แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 6 ปี
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ความเชี่ยวชาญ : ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุภาพร พรไตร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.สุพจน์ สีบุตร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding, MOU) ในการเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับ กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนตามโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช โรงเรียนนารีนุกูล โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคารโรงเรียนเดชอุดม โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนเลิงนกทา โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร โดยมีโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นประธานเครือข่าย โดยมุ่งหวังว่ากลุ่มโรงเรียนที่ MOU จะได้รับการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอน การเรียนรู้ของครูและนักเรียน ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นตัวป้อนที่ดีมีคุณภาพเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) การจัดตั้งโครงการนี้วัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เป็นการเพิ่มปริมาณนักวิทยาศาสตร์ ภายในประเทศให้มากขึ้น สามารถเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ หนึ่งในข้อบังคับของนักเรียนที่จะจบหลักสูตรนี้จะต้องได้รับการส่งเสริมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนแบบค้นหาความรู้เองจากกระบวนการวิจัย นักเรียนต้องวางแผน ปฏิบัติและตีความเป็นความรู้เอง ผู้เรียนจะได้ทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทักษะวิจัยรวมทั้งทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ควบคู่กัน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีลักษณะ teach less, learn more ครู (teacher) ต้องเปลี่ยนบทบาทตนเองไปเป็นผู้ฝึก (coach) และต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) ที่หลากหลายและใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุดและพร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับผู้เรียน อาจกล่าวได้ว่าการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์หรือวิจัยในระดับโรงเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาทั้งครูและนักเรียนไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของครูและนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดให้โครงการการพัฒนาศักยภาพการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้ให้ความรู้และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้า ตลอดจนวิจัยตามหลักสูตรที่กำหนดให้และตามความสนใจของผู้เรียนจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีพื้นฐานที่จะสามารถวิจัยในระดับสูงต่อไป
2. เพื่อเป็นการสร้างเจตคติที่ดีต่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถพิเศษ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาระดับสูงต่อไป
3. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในเครือข่าย จำนวน 7 โรงเรียน ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช โรงเรียนนารีนุกูล โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล โรงเรียนเดชอุดม โรงเรียนเลิงนกทา โรงเรียนยโสธรพิทยาคม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) อบรมการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ (proposal) 2) อบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) ติดตามการดำเนินงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 4) จัดเวทีให้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 5) ประเมินผลการดำเนินงานและเขียนรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.อบรมการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ (proposal) --- --- --- 46,200.00
2.อบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ --- - - --- 50,000.00
3.ติดตามการดำเนินงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ --- --- --- 22,000.00
4.จัดเวทีให้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงาน --- --- --- 30,000.00
5.ประเมินผลการดำเนินงานและเขียนรายงาน --- --- --- - 15,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 396 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 ธันวาคม พ.ศ. 2557
08.30-16.30 อบรมการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ (proposal) หัวหน้าโครงการและคณะ
16 มกราคม พ.ศ. 2559
08.30-16.30 อบรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการและคณะ
24 กันยายน พ.ศ. 2559
08.30-16.30 จัดเวทีให้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงาน หัวหน้าโครงการและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต
ด้านสังคม : สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา
ด้านสิ่งแวดล้อม : การพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์จากบริบทชุมชน
ด้านอื่นๆ : ได้พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
งบประมาณต่อหัวของผู้เข้าร่วมตลอดโครงการ 700บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้เรียน
หลักสูตร วิทยาศาสตร์ศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ใช้รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ของนักเรียนให้นักศึกษาในหลักสูตรวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ในแต่ละส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น ชื่อเรื่อง ที่มาและความสำคัญ การออกแบบการทดลอง เป็นต้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมโครงการในฐานะผู้ช่วยวิทยากรอบรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้เรียน
หลักสูตร วิทยาศาสตร์ศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ใช้รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ของนักเรียนให้นักศึกษาในหลักสูตรวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ในแต่ละส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น ชื่อเรื่อง ที่มาและความสำคัญ การออกแบบการทดลอง เป็นต้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมโครงการในฐานะผู้ช่วยวิทยากรอบรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 64,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 64,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 64,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
64,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 91,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 9,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 4 คน x ครั้งละ 500.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
3,200.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 81,900.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 210 คน
=
50,400.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 210 คน
=
31,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
200 คน x 5.00 บาท
=
1,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
500.00 บาท
=
500.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 166,400.00 บาท