แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการพึ่งตัวเองด้านสุขภาพ ครั้งที่ 3
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.อนุวัตร ภิญญะชาติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : ประธานรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 1 และ 2
ความเชี่ยวชาญ : Biochemistry ภาษาถิ่นอีสานทางการแพทย์
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
นิยามของคำว่าสุขภาพ ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO)กำหนด หรือตามที่กำหนดใน พรบ. สุขภาพแห่งชาตินั้น กินความของคำว่าสุขภาพในมิติของ สุขภาพกาย (Physical Health) สุขภาพจิต (Mental Health) สุขภาพทางสังคม (Social Health) และสุขภาพทางปัญญา (จิตวิสัญญาณหรือ Spiritual Health) สุขภาพดีนั้นไม่ได้มองในความหมายในแง่ลบ คือ ไม่ป่วย ไม่พิการ เท่านั้น แต่มองในความหมายในแง่บวก (Positive Health) คือ มิติทางจิตใจ สังคม และปัญญาด้วย เมื่อนิยามของสุขภาพนั้นกินความกว้างกว่าคำว่า ไม่ป่วย ไม่พิการ หรือไม่ตาย ภาระหน้าที่ทางด้านสุขภาพ จึงไม่จำกัดเป็นของกระทรวงสาธารณสุข หรือเป็นเรื่องของแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น แต่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีสุขภาวะ ทั้งภาคราชการ ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ในการทำงานด้านสุขภาพนั้นหากจำกัดมุมมองที่ระบบสาธารณสุขหรือบริการทางการแพทย์ จึงเป็นการดำเนินการที่อาจจะขาดมุมมองด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนั้นการส่งเสริมชุมชน ซึ่งเป็นผู้รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของชุมชนเอง ให้มีส่วนร่วมหรือเป็นกำลังหลักในการดูแลสุขภาพ จะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตด้านสุขภาพเพื่อรับใช้ชุมชน ในสาขาสาธารณสุขศาสตร์และแพทยศาสตร์ ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีศักยภาพและทักษะ ในการทำงานด้านสุขภาพร่วมกับบุคลากรสหวิชาชีพ รวมถึงองค์กรในชุมชน เพื่อผลในการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการดูแลสุขภาพ กระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติ รวมทั้งการมีประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ดีในการทำงานเป็นทีมร่วมกับชุมชน อันจะส่งผลต่อการทำงานในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการดูแลตนเองด้านสุขภาพ
2.เพื่อบริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการของวิทยาลัยในการแก้ไขปัญหาของชุมชนเชื่อมโยงไปสู่การวิจัย
3.เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีศักยภาพสูงในการทำงานด้านสุขภาพร่วมกับชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. นักศึกษาแพทย์ดำเนินการวินิจฉัยชุมชนโดยใช้ความรู้เรื่องเครื่องมือ 7 ชิ้น ร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชน 2. นักศึกษาแพทย์ทำประชาคมร่วมกับผู้นำและสมาชิกในชุมชนเพื่อคัดเลือกปัญหาสุขภาพที่สำคัญร่วมกัน 3. ดำเนินการระดมสมองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่พบโดยเน้นการดำเนินการโดยสมาชิกในชุมชนเป็นหลัก โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ 4. นักศึกษาแพทย์นำปัญหาด้านสุขภาพจากการทำประชาคมและจากการระดมสมองมาดำเนินโครงการบริการวิชาการ/โครงการวิจัยพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการพึ่งตัวเองด้านสุขภาพ 5. กิจกรรมต่างๆของนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคสนามรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 1 และ 2 ซึ่งอาจารย์แพทย์/อาจารย์สาธารณสุขเป็นผู้ให้คำปรึกษา ดูแลและประเมินให้คะแนน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประสานงานกับ รพสต ผู้นำชุมชน อสม จัดทำกำหนดการ เตรียมคู่มือฝึกอบรมภาคสนาม ดำเนินฝึกอบรมการวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้ --- --- --- 50,000.00
2.ทำประชาคมในหมู่บ้าน แล้ว นศพ นำปัญหาที่ได้มาทำวิจัยในชุมชนพร้อมกับ อสม. โดยใช้ความรู้จากรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 1, 2 --- --- --- 100,000.00
3.คืนข้อมูลแก่ชุมชน โดยจัดทำโปสเตอร์เพื่อบรรยายให้ความรู้จากผลการวินิจฉัยชุมชน และจากการทำวิจัยในชุมชน --- --- --- 40,000.00
4.สรุปผลการทำโครงการบริการวิชาการและส่งรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 ธันวาคม พ.ศ. 2558
กลางวันและกลางคืน อบรมเรื่องวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น และ นศพ. เยี่ยมบ้านโดยหลัก INHOMESS, IFFE คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน
15 ธันวาคม พ.ศ. 2558
กลางวันและกลางคืน อบรมเรื่องวินิจฉัยชุมชนด้วยเครื่องมือ 7 ชิ้น และ นศพ. เยี่ยมบ้านโดยหลัก INHOMESS, IFFE คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน
16 ธันวาคม พ.ศ. 2558
06.00 - 17.00 นำเสนอผลการดำเนินงานพร้อมคืนข้อมูลแก่ชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป, เดินทางกลับ นักศึกษาแพทย์ และคณาจารย์
23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
08.00 - 16.00 ทำประชาคมในชุมชน คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน
4 มกราคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน อบรมการทำวิจัยในชุมชนจากโดยใช้ปัญหาจากการทำประชาคม, เรียนรู้วิถีชมชนกับพ่อแม่อุปภัมภ์ คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน
5 มกราคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน อบรมการทำวิจัยในชุมชนจากโดยใช้ปัญหาจากการทำประชาคม, เรียนรู้วิถีชมชนกับพ่อแม่อุปภัมภ์ คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน
6 มกราคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน อบรมการทำวิจัยในชุมชนจากโดยใช้ปัญหาจากการทำประชาคม, เรียนรู้วิถีชมชนกับพ่อแม่อุปภัมภ์ คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน
7 มกราคม พ.ศ. 2559
กลางวันและกลางคืน นศพ. เรียนรู้วิถึชุมชนกับพ่อแม่อุปถัมภ์ (survival day) คณาจารย์วิทยาลัยฯ, ผอ. รพสต., ผู้นำชุมชน, พ่อแม่อุปถัมภ์
8 มกราคม พ.ศ. 2559
06.00 - 17.00 นำเสนอผลการดำเนินงานพร้อมคืนข้อมูลแก่ชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป, เดินทางกลับ -

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : การให้ความรู้เรื่องระบบการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคในชุมชน จะช่วยลดลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ด้านสังคม : เกิดสัมพันธภาพอันดีในการสร้างเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพตลอดจนเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนในชุมชน ระหว่างชุมชน ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการดูแลสภาพแวดล้อมในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดี
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาและคณาจารย์ที่ร่วมโครงการได้รับประสบการณ์ตรงในการดำเนินการด้านสุขภาพเชิงรุก

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีการบริหารงบประมาณอย่างประหยัดและจัดสรรค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น โดยไม่ได้จัดสรรค่าตอบแทนในส่วนของผู้เข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ชุมชน 1 และ 2
หลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน จำนวนรายวิชาที่บูรณาการเนื้อหาของการบริการวิชาการสอดแทรกในสาระวิชา เป้าหมาย 2 รายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ เป้าหมาย 100%
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการบริการวิชาการ/โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนให้พึ่งพาตนเองด้านสุขภาพที่ดำเนินการโดยนักศึกษาเป็นหลัก เป้าหมาย 4 โครงการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 2,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 195,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 10 คน x ครั้งละ 100.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 42,500.00 บาท )
1) จำนวน 17 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
42,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 105,000.00 บาท )
1) จำนวน 14 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
105,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 16,200.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 9 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
16,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 9,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้
=
8,000.00 บาท
2) ค่าใช้สถานที่ในการฝึกอบรม
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 2,300.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,800.00 บาท
=
1,800.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท