แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การตรวจสอบย้อนกลับในผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตแบบอินทรีย์และการสร้างตราสินค้าสู่การพัฒนาตลาด
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สุมาลี เงยวิจิตร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : สอนสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ความเชี่ยวชาญ : Supply Chain & Logistics International Business Import/Export Management
หัวหน้าโครงการ
นายคมทัศน์ ทัศน์วา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : อาจารย์สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ความเชี่ยวชาญ : การตลาด/ธุรกิจระหว่างประเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การใช้งาน Google Apps for Education จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปี 2557 - การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP จัดโดย SIPA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556 -วิทยากรรับเชิญ “การเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ของภาคธุรกิจด้าน IT”
ความเชี่ยวชาญ : - Data Mining - Soft Computing - Information Retrieval - Network Systems - Parallel Programming - Database and Application Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education - Internet Marketing
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงจำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมให้แก่คน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งองค์กรรวมทั้งบุคลากรจึงเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง แต่การทำงานในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกองค์กร ทำให้หลาย ๆ องค์กรจำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้วิทยาการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีขบวนการผลิตแบบอินทรีย์ หากสามารถจัดการขบวนการตรวจสอบย้อนกลับได้จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจยิ่งขึ้นและเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์ได้สูงขึ้นทำให้หลาย ๆ องค์กรจำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงานให้องค์กร อย่างไรก็ตามหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทกับหลาย ๆ องค์กรก็คือเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรขององค์กรเกี่ยวกับการพัฒนาและประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่ต่างๆ จึงจำเป็นจะต้องมีการอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านความรู้และความสำคัญของขบวนการตรวจสอบย้อนกลับแก่เกษตรกร ผู้แปรรูปผลผลิต และ ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดขบวนการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์มือถือ จึงจำเป็นจะต้องมีการอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านการพัฒนาโปรแกรมแอนดรอยด์บนโทรศัพท์มือถือเพื่อการประยุกต์กับทางด้านธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนปี พ.ศ.2548 มีหลักการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมชุมชนให้มีการดำเนินกิจการด้วยตัวเองอย่างเข้มแข็ง โดยการจัดการพัฒนาและให้ความรู้ชุมชนนั้นๆในแบบของวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่การส่งออกและการค้าในประเทศและต่างประเทศต่อไป โดยในบางพื้นที่ภาครัฐได้เข้ามาร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนและให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการค้นหาศักยภาพและสร้างมูลค้าให้กับวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนนั้นๆ ในรูปแบบต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่ม รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดในสินค้าเกษตร เพื่อให้สินค้าในชุมชนนั้นๆเป็นที่รู้จักในวงกว้าง สร้างชื่อเสียงให้ เป็นการสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้กับชุมชนไปพร้อมกัน ให้คนในชุมชนสามารถพึงพาตัวเองเพื่อลดความเลื่อมล้ำทางสังคม ในปี พ.ศ.2534 ภาครัฐและภาคเอกชนในส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ โดยใช้รับการร่วมมือการกรมวิชาการเกษตรและบริษัทในเครือหลวงค้าข้าว ซึ่งให้คำแนะนำให้เกษตรกรเข้าใจหลักการและขั้นตอนในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ถูกต้องและทำการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป ชุมชนบ้านธาตุ ตำบลแสนสุข ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบทำนา ในผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการปลูกและผลิตข้าวโดยไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต รวมทั้งสารสังเคราะห์ต่างๆ เช่น สารเร่งการเติบโตของข้าว ปุ๋ยเคมี และสารกำจัดศัตรูพืช และวัชพืช ในขั้นตอนการผลิตนั้น จะไม่มีสารพิษตกค้างในดินและน้ำที่ใช้ในการปลูกข้าว ทำให้ได้ผลิตผลของข้าวอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารตกค้าง แต่ยังขาดการส่งเสริมทางด้านการตลาด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชนบ้านธาตุ ตำบลแสนสุข เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ในชุมชนและเพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชน

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับขบวนการตรวจสอบย้อนกลับของผลผลิตทางการเกษตรที่มีการผลิตแบบอินทรีย์ 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานทางด้านธุรกิจ 3. เพื่อให้ความรู้ชาวบ้าน และกลุ่มอาชีพในชุมบ้านธาตุ ตำบลแสนสุขและตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ ในเรื่องของการทำการตลาด การสร้างแบรนด์เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง 4. เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชุมชนในเข้าสู่ในการค้าระหว่างประเทศ สร้างความรู้และเข้าใจในการทำการค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อบ้าน และความรู้ในการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแต่ละประเทศ เพื่อตอบรับกับตลาดและสินค้าของไทย 5. เพื่อประเมินผลกระทบด้านบริการวิชาการแก่สังคมของคณะบริหารศาสตร์ 6. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมที่จำเป็นต่องานทางด้านธุรกิจ 7. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานทางด้านธุรกิจ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ 1.ขบวนการตรวจสอบย้อนกลับคืออะไร 2. ทำไมต้องมีขบวนการตรวจสอบย้อนกลับ 3.ออกแบบขบวนการตรวจสอบย้อนกลับ 4.ทดลองปฏิบัติการ 5.ทำไมต้องตลาดระหว่างประเทศ 6.ความสำคัญของการสร้างแบรนด์ 7.ออกแบบสร้างแบรนด์โลโก 8.ทดลองปฏิบัติการ 9.แนวคิดเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์กับงานทางด้านธุรกิจ 10.การพัฒนาโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อใช้งานทางด้านธุรกิจ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. --- -- 133,860.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 210 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -1. ผู้เข้าอบรมมีทักษะและความรู้ความเข้าใจขบวนการตรวจสอบย้อนกลับของผลผลิตทางการเกษตรที่มีการผลิตแบบอินทรีย์ 2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ทางด้านขบวนการตรวจสอบย้อนกลับของผลผลิตทางการเกษตรที่มีการผลิตแบบอินทรีย์ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีศักยภาพในการแข่งขัน 1. ผู้เข้าอบรมมีทักษะและความรู้ความเข้าใจขบวนการสร้างแบรนด์ของผลผลิตทางการเกษตรที่มีการผลิตแบบอินทรีย์ 2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ทางด้านขบวนการสร้างแบรนด์ของผลผลิตทางการเกษตรที่มีการผลิตแบบอินทรีย์ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีศักยภาพในการแข่งขัน 1. ผู้เข้าอบรมมีทักษะและความรู้ความเข้าใจทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ทางด้านการพัฒนาโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ ไปใช้กับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีศักยภาพในการแข่งขัน
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
4462 บาท/คน รวมการอบรมทั้งหมด 10 ครั้งคิดเฉลี่ย446.02 บาทต่อครต่อครั้ง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และ การเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจด้วยภาษาจาวา
หลักสูตร การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และ การจัดการสารสนเทศทางธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 2 - 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชาร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาออกหน่วยพื้นที่ อย่างต่ำ 5 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 48,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 36,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 58,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 200.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 17,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาประมวลผลและพิมพ์รายงาน รวมทั้งจัดทำรูปเล่ม
=
7,500.00 บาท
2) ค่าเช่าสถานที่
=
9,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 29,410,120.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 29,410,120.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
15,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
7,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,500.00 บาท
=
5,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
500.00 บาท
=
500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
1,040 คน x 28,260.00 บาท
=
29,390,400.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
6,220.00 บาท
=
6,220.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 500.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 500 บาท
=
500.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 29,517,220.00 บาท