แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ นักข่าวเยาวชนอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายธีระพล อันมัย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : 1993 - 1996 ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 1997 - 1998 ทีมผลิตรายการกรองสถานการณ์ช่อง 11 2002 - 2004 อาจารย์สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการจัดาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2005 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การเขียนข่าว เรื่องเล่า และการเขียนสารคดี
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากประสบการณ์การสัมภาษณ์นักเรียนที่สอบโควต้าเข้าเรียนหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ใฝ่ฝันที่จะเป็นดารา นักแสดง และเป็นส่วนหนึ่งของวงการบันเทิงมากกว่าจะเป็นนักข่าว นักเขียน คอลัมนิสต์ นักวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่มุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนสังคม ขณะที่สังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนืออันเป็นภูมิลำเนาของพวกเขาเองเต็มไปด้วยประเด็นความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ ความอยุติธรรมและการเอารัดเอาเปรียบ ครั้นเมื่อถามถึงพฤติกรรมการอ่าน การเสพสื่อของพวกเขาเหล่านั้นก็พบว่า อ่านหนังสือน้อย ไม่ค่อยติดตามข่าวสารบ้านเมือง ครั้นเมื่อถามกว้างๆเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของสถานการณ์บ้านเมือง ความเป็นไปในอาเซียน ความเป็นไปในโลกก็ยิ่งพบความว่างเปล่าในแววตาและคำตอบของพวกเธอและเขาส่วนใหญ่ ในความเบาหวิวของคำตอบนั้นมีคำถามในใจว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับคนผู้ที่จะเป็นอนาคตและกำหนดชะตากรรมของสังคมประเทศนี้ ? การจัดทำโครงการอบรมนักข่าวเยาวชนอุบลราชธานี เป็นความต้องการย้อนทวนกลับไปยังแหล่งบ่มเพาะนักเรียนที่มีความฝันว่า นอกจากดารา นักแสดง และเป็นส่วนหนึ่งของวงการบันเทิงแล้ว จริงแท้ หลักวิชานิเทศศาสตร์หรือสื่อสารมวลชนนั้นมีแก่นแกนสำคัญคือการให้ข้อมูลข่าวสารกับสังคม การเป็นนักสื่อสารที่สะท้อนคุณภาพของสังคมมากกว่ามุ่งสร้างความเริงรมย์จนลืมความจริงที่ประเทศนี้สังคมนี้กำลังผจญอยู่ การอบรมนักข่าวเยาวชนอุบลราชธานี เป็นโครงการที่ต้องการเปิดพื้นที่ให้กับนักเรียนผู้ฝันใฝ่อยากเป็นนักวิชาชีพด้านการสื่อข่าว เพื่อให้พวกเขาและเธอได้มีพื้นที่ติดปิกความคิดฝันและบ่มเพาะความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถเป็นต้นทุนสำคัญอันแข็งแรงก่อนจะก้าวไปสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาในอนาคต แม้ว่าในที่สุดสถาบันการศึกษาปลายทางของพวกเขาจะไม่ใช่หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ตามที

วัตถุประสงค์
1.เสรีมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการเขียนข่าว การรายงานข่าว
2.พัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูล การสัมภาษณ์ การจับประเด็น การเขียนข่าว และการรายงานข่าว รวมทั้งการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับมัธยมปลายโรงเรียนละ 4 คนพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) เตรียมงาน วางแผน เลือกกลุ่มเป้าหมาย เชิญกลุ่มเป้าหมาย 2) ฝึกอบรมการรายงานข่าว 3) ประเมินผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมงาน วางแผน เลือกกลุ่มเป้าหมาย เชิญกลุ่มเป้าหมาย --- --- --- 0.00
2.ฝึกอบรม --- - --- --- 92,860.00
3.ประเมินผล --- -- -- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 1 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 337 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
09.00 - 16.00 วางแผน เตรียมการ เลือกกลุ่มเป้าหมาย เชิญกลุ่มเป้าหมาย นายธีระพล อันมัย
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00 - 16.00 อบรมการเขียนข่าว หลักการสื่อข่าว คุณสมบัติของข่าว คุณค่าของข่าว ประเด็นข่าว ธีระพล อันมัย นริศรา แสงเทียน
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00 - 16.00 แหล่งข้อมูล แหล่งข่าว การสัมภาษณ์ข่าว ภาพข่าว นริศรา แสงเทียน กฤษกร ไสยกิจ ธีระพล อันมัย
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00 - 16.00 การเขียนข่าว พาดหัว ความนำ ส่วนเชื่อม เนื้อข่าว ธีระพล อันมัย นริศรา แสงเทียน สุรศักดิ์ บุญอาจ กฤษกร ไสยกิจ
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00 - 16.00 การเขียนข่าว จริยธรรมของการรายงานข่าว ธีระพล อันมัย นริศรา แสงเทียน แพรวพรรณ อัคคะประสา จีณัฐชะญา จีปะณัฐกาญจน์
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00 - 16.00 การจัดลำดับความสำคัญของข่าว การออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ ธีระพล อันมัย นริศรา แสงเทียน กฤษกร ไสยกิจ
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00 - 16.00 กระบวนการจัดทำหนังสือพิมพ์ การบรรณาธิกรต้นฉบับ การจัดหน้า การพิมพ์ ธีระพล อันมัย นริศรา แสงเทียน กฤษกร ไสยกิจ
2 มีนาคม พ.ศ. 2559
13.00 - 15.00 ประเมินผลโครงการ ธีระพล อันมัย นริศรา แสงเทียน สุรศักดิ์ บุญอาจ แพรวพรรณ อัคคะ ประสา จีณัฐชะญา จีปะณัฐกาญจน์ กฤษกร ไส

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : กระตุ้นเยาวชนให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพสื่อมวลชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการรายงานข่าวให้กับเยาวชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวิจัยทางนิเทศศาสตร์
หลักสูตร นิเทศศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเสนอผลการประเมินโครงการในชั่วโมงเรียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ให้นักศึกษาในรายวิชาร่วมกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ พัฒนาเป็นหัวข้อวิจัยในรายวิชาดังกล่าว

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,120.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 8,640.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 8,640.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 120.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
8,640.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 6,480.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,480.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
6,480.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 74,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 45,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 คืน x จำนวน 15 ห้อง x ห้องละ 400.00 บาท
=
30,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
=
200.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 880.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 880.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
600 แผ่น x 0.50 บาท
=
300.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
580.00 บาท
=
580.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
30 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 90,000.00 บาท