แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวเกษร สายธนู คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
โรคจิตเวชเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ ความคิด และการแสดงออกทางพฤติกรรมที่รุนแรง และถือว่าการเจ็บป่วยเรื้อรังโรคหนึ่ง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการให้ความดูแลและช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งผู้ป่วย ญาติหรือคนในครอบครัวและทีมสุขภาพ ในการแก้ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนรูปแบบเดิมนั้น มักจะเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในปัจจุบันการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือจิตเวชรูปแบบดังกล่าว อาจไม่เพียงพอเและทันต่อเหตุการณ์ข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรที่ดูแล ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเอง รวมถึงการปฏิบัติตัวต่างๆ เช่น การรับประทานยา การสังเกตอาการผิดปกติ การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง การจัดการปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลต่อการกำเริบซ้ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการป้องกันการกำเริบซ้ำของโรคได้อย่างดีที่สุด ในขณะเดียวกันการสร้างองค์ความรู้และทักษะให้กับคนในครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชนั้น ก็เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งเช่นเดียวกัน จากการการศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลธาตุซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ข้อมูลด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตเวชในชุมชน พบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน 27 คน เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท ผู้ป่วยโรคจิตจากสุราและสารเสพติด และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2557) จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช 15 คน ในระหว่างวันที่ 1-9 กันยายน 2557 พบว่า บางรายมีปัญหาการกำเริบซ้ำของโรคเนื่องจากการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง ขาดยา และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และผู้ดูแลยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น โดยข้อมูลจากการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นและการวิจัยเชิงพื้นที่ ประจำปี 2557 ระบุว่าจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังจำนวน 86 คน พบว่ามีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 41.86 โดยร้อยละ 13.96 ควรได้รับการประเมินติดตามเพื่อให้การดูแลแก้ไขภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 27.90 ควรได้รับการตรวจประเมินซ้ำและติดตามประเมินต่อเนื่องเพื่อการป้องกัน (สุรีย์ ธรรมิกบวรและเพชรตะวัน ธนะรุ่ง,2557) จะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช จำเป็นต้องให้ความสำคัญทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล เนื่องจากเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพันธกิจในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว ดังนั้นจึงได้พิจารณาจัดโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลธาตุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จึงบูรณาการกิจกรรมโครงการกับการเรียนการสอนรายวิชา 1801 326 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 2 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการคาดหวังว่า โครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชเอง รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ดูแลเกิดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนมีคุณภาพและยั่งยืน ผู้ป่วยจิตเวชอาการทุเลา และลดปัญหาการกำเริบซ้ำของโรคได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวช
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
3.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้ป่วยจิตเวชในเทศบาลตำบลธาตุ จำนวน 30 คน 2. ตัวแทนผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 30 คน 3. นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 36 คน 4. อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 4 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ขั้นเตรียมการ - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ - แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินการ - ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง - ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.ขั้นดำเนินการ -จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านสำหรับผู้ดูแล - กิจกรรมอบรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองผู้ป่วยจิตเวช -กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช -กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช อย่างน้อย 1 ครั้งต่อราย 3.ขั้นสรุปและรายงาน ประเมินผลโครงการ จัดทำเล่ม รายงานผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขั้นเตรียมการ - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ - แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินการ - ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง - ประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- 0.00
2.ขั้นดำเนินการ -จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านสำหรับผู้ดูแล --- --- -- --- 3,000.00
3.กิจกรรมอบรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองผู้ป่วยจิตเวช --- --- -- --- 14,100.00
4.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช --- --- -- --- 11,100.00
5.กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช อย่างน้อย 1 ครั้งต่อราย --- --- - --- 0.00
6.ขั้นสรุปและรายงาน ประเมินผลโครงการ จัดทำเล่ม รายงานผล --- --- --- - 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 336 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1. มีฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลธาตุ 2. ผู้ป่วยจิตเวช ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเอง 3. ผู้ดูแล ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 4. ได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลธาตุโดยการการมีส่วนร่วมของครอบครัว 5. ได้คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านสำหรับผู้ดูแล
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
70
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1801 326 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 2
หลักสูตร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปี 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในการบูรณาการกับการเรียนการสอน 3.51 ขึ้นไป
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนนักศึกษาร่วมกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแล มากกว่าร้อยละ 90
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 80

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 9,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 10,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
1,500.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
1,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช(50 เล่ม x 60 บาท)
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 11,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 8,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
6,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าของขวัญสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ (กระเป๋า 100 บาท X 30 คน)
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 31,600.00 บาท