แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ วิทยาศาสตร์เพื่อโรงเรียนในพระพุทธศาสนาสำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.พรพรรณ พึ่งโพธิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : 1. หัวหน้าโครงการวิทยาศาสตร์สัญจร 2. หัวหน้าโคงการสำรวจเเละจัดทำฐานข้อมูลการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน จ.อำนาจเจริญ จ. ศรีษะเกษ โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 3. หัวหน้าโคงการสำรวจเเละจัดทำฐานข้อมูลข้าวพันธ์พื้นเมือง โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ความเชี่ยวชาญ : งการสำรวจเเละจัดทำฐษนข้อมูลการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ข้าวพันธ์พื้นเมือง
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
งานบริการวิชาการและกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ทั้งบรรยายและการฝึกทำปฏิบัติการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและทางด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม โดยโครงการนี้กลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ที่ โรงเรียนในพระพุทธศาสนาในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา งานบริการวิชาการและกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ทั้งบรรยายและการฝึกทำปฏิบัติการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและทางด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม โดยโครงการนี้กลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ที่ โรงเรียนในพระพุทธศาสนาในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตจังหวัดอุบลราชธานี เป็นศาสนศึกษา แผนกสามัญศึกษา อยู่ในความผิดชอบของกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการจัดการศึกษาทางวิชาการในหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้แก่พระภิกษุสามเณร ดังนั้น เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม จึงเห็นควรจัดทำโครงการวิทยาศาสตร์เพื่อโรงเรียนในพระพุทธศาสนาขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการเปิดโอกาสให้ นักเรียนในกลุ่มพระภิกษุสามเณรในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ เพิ่มประสบการณ์การเรียน ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ จากการสอนบรรยายโดย คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และได้มีโอกาสฝึกปฎิบัติการด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และเข้าชมชมการจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ของคณะวิทยาศาสตร์ โดยโครงการนี้เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รู้จักทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในทางพระพุทธศาสนา ต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อให้นักเรียนพระภิกษุสามเณรในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นในด้านทักษะความรู้ทางทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและทางด้านคณิตศาสตร์ และจากการได้เห็น ได้สัมผัส ฝึกปฏิบัติจริง 2.นักเรียนพระภิกษุสามเณรในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ที่เข้าร่วมโครงมีความเข้าใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้นและเพื่อฝึกฝนทักษะนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการให้รู้จักนำความรู้ที่เรียนมาไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นและมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- ครู นักเรียนพระภิกษุสามเณรในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) โรงเรียนในเขต จ.อุบลราชธานี - คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 จัดประชุมคณะทำงาน/โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน 1.2 จัดประชุมคณาจารย์ บุคลากร และ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อแบ่งหน้าที่ในแต่ละ การบรรยาย การทำปฏิบัติการ/กลุ่มกิจกรรม นิทรรศการ 1.3 ประสานงานกับโรงเรียนในการจัดเตรียมสถานที่และประสานงานกับกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 1.4 ดำเนินโครงการ 1.5 สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.จัดประชุมคณะทำงาน/โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน - --- --- --- 10,000.00
2..จัดประชุมคณะทำงาน คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาเพื่อแบ่งหน้าที่ในแต่ละปฏิบัติการ/กลุ่มกิจกรรมโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาในแ -- --- --- 10,000.00
3.ประสานงานกับโรงเรียนในการจัดเตรียมสถานที่และประสานงานกับกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม - -- --- --- 10,000.00
4.ดำเนินโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน - 127,160.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
10.30 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
9 ธันวาคม พ.ศ. 2558
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
13 มกราคม พ.ศ. 2559
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
16 มีนาคม พ.ศ. 2559
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
7 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
8 มิถุนายน พ.ศ. 2559
13.00 บรรยาย ทำการทดลอง/จัดแสดงนิทรรศการ/พื้นฐานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณิตศาสตร์ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา สาขาฟิสิกส์เคมี ชีวิทยา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. นักเรียนพระภิกษุสามเณรในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความเข้าใจและสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐาน และคณิตศาสตร์ มากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2. นักเรียนพระภิกษุสามเณรในกลุ่มของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี มีแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น 3. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการรู้จักนำความรู้ที่เรียนมาไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นและมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม 4. เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในพระพุทธศาสนาในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในชุมชนและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5. เป็นเผยแพร่กิจกรรมกิจกรรมบริการวิชาการ และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้แก่โรงเรียนในพระพุทธศาสนาในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
500
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในพระพุทธศาสนาในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในชุมชนและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สารนิพนธ์
หลักสูตร เคมี
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชาสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 90 มีการนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 96,660.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
12,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 500 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 20,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 8 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 32,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถบัส 1 คัน * 8 วัน * 4,000 บาท (วันละ 4,000 บาท/คัน/1วัน)
=
32,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 55,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 25,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) 1) ค่าวัสดุ สารเคมี ตัวอย่างสด = 10,000.00 บาท 2) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ = 20,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 152,160.00 บาท