แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการหมอยาเคลื่อนที่ ครั้งที่ 6
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สุทธาสินี สุวรรณกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Pharmaceutical Sciences
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรค ยาและแนวทางการรักษาโรคมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ความเจริญก้าวหน้าของการดูแลรักษา จัดการโรค การปรับตัวเปลี่ยนแปลงของจุลชีพ พฤติกรรมของมนุษย์ การคิดค้นยาใหม่ๆ ในการรักษาโรค เป็นต้น การมีเภสัชกรร่วมเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม จะช่วยทีมสหสาขาวิชาชีพในการค้นหา แก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา อนึ่งเภสัชกรจะปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีนั้น ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญหลายประการ ทั้งด้านความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับแนวทางจัดการโรคข้อมูลทางยาที่ทันสมัย ด้านทักษะในการสื่อสาร และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความพร้อมทั้งทางด้านแหล่งข้อมูลและบุคลากรที่จะให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกในโรงพยาบาล จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกในโรงพยาบาลร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี โครงการหมอยาเคลื่อนที่ (การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมที่โรงพยาบาล) ได้เคยดำเนินงานโครงการนำร่องมาแล้วในปีงบประมาณ 2554 โดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ได้เริ่มออกไปปฏิบัติงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เป็นแห่งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งเภสัชกรประจำแหล่งฝึกและบุคลากรทางการแพทย์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2555 คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการหมอยาเคลื่อนที่ เป็นครั้งที่ 2 ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ได้อย่างต่อเนื่อง จากที่ริเริ่มไว้แล้วปีงบประมาณ 2554 อีกทั้งในโครงการหมอยาเคลื่อนที่ครั้งที่ 3 (ปีงบประมาณ 2556) และครั้งที่ 3 (ปีงบประมาณ 2557) คณะฯ ยังสามารถขยายการดำเนินงานไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้แก่ โรงพยาบาลวารินชำราบ และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และโรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2557 คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการหมอยาเคลื่อนที่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งคณะกรรมการดำเนินโครงการมีแผนขยายกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานไปสู่ชุมชนมากขึ้น โดยเพิ่มกิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนมากขึ้น ผ่านกิจกรรมการคัดกรองโรคเรื้อรังในชุมชนและกิจกรรมออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งได้ทดลองทำกิจกรรมนี้แบบนำร่องไปแล้วในโครงการหมอยาเคลื่อนที่ ครั้ง 4 (ปีงบประมาณ 2557) ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มการตอบรับที่ดีจากผู้รับบริการ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2559 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ จึงมีความเห็นว่า ควรดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ประชาชนได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดในการรักษา คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ คาดว่าโครงการหมอยาเคลื่อนที่ ครั้งที่ 6 นี้จะได้รับการตอบรับอย่างดีและประสบความสำเร็จในดำเนินโครงการเช่นเดียวกับที่เคยดำเนินการมาแล้ว ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ จะเป็นการเปิดบทบาทของเภสัชกรและการพัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลและร้านยา รวมทั้งการดูแลด้านยาและสุขภาพแก่ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยา

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้บริการทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ สถานพยาบาล (โรงพยาบาล ร้านยา) โดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
2.2. เพื่อให้บริการทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยและในเขตจังหวัดอุบลราชธานี โดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
3.3. เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิชาชีพระหว่างคณะเภสัชศาสตร์และแหล่งฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
• ผู้รับบริการ ได้แก่ - ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลเป้าหมาย (โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลวารินชำราบ โรงพยาบาล 50 พรรษา โรงพยาบาลม่วงสามสิบ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดอุบลราชธานี) - ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการ ณ ร้านยาในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี - ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชุมชนในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี • ผู้ให้บริการ ได้แก่ คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.นำเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ 2. ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมาย 3.ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรม 4.การดำเนินการให้บริบาลทางเภสัชกรรม 5. การประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 6.สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.นำเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ -- --- --- --- 0.00
2. 2. ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมาย -- --- --- --- 0.00
3. 3.ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรม กิจกรรม -- --- --- --- 0.00
4. 4.การดำเนินการให้บริบาลทางเภสัชกรรม - - 154,000.00
5. 5. การประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ --- --- --- - 0.00
6. 6.สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้านยาจากคณาจารย์และเภสัชกรที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยา 2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหน่วยงานด้านสาธารณสุข มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาการระหว่างบุคลากรสาธารณสุข และเกิดความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และงานวิจัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เภสัชบำบัด
หลักสูตร เภสัชศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 4-5
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด - การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามที่กำหนด - ให้นักศึกษาศึกษาจากกรณีศึกษาผู้ป่วยจริง เก็บข้อมูลปัญหาการใช้ยาและวางแผนการแก้ไขปัญหา - อาจารย์ที่ออกไปปฏิบัติงาน ณ แหล่งฝึก นำตัวอย่างกรณีศึกษาจากผู้ป่วยจริงมาใช้ในการเรียนการสอน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 4,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 4,500.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 107,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 35,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 40 ครั้ง x จำนวน 8 คน x ครั้งละ 100.00 บาท
=
32,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
32,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 4,400.00 บาท )
- จำนวน 4 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,100 บาท/คัน/วัน
=
4,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,500.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดีรอม, external hard drive
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุตำรา
=
10,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 38,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารและเข้าเล่มเอกสาร
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย, ถุงมือยางใช้ครั้งเดียว, เจลทำความสะอาดแบบไม่ต้องล้างน้ำ
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท