แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ คุณค่าของชีวิตหมอพื้นบ้านและวัฒนธรรมการเยียวยาพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2559
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายอนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
ประสบการณ์ : ทำงานวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการแพทย์แผนไทย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงคุณภาพ การประเมินโครงการ การวิจัยด้านการแพทยื์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย
หัวหน้าโครงการ
นายปรีชา บุญจูง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในท่ามกลางภูมินิเวศที่แตกต่างและหลากหลาย ผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ ได้เรียนรู้ ปรับตัวในการดำรงชีวิต รวมทั้งการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ชุมชนท้องถิ่นอีสานก็เช่นกัน ได้รังสรรค์ภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพและรักษาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละท้องถิ่นไว้มากมาย โดยอาศัยระบบนิเวศทางธรรมชาติที่เป็นทั้งแหล่งอาหาร ยา และเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น คุณค่าของความรู้ทางการรักษาเยียวยาแบบพื้นบ้านเหล่านี้ผ่านกระบวนการสั่งสม สังเคราะห์ ปฏิสังสรรค์ และสืบทอดต่อกันมา จนเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน และเป็นเครื่องหล่อหลอมให้เกิดความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน ยังคุณค่าแห่งการเกื้อกูลและพึ่งพาอาศัยกันมาของชุมชน ในปัจจุบันคุณค่าเหล่านี้ จะยังดำรงอยู่สืบต่อไปยังชนรุ่นหลังหรือไม่ อย่างไร และคนในเมืองจะได้รับประโยชน์จากคุณค่าเหล่านี้ ได้หรือไม่ อย่างไร การพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในด้านต่างๆทั้งในเมืองและชนบท วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมบริโภคจากตะวันตก ระบบโครงสร้างทางสังคมสมัยใหม่ทางอุตสาหกรรม พาณิชกรรมและการบริการที่เติบโตจากในเมืองเริ่มส่งอิทธิพลเข้ามาแทนที่ระบบโครงสร้างทางสังคมเกษตรกรรมในอดีต ระบบบริการสาธารณสุขที่ได้ขยายตัวออกไป ด้านหนึ่งก็เป็นการรัฐสวัสดิการเพื่อดูแลแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเข้าไปแทนที่การเยียวยาแบบพื้นบ้านของชุมชนที่เคยพึ่งตนเองได้ ทั้งมาตรการทางกฏหมาย ทางสังคมของรัฐได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างการรักษาพยาบาล และค่านิยมระดับบุคลล คนรุ่นใหม่เริ่มรู้สึกแปลกแยกและไม่เห็นความสำคัญกับการดูแลสุขภาพด้วยวิถีพื้นบ้าน คุณค่าแบบดั้งเดิมทางการแพทย์พื้นบ้านกลายเป็นสิ่งล้าสมัย ไม่มีความหมายและไม่น่าเชื่อถือ ระบบบริการสาธารณสุขแผนปัจจุบันที่ขาดรากฐานทางวัฒนธรรม แม้จะก้าวหน้าเพียงใดก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพต่างๆได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สถานะทางสุขภาพของคนไทยในปัจจุบันมิได้ดีขึ้น แบบแผนของโรคเปลี่ยนจากโรคระบาดไปเป็นโรคเรื้องรังแต่สังคมไทยก็ยังก้าวไม่พ้นกับภาวะวิกฤติทางสุขภาพ คนไทยยังป่วยด้วยโรคเรื้องรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน โรคปอด โรคหลอดเลือดและหัวใจในอันดับต้นๆ นอกเหนือจากโรคติดเชื้อใหม่ๆและอุบัติเหตุ ผู้คนเริ่มไม่พอใจกับแนวทางในการรักษากับระบบบริการสาธารณสุขแผนปัจจุบันมากทุกที จนเกิดการปรับตัวให้มีการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานพยาบาลมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเพียงการสร้างภาพมากกว่าจะมุ่งพัฒนาให้เห็นผลจริงๆจังๆ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยจึงเริ่มแสวงหาทางเลือกใหม่ในการรักษานอกสถานพยาบาลแผนปัจจุบันของรัฐ บางส่วนถูกหลอกลวงจากหมอเทียมด้วยกลไกการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคไม่เข้มแข็ง การออกข่าวอันตรายของยาแผนโบราณหรือหมอหลอกลวงยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความไม่น่าเชื่อถือของการแพทย์แผนโบราณ ทำให้ประชาชนสบสนมากขึ้น การรักษาแบบพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทย เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้งในระยะนี้ คำถามที่คนสนใจกันมากคือ หมอคนใดที่มีความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ ยาสมุนไพรใดที่มีสรรพคุณน่าสนใจและรักษาได้ผล สะท้อนให้เห็นถึงการขาดองค์ความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ทั้งด้วยกฏหมายการประกอบโรคศิลปะ ได้ห้ามมิให้หมอโฆษณาตนเองหรือให้คนอื่นทำการโฆษณาตน แต่ข้อเสนอหนึ่งจากการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 1 ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของหมอโกมาตร จึงเสถียรทรีพย์ ในการฟื้นฟูการแพทย์พื้นบ้านการแพทย์แผนไทยให้ดำรงไว้ซึ่งระบบการแพทย์พหุลักษณ์ที่หลากหลายสอดคล้องไปกับสังคมวัฒนธรรมและระบบนิเวศน์ของชุมชน โดยมีข้อเสนอที่สำคัญคือ การทำฐานข้อมูลและแผนที่การแพทย์ดั่งเดิมไทยที่โดดเด่น เก่งๆ ตามท้องถิ่นวัฒนธรรมชุมชนต่างๆ เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์ ซึ่งในจังหวัดอุบลราชธานียังไม่มีการจัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ คณะเภสัชศาสตร์ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี 2544 ได้ทำการสำรวจหมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี และตำรับยาสมุนไพร โดยทำการจัดประชุมชี้แจงและสัมภาษณ์หมอ ในแต่ละอำเภอ โดยการนัดหมายกับผ่านโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขและสถานีอนามัยต่างๆ ได้หมอจำนวน 255 คน จาก 25 อำเภอ/กิ่งอำเภอ และได้ตำรับยาสมุนไพรทั้งสิ้น ๗๖๑ ตำรับ แบ่งเป็นกลุ่มตามประโยชน์ในการรักษาโรคได้ 87 โรค การศึกษาครั้งนั้นได้เปิดโลกของคณะเภสัชศาสตร์กับหมอพื้นบ้าน ในปี พ.ศ. 2557 คณะเภสัชศาสตร์ได้ดำเนินงานวิจัยเรื่อง คุณค่าของชีวิตหมอพื้นบ้านและผลกระทบจากสังคมสมัยใหม่ต่อวัฒนธรรมการแพทย์พื้นบ้าน โดย ดร.อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล จากงบประมาณของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เล็งเห็นว่าหมอพื้นบ้านที่มีความสามารถและการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้ดีมีจำนวนมากที่สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานกลับมาใช้ประโยชน์ต่อประชาชนได้ ทางโครงการจึงใคร่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อนำภูมิปัญญานี้กลับมาประยุกต์ใช้ในชุมชนในรูปแบบตามวัฒนธรรมการเยียวยาดั้งเดิม ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานสาธารณุสขโรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล วัด เพื่อจัดกิจกรรมเผยแพร่สู่ประชาชนร่วมกับงานเทศกาลต่างๆ ของชุมชน เช่น งานบุญประจำปีตามวัดต่างๆ เช่น วัดหนองป่าพง

วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์พื้นบ้านของอุบลราชธานีแก่ประชาชนทั่วไป
2.2. เพื่อจัดกิจกรรมประชุม เสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างหมอพื้นบ้าน นักศึกษาเภสัชศาสตร์และผู้สนใจทั่วไป
3.3. เพื่อดำเนินการคัดเลือกหมอพื้นบ้านที่มีผลงานโดดเด่นและมอบรางวัลเชิดชูเกียรติหมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1 หมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีตามรายชื่อที่สำรวจไว้ เช่น นายบิน เหล่าโก๊ก นายเต็ม ทนยิ่ง นายปี วงศ์สุนา นายประสิทธิ สายตรง นายทองพูล อารมณ์ นายแก่น ทองศรี นายพันธ์ หอมหวน ร.ต.ต.คำมี ดอกไม้แก้ว นายบุญเฮง ราชรักษา นายคำภู คูหา นายตา เกษาพันธ์ นายนา สุทนัง นายสอน โภคชาติ นายมา ถมนาม นางบุญศรี แถลงจิตต์ นายกิตติ นาคูณ นายชา ศรีจันดี นายจันทอน ขันทอง 2 ประชาชนผู้สนใจการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน ผู้ป่วย จากชุมชนต่างๆ 3 นักศึกษาเภสัชศาสตร์ บุคลากรสาธารณสุขจากสำนักงานสาธารสุขจังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
170 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การประชุมคณะทำงาน 2. ดำเนินการประสาน ทาบทามหมอพื้นบ้าน 3. การประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุข และ โรงพยาบาลชุมชนต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการประชุม เพื่อเตรียมการด้านต่างๆ ในการประชุม แต่ละพื้นที่ 4. ติดต่อ ประสานงาน วิทยากร 5. เตรียมแผ่นพับประชาสัมพันธ์และไวนิลประชาสัมพันธ์ชาวบ้านในชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี 6. เตรียมสถานที่ ที่พัก ยาสมุนไพร และ เอกสารประกอบการอบรม 7. ดำเนินการอบรมและจัดกิจกรรมตามกำหนดการมีการอบรม รวม 3 ครั้ง 8. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. การประชุมคณะทำงาน และดำเนินการประสานทาบทามหมอพื้นบ้าน - --- --- --- 5,000.00
2.2. การประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมการจัดการประชุมแต่ละพื้นที่ -- -- -- --- 10,500.00
3.3.ติดต่อ ประสานงาน วิทยากร เตรียมแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และออกไวนิล ประชาสัมพันธ์ ชาวบ้านในชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี -- -- -- --- 12,000.00
4.4 เตรียมสถานที่จัดงานประชุม เสวนา ที่พัก ยาสมุนไพร อาหารและเครื่องดื่ม และเอกสารประกอบการอบรม -- -- -- --- 10,500.00
5.5.ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และควมร่วมมือ รวม 3 ครั้ง --- -- -- -- 105,000.00
6.6.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน --- -- -- - 12,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 มกราคม พ.ศ. 2559
09.00 - 12.00 น. อภิปรายหัวข้อ คุณค่าของหมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี นางภัลลภา โสตถิสวัสดิ์ สสจ.อุบลราชธานี หมอเฮง ราชรักษา และ ดร. อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล
15 มกราคม พ.ศ. 2559
13.00 -15.00 น. การบรรยายเชิงปฏิบัติการ การนวดไทย และนวดพื้นบ้านของอุบลราชธานี เพื่อลดการใช้ยาแก้ปวด นางภัลลภา โสตถิสวัสดิ์ สสจ.อุบลราชธานี หมอนวด จ.อุบลราชธานี และดร. อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล
15 มกราคม พ.ศ. 2559
15.00- 16.00 น. การบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่องยาต้มตำรับขนานเอกของหมอพื้นบ้านแต่ละคน ผศ.ดร.ปรีชา บุญจูง, นายกิตติภพ ต้นจิกเจริญ สนง.สร้างสรรค์สังคมจ.อุบลราชธานี และหมอเต็ม ทนยิ่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2559
09.00 - 12.00 น. การอภิปรายหัวข้อ คุณค่าของหมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี นางภัลลภา โสตถิสวัสดิ์ สสจ.อุบลราชธานี หมอบุญเฮง ราชรักษา และดร. อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล
8 เมษายน พ.ศ. 2559
13.00 -15.00 น. การบรรยายเชิงปฏิบัติการ การนวดไทย และนวดพื้นบ้านของอุบลราชธานี เพื่อลดการใช้ยาแก้ปวด นางภัลลภา โสตถิสวัสดิ์ สสจ.อุบลราชธานี หมอนวด จ.อุบลราชธานี และดร. อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล
8 เมษายน พ.ศ. 2559
15.00- 16.00 น. การบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่องยาต้มตำรับขนานเอกของหมอพื้นบ้านแต่ละคน ผศ.ดร.ปรีชา บุญจูง, นายกิตติภพ ต้นจิกเจริญ สนง.สร้างสรรค์สังคมจ.อุบลราชธานี และหมอเต็ม ทนยิ่ง
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00 - 12.00 น. การอภิปรายหัวข้อ คุณค่าของหมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี นางภัลลภา โสตถิสวัสดิ์ สสจ.อุบลราชธานี หมอเฮง ราชรักษา และ ดร. อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00 -15.00 น. การบรรยายเชิงปฏิบัติการ การนวดไทย และนวดพื้นบ้านของอุบลราชธานี เพื่อลดการใช้ยาแก้ปวด นางภัลลภา โสตถิสวัสดิ์ สสจ.อุบลราชธานี หมอนวด จ.อุบลราชธานี และดร. อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
15.00- 16.00 น. การบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่องยาต้มตำรับขนานเอกของหมอพื้นบ้านแต่ละคน ผศ.ดร.ปรีชา บุญจูง, นายกิตติภพ ต้นจิกเจริญ สนง.สร้างสรรค์สังคมจ.อุบลราชธานี และหมอเต็ม ทนยิ่ง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ประชาชนสามารถลดรายจ่ายด้านสุขภาพ กรณีโรคเรื้องรังที่รักษายาก และลดรายจ่ายจากการใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น
ด้านสังคม : -เกิดเครื่อข่ายความร่วมมือระหว่าง หมอพื้นบ้าน บุคลากรสาธาณณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
170
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
75
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ชุมชน
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 5
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาประเมินความพอใจในเนื้อหา และการนำเสนอ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด มีนักศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษามีส่วนร่วมทำกิจกรรม เผยแพร่ความรู้ด้านสมุนไพรสู่ประชาชน
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 45,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 37,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
10,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 85,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 36,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 15,680.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 1,960.00 บาท
=
15,680.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 คืน x จำนวน 4 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
16,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,320.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,320.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 4,800.00 บาท )
1) ค่ายาสมุนไพรสำหรับจัดกิจกรรม
=
4,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท