แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ระยะที่ 1
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : การนำวิทยาศาสตร์มาเสริมสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้วยกระบวนการ PDCA
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวช่อทิพย์ กัณฑโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา (อนุกรมวิธานพืช)
ประสบการณ์ : "กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของของพรรณไม้กลุ่มลูกใต้ใบ (Phyllanthus) บางชนิดในประเทศไทย และความหลากหลายของพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี "
ความเชี่ยวชาญ : อนุกรมวิธานและกายวิภาคศาสตร์ของพืชวงศ์เอื้องเพ็ดม้า (Polygonaceae) และพืชสกุลทองพันชั่ง (Rhinacanthus) ในประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ชุมชนบ้านคุ้ม ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและมีอาชีพทำนาเป็นหลัก โดยแหล่งเรียนรู้สำคัญที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ได้แก่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียนโคกสว่างคุ้มวิทยานุสรณ์ และวัดป่ามณีรัตน์ เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของชุมชนแห่งนี้เป็นที่ราบลุ่ม โดยมีลำห้วยข้าวสารที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญทางธรรมชาติที่ไหลผ่านและล้อมรอบพื้นที่ของวัดป่ามณีรัตน์ ดังนั้นประชาชนจึงอาศัยวัดเป็นศูนย์กลางของแหล่งส่งน้ำเข้าไปใช้สอยยังชุมชนทั้งในด้านการอุปโภคบริโภค และการทำเกษตรกรรม รวมทั้งพระอาจารย์อุเทน กันตสีโล เจ้าอาวาสวัดป่ามณีรัตน์ ซึ่งเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มผู้คนในชุมชนเพื่อสร้างอาชีพและรายได้สำหรับนำมาช่วยเจือจุนครอบครัว (จิตติมา วัฒราช, 2558) ได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ บนพื้นฐานของสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ เช่น กลุ่มประปา กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มข้าวกล้อง และกลุ่มร้านค้าชุมชน เป็นต้น ประกอบกับในปีงบประมาณ 2557-2558 โรงเรียนโคกสว่างคุ้มวิทยานุสรณ์ ได้เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พี่เลี้ยงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทำวิจัยชุมชนโดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ชมชนให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการต่างๆ ผ่านชุดโครงงานเรื่องข้าวกล้องมณีโชติที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของแม่บ้านกลุ่มข้าวกล้องที่จัดตั้งและดำเนินงานครบวงจรตั้งแต่การผลิต การบรรจุภัณฑ์และจัดจำหน่ายภายในบริเวณของวัดป่ามณีรัตน์ เพื่อเชื่อมโยงภารกิจด้านด้านบริการวิชาการแก่สังคม การสร้างบัณฑิต การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้ได้เชื่อมเข้ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์จึง เสนอขอมหาวิทยาลัยในการดำเนินการโครงการ การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ระยะที่ 1 ตามแนวทางที่กำหนดไว้ คือ (1) พัฒนาโรงเรียน ครู นักเรียน และตัวแทนกลุ่มอาชีพให้มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเหลือชุมชน (2) เพื่อปรับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาให้เป็นพื้นฐานในการสร้างองค์ความรู้และการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นโดยไม่ทำลายสุขภาวะรวมของท้องถิ่น และ (3) สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน (4) ชุมชนนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอด/เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชนต่อไป ทั้งนี้การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2558 ได้เน้นหนักที่การทำงานรูปแบบที่ (1) คือ การพัฒนาโรงเรียน ครู และ นักเรียน และ (2) ปรับการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาให้เป็นพื้นฐานในการสร้างงานวิจัยฯ ก่อนที่จะก้าวไปสู่เรื่องที่ (3) และ (4) ในปีต่อๆ ไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาโรงเรียน ครู นักเรียน และตัวแทนกลุ่มอาชีพให้มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์สำหรับช่วยเหลือชุมชน
2.เพื่อปรับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็นพื้นฐานในการสร้างองค์ความรู้และการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นโดยไม่ทำลายสุขภาวะรวม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียน ครู นักเรียน และตัวแทนกลุ่มอาชีพในชุมชนบ้านคุ้ม ต.สำโรง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
160 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดประชุมคณะทำงาน โรงเรียน และตัวแทนกลุ่มอาชีพในชุมชน 2. จัดประชุมอาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เพื่อแบ่งหน้าที่ในแต่ละปฏิบัติการ/กลุ่มกิจกรรมโดยให้นักศึกษาร่วม 3. ประสานงานกับโรงเรียนและชุมชนในการจัดกิจกรรม 4. ดำเนินโครงการ 5. สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผน (P) -สำรวจพื้นที่ -จัดประชุมคณะทำงานและชุมชน -เขียนข้อเสนอโครงการ -ติดต่อพื้นที่เป้าหมายและจัดทำแบบประเมิน --- --- -- - 45,000.00
2.ดำเนินงาน (D) -ลงทะเบียนผู้ร่วมโครงการ -จัดกิจกรรมตามแผนงาน (ประสานงานกับโรงเรียนและชุมชน/จัดกิจกรรมการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในช --- --- --- 210,000.00
3.ติดตามความก้าวหน้า ตรวจสอบ และวิเคราะห์ผล (C) -ติดตามความก้าว หน้าและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนากิจกรรม --- --- --- 40,000.00
4.สรุปผลการดำเนินงานและสิ่งที่ต้องแก้ไข/เรียนรู้เพิ่มเติม (A) เพื่อนำไปใช้ในปีงบประมาณต่อไป --- --- --- -- 4,000.00
5.เขียนรายงานการวิจัย --- --- --- -- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 สิงหาคม พ.ศ. 2558
8.30-17.30 วันที่ 24-30 ส.ค. 2558 -เตรียมงาน -ประชุมคณะทำงานจากคณะวิทยาศาสตร์และกลุ่มเป้าหมาย ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ และอาจารย์-เจ้าหน้าที่จากคณะวิทยาศาสตร์
1 กันยายน พ.ศ. 2558
8.30-17.30 วันที่ 1-15 ก.ย. 2558 -จัดเตรียมเอกสารวิชาการ วัสดุ-อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับจัดกิจกรรม อาจารย์-เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์
12 กันยายน พ.ศ. 2558
8.30-17.30 ครั้งที่ 1 วันที่ 12-13 ก.ย. 2558 และครั้งที่ 2 วันที่ 18-20 ก.ย. 2558 จัดกิจกรรม ณ ชุมชนบ้านคุ้ม ครู นักเรียน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ อาจารย์-เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์
26 กันยายน พ.ศ. 2558
8.30-17.30 วันที่ 26-27 ก.ย. 2558 ติดตามความก้าวหน้า ตรวจสอบ วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรม ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ และอาจารย์-เจ้าหน้าที่จากคณะวิทยาศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : - โรงเรียน ครู นักเรียน และตัวแทนกลุ่มอาชีพให้มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์สำหรับ ช่วยเหลือชุมชนเพื่อมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ด้านสิ่งแวดล้อม : - ประชาชนในชุมชนมีแนวทางในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของท้องถิ่นให้เข้มแข็งและ ยั่งยืนต่อไป
ด้านอื่นๆ : - ประชาชนในชุมชนได้พัฒนาและเตรียมความพร้อมในการผลิต/การแปรรูป และการบริการ ทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง - อาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในนำความรู้ด้านการเรียนการสอนมาบูรณา- การกับชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
128
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา Invertebrate Biology
หลักสูตร หลักสูตร ชีววิทยา
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 60 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรู้จักชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ความสะอาดของแหล่งนำ้ในชุมชน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของ 30 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนมีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 49,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 49,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
18,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 31,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
31,500.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 188,950.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 34,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 160 คน
=
32,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 98,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 15 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 160 คน
=
96,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 17,500.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 7 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
17,500.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 38,650.00 บาท )
1) ค่าพาหนะจ้างเหมารถบัสและน้ำมันเชื้อเพลิงในการอบรมเชิงปฏิบัติการ
=
18,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน
=
12,250.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาสถานที่ในการจัดกิจกรรม
=
8,400.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 61,550.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 61,550.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,500 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,250.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
60,300.00 บาท
=
60,300.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 300,000.00 บาท