งฝึกทำแนวข้อสอบเก่า ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติและคณะ
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
08.30 - 16.30 ติดตามและประเมินผล ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : มีนักเรียนเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาส่งผลให้คนในชุมชนมีงานทำมากยิ่งขึ้น
ด้านสังคม : ทำให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้มากยิ่งขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 42,160.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,960.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,360.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 15,600.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิทยากรจำนวน 4 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 900.00 บาท/ชม.
=
10,800.00 บาท
2) นักศึกษาช่วยงาน/สันทนาการจำนวน 6 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 400.00 บาท/ชม.
=
4,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 63,040.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 16,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,800.00 บาท
=
5,400.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 8 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
6,400.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 10 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 140 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 28,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 140 คน
=
28,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 1,640.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาพิมพ์เอกสารประกอบการสอนและข้อสอบ
=
1,640.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 28,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 28,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
12,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
6,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
12,000.00 บาท
=
12,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 133,200.00 บาท