แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางกชรัตน์ จันทร์งาม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ปริญญาโท : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประสบการณ์ : งานวิจัย : - ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของครูสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5 [ผู้เข้าร่วม, 2558] บริการวิชาการ : - โครงการอบรมเทคนิคการสอนทักษะภาษาอังกฤษและการประเมินผลสำหรับครูมัธยมศึกษา [2556] - นำเสนอผลงาน : - ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของครูสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5 [2558]
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ
นางสาวศุภมน อาภานันท์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตามที่ กรรมการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7 มิถุนายน 2554 ได้ให้ความเห็นชอบให้ในการดำเนินกิจกรรมให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชน โดยได้น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีในพัฒนาเด็กและเยาวชน เป็นแนวทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ได้จัดทำ “แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550-2559) เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการจัดทำแผนของสถานศึกษาและของทุกภาคส่วนที่สนับสนุนการพัฒนา โดยเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา คือ “เด็กและเยาวชน มีโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้ และทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้” ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สอดคล้องกับแผนการพัฒนาฯ ข้างต้น จึงกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนในโครงการ ฯ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนในโครงการ ฯ ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การเสริมสร้างศักยภาพทางการอาชีพของนักเรียนและชุมชนในโครงการ ฯ ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชน ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 1 สาระที่ 1 โดยกระทรวงศึกษาธิการ ในหัวข้อภาษาเพื่อการสื่อสารกําหนดไว้ว่า ผู้เรียนควรเข้าใจกระบวนการฟัง การอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่าน จากสื่อประเภทต่างๆ และนําความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ นิทานจึงเป็นสื่อหนึ่งที่มีคุณค่าต่อเด็ก การเล่านิทานเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็ก สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้เด็กมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆทั้งการกล้าแสดงออก ความเชื่อมั่นในตนเอง การคิดและจินตนาการ ที่สำคัญนิทานช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษา ทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน รวมถึงการจดจำคำศัพท์ที่มีในนิทานก็เป็นการขยายประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางมากขึ้น นอกจากนั้นการเล่านิทานยังการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม เพราะเด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กและเด็กกับเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้นนำไปสู่การพัฒนาทางด้านสังคม ในขณะเดียวกันเด็กก็ได้เรียนรู้การใช้ภาษาลักษณะต่างๆในสถานการณ์จริงโดยผ่านตัวละครต่างๆในนิทาน เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมความสามารถในการสรุปความของเนื้อหาสำคัญในนิทาน ตามมติที่ประชุมปรึกษาหารือแผนการให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทางครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้แสดงความต้องการให้ทางคณะศิลปศาสตร์ จัดโครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ และที่สำคัญคือเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนม์มายุ ครบ 5 รอบ คณะศิลปศาสตร์ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเห็นควรจัดโครงการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาให้เกิดแก่นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนผ่านกิจกรรมการเล่มนิทาน เพื่อพัฒนาการศึกษาของเยาวชนในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งเมื่อนักเรียนมีความรู้และทักษะในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดีแล้ว จะช่วยให้การเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้
2.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกลุ่มโรงเรียนต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 รร.ตชด.คำสะอาด รร.ตชด.ท่าแสนคูณ และ ศกร.หนองบัวพัฒนา กลุ่มที่ 2 รร.ตชด.แก่งศรีโคตร รร.ตชด.ศ.เนวิน สคริมชอร์ และ ศกร.ป่าหญ้าคา กลุ่มที่ 3 รร.ตชด.น้ำขุ่น รร.ตชด.ตาเอ็ม และ รร.ตชด.บ้านหนองใหญ่ กลุ่มที่ 4 รร.ตชด.บ้านปากลา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประสานงานเพื่อขอข้อมูลสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. วางแผน/กำหนดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน 3. ดำเนินกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน 4. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานเพื่อขอข้อมูลสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ -- --- --- --- 0.00
2.วางแผน/กำหนดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษชองนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน -- --- --- --- 0.00
3.ดำเนินกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน --- -- - -- 0.00
4.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน --- -- -- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.ศุภมน อาภานันน์และคณะ
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.กชรัตน์ จันทร์งามและคณะ
9 เมษายน พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.ศุภมน อาภานันน์และคณะ
16 เมษายน พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.กชรัตน์ จันทร์งามและคณะ
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.ศุภมน อาภานันน์และคณะ
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.กชรัตน์ จันทร์งามและคณะ
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.ศุภมน อาภานันน์และคณะ
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 น. พัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน อ.กชรัตน์ จันทร์งามและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. นักเรียนที่ร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการใช้ภาษาไทยที่เพิ่มขึ้น สามารนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ 2. นักเรียนที่ร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
160
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ฝึกงาน
หลักสูตร ภาษาไทยและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด 3-5คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 60,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 57,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
57,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 124,540.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 34,240.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
16,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 3 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
9,600.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 8,640.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 200.00 บาท
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 8 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,840.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 28,000.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
28,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 44,800.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
44,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 17,500.00 บาท )
1) จ้างเหมาบริการ
=
16,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์
=
1,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 14,660.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 14,660.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
14,660.00 บาท
=
14,660.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท