แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ศึกษาพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ “เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง” โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านภูดานกอย ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ณัชพล สามารถ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ส่งเสริมการเกษตร
ประสบการณ์ : งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม ที่ปรึกษาด้านการเกษตรผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ การมีส่วนร่วม(เกษตร)ติดตามประเมินผล
หัวหน้าโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ
นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตร์
ประสบการณ์ : การรับรองขบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์
ความเชี่ยวชาญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง ปกครองท้องถิ่น และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เดิมบ้านภูดานกอยไม่มีโรงเรียนในหมู่บ้าน เด็กนักเรียนจึงต้องทางไปเรียนที่บ้านหินเกิ้ง เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งการสัญจรไปมายากลำบาก ผู้ปกครองเกรงว่าบุตรหลานจะได้รับอันตรายจาการเดินทาง ชาวบ้านจึงได้ขอความอนุเคราะห์ไปยังกองกำกับการตำรวจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 เพื่อขอจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอยขึ้น โรงเรียนตำรวจตระเวนขายแดนบ้านภูดานกอย จะเปิดสอน ป.1-ป.6 เป็นโรงเรียนในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยการศึกษาของเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบท ต้องเดินทางไกลไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ก่อสร้างไปได้ 30 % โดยความร่วมมือของข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน สนับสนุนบริจาคเงินวัสดุก่อสร้าง และแรงงานจากราษฎรในหมู่บ้าน และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญสนับสนุนเครื่องจักรในการปรับพื้นที่ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จ ให้สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ในเดือนพฤษภาคม 2558 นี้ แต่ยังขาดแคลนงบประมาณและอุปกรณ์ก่อสร้างอีกมาก มีนักเรียนทั้งหมด ๔๗ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอนจำนวน ๖ นาย มีผู้อำนวยการคือร้อยตำรวจโทประเสริฐ บุญศรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับกิจกรรมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการช่วยเหลือโรงเรียนประถมและมัธยมในท้องถิ่นเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคแห่งหนึ่ง มีคณะวิชาค่อนข้างครบถ้วนเหมาะสมที่จะทำงานพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่น ควรไปสำรวจโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สอบถามบุคลากรภายในว่าต้องการอะไรมีหลายอย่างที่ทำได้ เช่น การศึกษา ช่วยพัฒนาครู จัดการอบรม งานเกษตร ในโรงเรียนที่ทำอยู่แล้วขาดแคลนเรื่องอะไร เช่น ดิน น้ำ พันธุ์พืช เทคนิคการขยายพันธุ์พืช งานแปรรูปพืชผลการเกษตรเมื่อทำแล้วค่อยขยายผลสู่ท้องถิ่นต่อไป จากแนวทางพระราชทานข้อเสนอแนะ ประกอบกับความต้องการของศูนย์การเรียนรู้ภูดานกอย อำนาจเจริญ (ตระการพืชผล กุดข้าวปุ้น ชานุมาน บ้านหนองผือ) ต้องการให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นที่ปรึกษางานด้านวิชาการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนที่ศูนย์ รวมถึงการให้คำแนะนำวางแผนงานด้านการเกษตรและปศุสัตว์(การประชุมปรึกษาหารือแผนการให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวันที่ 25 พฤษภาคม 2558) จึงนำมาสู่ความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานด้านวิชาการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ ทักษะการงานและอาชีพภายใต้กรอบทฤษฎีเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง แก่นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนตลอดถึงผู้สนใจที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาวิชาการและศูนย์เรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
2.เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เกษตรที่สอดคล้องกับชุมชนและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรการงานและอาชีพ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอย ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เกษตรกรใกล้เคียง อาทิ อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอตระการพืชผล อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอชานุมาน อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดทำแผนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับแผนการสร้างแปลงเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ 2. สนับสนุนปัจจัยการสร้างแปลงเรียนรู้ ข้าว พืชไร่ พืชสวน สัตว์เศรษฐกิจ ประมงและป่าไม้ 3. ฝึกอบรมครู นักเรียน และผู้สนใจ เพื่อเรียนรู้เรื่องการผลิตข้าว พืชไร่ และพืชสวน การปรับปรุงดินและการอารักขาพืช ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.1 ภาคทฤษฎี บรรยายในห้องโดยใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ 3.2 ภาคปฏิบัติ สาธิตและให้ปฏิบัติในแปลงปลูกของโรงเรียน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 30 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม กลุ่มละ 1 ท่าน 4. พัฒนาหลักสูตรการงานอาชีพและเทคโนโลยีและสื่อการสอน 5. ติดตามและกำกับการดำเนินงานโครงการ 6. สรุปประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.จัดทำแผนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และแผนการสร้างแปลงเรียนรู้ 2.สนับสนุนปัจจัยการสร้างแปลงเรียนรู้ 3.ฝึกอบรมนักเรียน และผู้สนใจ 4.ทดสอบ --- --- --- 90,000.00
2.2.สนับสนุนปัจจัยการสร้างแปลงเรียนรู้ 3.ฝึกอบรมนักเรียน และผู้สนใจ 4.ทดสอบใช้หลักสูตรการงานอาชีพและเทคโนโลยีและการปรับปรุง 5.ติดตามและกำกับการดำเนิน --- --- --- 50,000.00
3.5.ติดตามและกำกับการดำเนินงานโครงการ --- --- --- 5,000.00
4.6.สรุปประเมินผลการดำเนินงานโครงการ --- --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน/การเปิดอบรม ผศ.ณัชพล สามารถ
24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
09.00-11.00 น. บรรยาย ทางวิชาการ ผศ.ณัชพล สามารถ
24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
11.00-12.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการกิจกรรม 2 ฐานการเรียนรู้ ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ เจ้าหน้าที่ 1 ท่าน
24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ เจ้าหน้าที่ 1 ท่าน
24 ธันวาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการกิจกรรม 2 ฐานการเรียนรู้ ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ เจ้าหน้าที่ 1 ท่าน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ศูนย์เรียนรู้สามารถนำผลผลิตจากโครงการไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันและนำไปซื้อปัจจัยการผลิตมาลงทุนต่อไป 2. นักเรียนและชุมชนโดยรอบ สามารถนำองค์ความรู้จากศูนย์เรียนไปเพิ่มผลผลิตการสร้างงานและอาชีพ
ด้านสังคม : 1. ได้หลักสูตรการงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 2 หลักสูตร 2. สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธา แก่นักเรียน และชุมชนโดยรอบพื้นที่ 3. เกิดการบูรณาการการพัฒนาพื้นที่ระหว่างมหาวิทยาลัยและส่วนราชการในจังหวัด 4. ได้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์เกษตรพัฒนาสู่วิชาการงานและอาชีพ 5. ครูและนักเรียนมีความรู้ มีอุดมการณ์ด้านการเกษตร การประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1. อนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ข้าวพื้นเมือง พืชสมุนไพร พืชอาหาร เป็นต้น 2. เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1500

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1200467
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 90 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 70 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,660.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 9 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,060.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 43,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม 100 เล่ม ๆ ละ 45 บาท * 2 หลักสูตร
=
9,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาออกแบบและพิมพ์ไวนิล 3 ชุด ๆ ละ 2,000 บาท
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 82,140.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 22,140.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
4,280 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,140.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 60,000.00 บาท )
1) วัสดุเกษตร (พันธุ์พืช พันธุ์ไก่ พันธุ์ปลา อาหารสัตว์ ระบบน้ำ)
=
40,000.00 บาท
2) วัสดุก่อสร้าง
=
15,000.00 บาท
3) วัสดุไฟฟ้า
=
3,000.00 บาท
4) วัสดุคอมพิวเตอร์
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท