แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ด้วยวิธีเครือข่ายทางสังคมโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวพรทิพย์ ไววุฒิ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Pharmaceutical Sciences
ประสบการณ์ : สอน 10 ปี -โครงการวิจัย -บริการวิชาการ -ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเคมี
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภาษาอังกฤษนับเป็นภาษาสากลของโลกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คนทั่วไปอย่างมาก เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และในอนาคตประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งสมาชิกที่กำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ภาษาอังกฤษยิ่งทบทวีความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” โดยมีข้อตกลงให้ใช้ ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อกลางในการติดต่อธุรกิจ ภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งในสาขาเภสัชศาสตร์ สำหรับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตสาขาเภสัชศาสตร์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนดเพื่อสนองความต้องการของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน และมีวิสัยทัศน์ คือ เป็นคณะเภสัชศาสตร์ชั้นนำในอาเซียน ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศด้านความรู้และทักษะวิชาชีพ สร้างสรรค์งานวิจัยในระดับสากล ดังนั้นการเรียนรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน จึงมีความสำคัญในการสื่อสารกับชาวต่างประเทศและการเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ในชั้นเรียนและจากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเป็พื้นฐานให้นักศึกษาได้นำประโยชน์ในการเรียนการสอนและในการทำงานด้านวิชาชีพเภสัชกรได้ต่อไปในอนาคต ในหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร 6 ปี รายวิชาชีวเคมีและอณูชีววิทยา 2 (Biochemistry and Molecular Biology II) รหัสวิชา 1502 222 เป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาทุกคนจะต้องเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป โดยการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ผู้สอนได้จัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบบรรยาย และสื่อการสอนที่ใช้คือตำราและงานนำเสนอ ซึ่งจากการสอนที่ผ่านมาพบว่า ผู้เรียนจะนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียนโดยไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนเท่าที่ควร หรือ กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน ในการถามตอบ ในเรื่องที่ผู้สอนบรรยายไป ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งในทางปฏิบัติ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น หากผู้เรียนมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น ผู้เรียนจะสนใจในการเรียน ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาและเกิดทักษะในการปฏิบัติจริงในชีวิตการทำงาน การส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจในเรื่องที่กำลังศึกษา โดยมีส่วนร่วม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเกี่ยวกับสาระที่เรียน จึงเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่เรียกว่า เครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based Society) ซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคมที่สนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ องค์ความรู้ที่แตกต่าง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนทำให้สมาชิกในสังคมการเรียนรู้นั้น สามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีกระบวนการจัดการความรู้ และมีระบบการเรียนรู้ร่วมกันที่ดี มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการที่สมาชิกเรียนรู้ได้จากการแสดงความคิดเห็น และสอบถามข้อมูลที่ขาดหรือบกพร่อง เพื่อให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์ ตลอดทั้งมีความคิดวิเคราะห์ในการใช้ความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับการเลือกและการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่ประสบและมีการพัฒนาอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เกิดได้ทุกเวลา สถานที่ ทุกคน ทุกสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ที่มีการสนทนาโต้ตอบ ถือเป็นการรวมกันของผู้ที่ชอบสิ่งที่เหมือนกัน อยู่ด้วยกัน สร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความสนใจและความต้องการของกลุ่มชุมชนนั้น ๆ ตลอดจนการสร้างสิ่งที่ดีเพื่อชุมชนในกลุ่มอย่างยั่งยืน จากสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพื่อก่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดทั้งความจำเป็นของการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบวิชาชีพในอนาคต จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะของเว็บไซต์ที่สนับสนุนให้มีการโต้ตอบ ซักถาม แสดงความคิดเห็นต่างๆ สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนได้เมื่อผู้เรียนเกิดข้อสงสัย แม้ไม่ได้อยู่ในชั้นเรียน ผู้เรียนสามารถได้รับคำตอบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมบนเว็บไซต์ได้ ผู้จัดทำโครงการมีความสนใจในการศึกษาโดยการนำเว็บไซต์เชิงปฏิสัมพันธ์ มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม การปฏิสัมพันธ์ ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายทางสังคมการเรียนรู้ อีกทั้งโครงการนี้ จะเป็นแนวทางสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือเว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบบูรณาการ มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนในการวิชาอื่นๆ และกลุ่มผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ ต่อไป และเป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศเพื่อบ้านในกลุ่มอาเซียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางและขยายไปสู่ระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
2.เพื่อให้นักศึกษา มีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ในสาระความรู้ด้านวิชาการ ด้วยการถามตอบของผู้เรียนในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ผ่านเครือข่ายทางสังคม
3.เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อประโยชน์แก่การนำไปใช้ในวิชาชีพในสาขาของตน ต่อไปในอนาคต
4.เพื่อเป็นพื้นฐานในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาชีวเคมีและอณูชีววิทยา 2 จ 2. อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ 1.2 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 1.3 ผลิตสื่อออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในรายวิชาชีวเคมีและอณูชีววิทยา 2 โดยเลือกเนื้อหา “Cancer genetics and oncogenes” หรือหัวข้ออื่นตามความเหมาะสม (ผลิตสื่อโดยอาจารย์ผู้สอนและทีมงาน) 1.4 จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมและผู้สนใจ 1.5 ประชาสัมพันธ์นักศึกษาและผู้สนใจให้เข้าร่วมกิจกรรมการโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษผ่านสื่อออนไลน์ 1.6 อบรมการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อใช้โต้ตอบผ่านสื่อออนไลน์โดยวิทยากร ชาวไทย/ชาวต่างประเทศที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาอังกฤษ 1.7 นักศึกษาเข้าใช้สื่อออนไลน์และถาม-ตอบข้อซักถามเป็นภาษาอังกฤษเกิดปฏิสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่ายทางสังคมระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และบุคคลที่สนใจ ประกวดกระทู้คำถามคำตอบที่มีเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง 1.8 จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและสรุปผล แจกแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ร่วมโครงการ 1.9 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน 1. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน -- --- --- --- 0.00
2.3. ผลิตสื่อและจัดเตรียมสื่อเพื่อใช้เผยแพร่ -- --- --- --- 10,000.00
3.4. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม --- -- --- --- 12.00
4.5. ประชาสัมพันธ์นักศึกษาและผู้สนใจ --- -- --- --- 0.00
5.6.อบรมการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น --- -- --- --- 23.00
6.7. นักศึกษาเข้าใช้สื่อออนไลน์และถาม-ตอบข้อซักถามเป็นภาษาอังกฤษ --- - --- --- 0.00
7.8.ประกวดกระทู้คำถามคำตอบ --- - --- --- 16,800.00
8.9.จัดประชุมสรุปผลแจกแบบสอบถาม สัมภาษณ์ --- -- --- --- 17,500.00
9.10. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน --- --- 18,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
8.00-16.00 1. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางแผนกา ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
8.00-16.00 2. อบรมการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้นและการใช้สื่อออนไลน์ ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซ์ซานเดอร์. ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ
29 มีนาคม พ.ศ. 2558
8.00-16.00 3. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและสรุปผล คณาจารย์กลุ่มวิชาชีวเภสัชศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้กับชนชาติอื่นในประชาคมอาเซียนซึ่งเป็นผลดีในด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
ด้านสังคม : 1. นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ได้เรียนรู้กระบวนการและกิจกรรมที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ผู้สอน และสังคมภายนอก เปิดโอกาสสำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันสามารถเข้าใจในประเด็นเดียวกันได้อย่างถ่องแท้และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสูงขึ้นในระยะยาว
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในวิชาชีพในสาขาของตน ต่อไปในอนาคต

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา ชีวเคมีและอณูชีววิทยา 2
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต 6 ปี
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำความรู้ที่ได้จากการโต้ตอบผ่านสื่อออนไลน์มาแทรกในเนื้อหาภาคบรรยาย
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์วิชาการผ่านเว็บไซต์

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,925.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 4,325.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนรางวัลประกวดจำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 4,325.00 บาท/ชม.
=
4,325.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 71,775.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 300.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 300.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 300.00 บาท
=
300.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,750.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 125 คน
=
18,750.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 28,125.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 125 คน
=
28,125.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 24,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมา
=
24,600.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 98,700.00 บาท