แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ออกแบบลายผ้ามัดหมี่ด้วยกราฟ เพิ่มทักษะสำหรับกลุ่มผ้าทอจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Design
ประสบการณ์ : 1. โครงการ สำรวจหลักฐานผ้าและเครื่องแต่งกายโบราณของชาวอีสานจากฮูปแต้มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อเป็นฐานข้อมูลการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (ทำนุ ปี 2552) 2. โครงการสำรวจผ้าซิ่นหมี่หัวจกดาว เอกลักษณ์เมืองอุบล เพื่อสืบสานและเป็นฐานข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนฯ (ทำนุ ปี 2552) 3. โครงการสำรวจและศึกษาภูมิปัญญาด้านสิ่งทอในเขตลุ่มน้ำโขง ของชาวภูไท จังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย และชาวภูไท-มะกอง แขวงสะหวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ทำนุ ปี 2553) 4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ออกแบบลายผ้ามัดหมี่ด้วยกราฟ เพิ่มทักษะสำหรับกลุ่มผ้าทอจังหวัดอุบลราชธานี (บริการวิชาการ 2559) 5. โครงการสำรวจและจัดทำเวปไซต์ ข้อมูลหลักฐานลวดลายผ้าโบราณเมืองอุบลฯ จากผู้ถือครองมรดกคลังสะสมผ้าของ หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช เพื่อบูรณาการกับการเรียนการสอน (ทำนุฯ 2559)
ความเชี่ยวชาญ : ประวัติศาสตร์สิ่งทออีสาน ออกแบบสิ่งทอร่วมสมัย การย้อมสีธรรมชาติ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ผ้าทอพื้นบ้านถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ด้านปัจจัยเครื่องนุ่มห่มเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความหมายต่อชาติพันธุ์และมีคุณค่าความงาม ที่ได้รับการสืบทอด จากบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน และ พัฒนา กิติอาษา (2532 : 17) กล่าวว่า ผ้าชนิดต่างๆ นั้น มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจและทางวัฒนธรรมในตัวเอง ดังนั้นในปัจจุบันจึงกลายมาเป็นสินค้าทำรายได้ ประกอบกับ รัฐบาลมีโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP Product Champion (OPC) ในปี 2547 ส่งเสริม ให้มีการรวมกลุ่มสตรีทอผ้า เพื่อเป็นอาชีพเสริม ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้านอีสานของจังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มทอผ้า ที่สืบทอดผ้าทอเมืองอุบลฯ ที่สำคัญ ๒แห่งคือ บ้านหนองบ่อ อำเภอเมือง และ บ้านบอน อำเภอสำโรง ที่ต้องการพัฒนาทักษะการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ด้วยกราฟ เนื่องจากมีปัญหาความผิดพลาดในการผลิตผ้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และขาดสื่อ/วิธีการสื่อสารทางการตลาดว่าลวดลายผ้ามัดหมี่ที่จะออกแบบนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรก่อนการทอจริง จากปัญหาดังกล่าวมาข้างต้นนั้น จึงจำเป็นต้องมีฝึกอบรมการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ด้วยกราฟ เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารทางการตลาดด้วยการใช้กราฟลวดลายผ้ามัดหมี่ที่ออกแบบไว้ นำเสนอและจำหน่ายแก่ลูกค้าได้ ก่อนการทอจริง โดยให้ทายาทลูกหลานช่างทอผ้ามาร่วมโครงการเพื่อช่วยกันสืบทอดงานผ้าทอพื้นเมืองอีสาน

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อเพิ่มทักษะการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่อีสานด้วยกราฟ ช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถเห็นภาพรวมลวดลายผ้าได้ก่อนการทอผ้าจริง แก่กลุ่มทอผ้าของจังหวัดอุบลราชธานี
2. 2. เพื่อพัฒนาการออกแบบประยุกต์ลวดลายผ้า จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการทางการตลาด โดยช่างทอผ้าสามารถนำเสนอลวดลายผ้าด้วยกราฟให้แก่ลูกค้า

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มช่างทอผ้า บ้านหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มช่างทอผ้า บ้านบอน อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
65 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
อบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบลาผ้ามัดหมี่ด้วยกราฟ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ลงพื้นที่ ประสานงานเตรียมความพร้อมชุมชน - --- --- --- 5,000.00
2.ประสานงานวิทยากร และศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้อง - -- --- --- 20,000.00
3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่ชุมชน --- - --- --- 60,000.00
4.ลงพื้นที่ประเมินความพึ่งพอใจ และรับข้อคิดเห็นที่ชุมชนต้องการในอนาคต --- --- --- 5,000.00
5.จัดทำรายงาน และส่งผลดำเนินการโครงการ --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
08.00-17.00 อบรมการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ด้วยระบบกราฟ (คัดลอกการออกแบบ จากผ้าโบราณ) ณ บ้านหนองบ่อ ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ วิทยากรภายใน และ วิทยากรภายนอก
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
08.00-17.00 อบรมการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ด้วยระบบกราฟ (ประยุกต์การออกแบบลายผ้ามัดหมี่ร่วมสมัย) ณ บ้านหนองบ่อ ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ วิทยากรภายใน และ วิทยากรภายนอก
5 มีนาคม พ.ศ. 2559
08.00-17.00 อบรมการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ด้วยระบบกราฟ (คัดลอกการออกแบบ จากผ้าโบราณ) ณ บ้านบอน ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ วิทยากรภายใน และ วิทยากรภายนอก
6 มีนาคม พ.ศ. 2559
08.00-17.00 อบรมการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ด้วยระบบกราฟ (ประยุกต์การออกแบบลายผ้ามัดหมี่ร่วมสมัย) ณ บ้านบอน ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ วิทยากรภายใน และ วิทยากรภายนอก

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ได้พัฒนาการออกแบบประยุกต์ลวดลายผ้ามัดหมี่ จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการทางการตลาด โดยช่างทอผ้าสามารถนำเสนอลวดลายผ้าด้วยกราฟให้แก่ลูกค้า ช่วยเพิ่มยอดขาย
ด้านสังคม : ได้เพิ่มทักษะการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่อีสานด้วยกราฟ ช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถเห็นภาพรวมลวดลายผ้าได้ก่อนการทอผ้าจริง แก่กลุ่มทอผ้าของจังหวัดอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
65
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 2001 383 สิ่งทออีสานกับเทคโนโลยีพื้นถิ่น
หลักสูตร ศิลปประยุกต์บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน สอดแทรกในกิจกรรมการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาไปร่วมช่วยช่างทอ ทำกราฟ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาร่วมช่วยแก้ปัญหา การออกแบบลายผ้ากับช่างทอผ้า

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
6,300.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,100.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 53,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 25,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 8 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,800.00 บาท
=
14,400.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 8 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
6,400.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 20 วัน x จำนวน 1 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 13,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
8,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,200.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 16,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
13,620 แผ่น x 0.50 บาท
=
6,810.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,500.00 บาท
=
1,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
65 คน x 50.00 บาท
=
3,250.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
1,840.00 บาท
=
1,840.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท