แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง ปีที่ 2
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : ปฏิบัติงานพยาบาล 9 ปี , อาจารย์สอนสาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การส่งเสริมสุขภาพ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวสุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลสาธารณสุข
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางนิชนันท์ สุวรรณกูฏ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันดับแรก และทวีความรุนแรงมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ. 2551 พบว่า ทุกปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประมาณ 36 ล้านคน (ร้อยละ 63) โดยประมาณร้อยละ 44 เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี (สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์, 2557) สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2553 พบว่าประมาณร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและประมาณร้อยละ 29 ของการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี โดยสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นร้อยละ 27 โรคมะเร็งร้อยละ 12 โรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 7 และโรคเบาหวาน ร้อยละ 6 จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และระดับประเทศ ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัววัดมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 170 คน (ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือเรียกกลุ่มโรคนี้ว่า NCD (Non Communicable Disease) โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จากการจัดโครงการบริการวิชาการโครงการพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง ในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งเป็นจัดโครงการในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเลือดเลือดสมอง นอกจากนี้สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขได้มุ่งเน้นงานบริการในระดับปฐมภูมิ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ครอบคลุมในทุกมิติ เป้าหมายเพื่อลดอัตราป่วย ตาย และผลกระทบจากโรคเรื้อรังโดยริเริ่มโครงการการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care) ดังนั้นผู้เสนอโครงการจึงต้องการจัดบริการวิชาการในการพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกกลุ่มโรคเพื่อเป็นการนำความรู้สู่ชุมชน และเป็นพัฒนาตนเองและผู้ร่วมโครงการรวมทั้งนักศึกษาที่จะได้เรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริงซึ่งจะได้บูรณาการในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน หรือรายวิชาอื่นที่มีความสนใจเข้าร่วม นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาสู่การศึกษาวิจัยในด้านการวิจัยเชิงประเมินโครงการบริการวิชาการ

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน บุคลากรทางการพยาบาลในการให้บริการการดูแลสุขภาพที่บ้าน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาพยาบาลศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
265 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรม วัน เดือน ปี 1. เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ ต.ค. 2558 2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ พ.ย. 2558 3. ประชุมคณะทำงาน เตรียมการดำเนินการ พ.ย. 2558 4. ทำเรื่องขออนุมัติเงินทดรองจ่ายในโครงการ ธ.ค. 2558 5. ประชาสัมพันธ์โครงการ ธ.ค. 2558 6. เตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์การดำเนินโครงการ ม.ค. 2559 7. สำรวจความต้องการระบบการให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยและผู้ดูแล ก.พ. 2559 8. ดำเนินการตามแผน มี.ค. – ส.ค. 2559 9. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ก.ย. 2559 10. สรุปประเมินผลโครงการ ก.ย. 2559 11. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ ก.ย. 2559

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ -- --- --- --- 0.00
2.แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินการ -- --- --- --- 0.00
3.ทำเรื่องขออนุมัติเงินทดรองจ่าย/ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- --- --- 0.00
4.เตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ --- -- --- --- 0.00
5.สำรวจความต้องการระบบการให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยและผู้ดูแล --- -- --- --- 17,000.00
6.พัฒนาคู่มือการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง --- -- --- --- 56,000.00
7.พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศการดูแลสุขภาพที่บ้าน --- -- -- --- 34,200.00
8.จัดกิจกรรมอบรมการใช้คู่มือและโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน --- --- -- --- 39,780.00
9.จัดกิจกรรมลงให้บริการการดูแลสุขภาพที่บ้าน --- --- - - 68,000.00
10.ประเมินผล ถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ --- --- --- -- 23,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00-16.00 สำรวจความต้องการระบบการให้บริการการดูแลสุขภาพที่บ้าน นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร นางนิชนันท์ สุวรรณกูฏ นางสาวสุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์
1 มีนาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 พัฒนาคู่มือการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร
1 เมษายน พ.ศ. 2559
09.00-16.00 พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศการดูแลสุขภาพที่บ้าน นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 จัดกิจกรรมอบรมการใช้คู่มือและโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร นางนิชนันท์ สุวรรณกูฏ นางสาวสุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ ผศ.ดร.สุรีย์ ธรรมิก
1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 จัดกิจกรรมให้บริการการดูแลสุขภาพที่บ้าน นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร นางนิชนันท์ สุวรรณกูฏ นางสาวสุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์
30 กันยายน พ.ศ. 2559
09.00-16.00 ประเมินผล ถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร นางนิชนันท์ สุวรรณกูฏ นางสาวสุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ได้คู่มือการเยี่ยมบ้านและการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลที่ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค2. ได้โปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการเยี่ยมบ้านและการดูแลสุขภาพที่บ้าน 3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านและได้รับการเยี่ยมบ้านที่มีคุณภาพ4. อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่มีเครื่องมือทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้การดูแลสุขภาพที่บ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 5. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในการให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้านและทักษะในการเยี่ยมบ้าน 6. อาจารย์ได้พัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน สร้างองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย บูรณาการร่วมกับโครงการบริการวิชาการและการจัดการเรียนการสอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
212
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
95
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ดำเนินโครงการตามแผนและงบประมาณที่กำหนด

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1
หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมร้อยละ 100
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 70,980.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 58,980.00 บาท )
1) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 1,200.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท
2) ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการจำนวน 7 คน x จำนวน 12 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
35,280.00 บาท
3) ค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 5 คน x จำนวน 15 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
7,500.00 บาท
4) ค่าถอดเทปและพิมพ์งานจำนวน 1 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 1,500.00 บาท/ชม.
=
3,000.00 บาท
5) ค่าตอบแทนผู้เข้า focus groupจำนวน 10 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
2,000.00 บาท
6) การจัดพิมพ์จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 2,000.00 บาท/ชม.
=
2,000.00 บาท
7) ค่าตอบแทนการบันทึกข้อมูลจำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 2,000.00 บาท/ชม.
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 112,950.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,500.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 15 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 500.00 บาท
=
7,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,250.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 570 คน
=
14,250.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 13,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 270 คน
=
13,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 77,700.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำเล่มคู่มือ
=
40,000.00 บาท
2) จ้างเหมาพัฒนาโปรแกรม
=
20,000.00 บาท
3) จ้างเหมาอาสาสมัครที่อบรม
=
10,000.00 บาท
4) จ้างเหมาถ่ายทำวิดีทัศน์
=
4,000.00 บาท
5) จ้างเหมาพิมพ์เอกสาร
=
1,200.00 บาท
6) จ้างเหมาเข้าเล่มสรุป
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,070.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 13,070.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
8,070.00 บาท
=
8,070.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) วัสดุโครงการ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท