แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ รุ่นที่ 18
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Plant Pathology
ประสบการณ์ : การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมไส้เดืนฝอยรากปมโดยชีววิธี การเพาะเห็ด
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : General Plant Science
ประสบการณ์ : ด้านการสอน วิชาปฐพีเบื้องต้น พืชอุตสาหกรรม งานวิจัย อโครงการน้ำทิ้งจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดต่อการผลิตข้าว โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการผลิตป๋ยน้ำจากสิ่งเหลือใช้ในครัวเรือน การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ธาตุอาหารพืช
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจำนงค์ จันทะสี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : งานอารักขาพืช (โรคและแมลงศัตรูพืช) การผลิตเห็ด วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน
ความเชี่ยวชาญ : งานอารักขาพืช (โรคและแมลงศัตรูพืช) การผลิตเห็ด
ผู้ร่วมโครงการ
นายสมชาย คำแน่น คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วท.บ.(สาธารณสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี, ประเทศไทย. 2552.
ประสบการณ์ : พนักงานห้องปฏิบัติการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : งานอารักขาพืช การผลิตเห็ด
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากผลกระทบทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเลิกจ้างงานแรงงานมีสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้แรงงานเหล่านั้นหวนกลับมาประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพดั่งเดิมอีกครั้ง การเพาะเห็ดเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูง ไม่ต้องอาศัยพื้นที่เพาะและปริมาณน้ำมากนัก สามารถทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ดี และสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เห็ดที่นิยมเพาะมีหลายชนิด ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดนางนวล เห็ดเป๋าฮื้อเห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดหูหนู และเห็ดหลินจือ เป็นต้น เห็ดนิยมบริโภคกันกว้างขวาง เนื่องจากรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง ให้สรรพคุณทางยาที่สามารถป้องกันและรักษาโรคบางอย่างได้ วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรกรรม เช่นขี้เลื่อยไม้ยางพารา ฟางข้าว ฝักและซังข้าวโพด ชานอ้อน หรือแกลบ เป็นต้น จึงทำให้อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความสนใจ ประกอบกับงานทางด้านการศึกษาการวิจัยการเพาะเห็ดชนิดต่างๆได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันมีเห็ดหลายชนิดๆสามารถเพาะให้เกิดดอกได้และกลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี เช่น เห็ดหัวลิง เห็ดนางนวล เห็ดออเรนจิ เห็ดโคนญี่ปุ่น และเห็ดแครง เป็นต้น คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการส่งเสริมการสร้างอาชีพโดยให้ความรู้และหลักการเพาะเห็ดแก่ผู้ที่สนใจ รวมทั้งเพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการเรียนการสอนวิชา 1202 344 การผลิตเห็ด โดยการนำนักศึกษาเข้าร่วมให้บริการวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารกับชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ” ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปมาแล้วจำนวนทั้งสิ้น 16 รุ่น ซึ่งจากการประเมินผลการฝึกอบรม"เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ รุ่นที่ 16" ในระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2558 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนทั้งสิ้น 46 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบการเพาะเห็ด ลูกจ้าง ข้าราชการครู เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน และประชาชนทั่วไป เมื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หัวข้อประเมินที่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมฯส่วนใหญ่ให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความน่าสนใจของเนื้อหา เอกสารประกอบการบรรยาย การบรรยายของวิทยากร การตอบคำถามของวิทยากร คุณภาพของสื่อที่ใช้ในกิจกรรม ความสมดุลของจำนวนผู้เข้ารับการฝึกฯและจำนวนอุปกรณ์ฯ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมฯ และสถานที่จัดการฝึกอบรม เป็นต้น สำหรับปีงบประมาณ 2560 วางแผนการจัดฝึกอบรมฯ โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก และการเพาะเห็ดในท่อนไม้ ให้ความรู้ทั้งในภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติการ เกี่ยวกับขั้นตอนการเพาะ การเปิดดอก การจัดการโรงเรือนและการดูแลรักษา ก้อนเห็ด การป้องกันศัตรูเห็ด ตลอดจนการการคิดต้นทุนการเพาะและการแปรรูปเห็ด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดไม่ว่าจะเป็นเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนหรือต่อยอดพัฒนาเป็นธุรกิจ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ลดความเสี่ยงของการลงทุน เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรโดยสามารถเพาะเห็ดผสมผสานกับการทำเกษตรพืชผักโดยทั่วไปได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มรายได้แก่ชุมชน
2.เพื่อฝึกให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกร ครู นักเรียน และบุคคลทั่วไปในเขตพื้นที่ตำบลคำขวาง ตำบลธาตุ ตำบลศรีไค และตำบลโพธิ์ใหญ่
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
- รับสมัครผู้เข้าอบรมโดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ อินเตอร์เน็ท ฯลฯ ของมหาวิทยาลัย - จัดเตรียมโรงเรือนสาธิต สถานที่ ก้อนเชื้อเห็ด วัสดุประกอบการฝึกอบรมและเอกสารประกอบการอบรม - จัดฝึกอบรมโดยการบรรยายและปฏิบัติการ - ติดตามให้คำปรึกษาหลังการอบรม - ประเมินผลหลังการอบรม - สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. ประชาสัมพันธ์ --- --- --- 500.00
2.รับสมัครผู้เข้าอบรม --- - -- --- 500.00
3.จัดเตรียมโรงเรือนบ่มก้อน โรงเรือนเปิดดอกและ เอกสารประกอบการฝึกอบรมฯ -- - -- --- 30,000.00
4.จัดเตรียมก้อนเห็ด ท่อนเห็ดในท่อนไม้ รวมทั้งอุปกรณ์และวัสดุฝึกฯ -- - -- --- 22,000.00
5. จัดฝึกอบรม --- --- -- --- 40,000.00
6.ติดตามให้คำปรึกษาหลังการฝึกอบรม --- --- -- --- 4,000.00
7.ประเมินผลหลังการอบรม --- --- --- -- 1,500.00
8.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 1,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560 - 23 เมษายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 เมษายน พ.ศ. 2560
08.00-08.30 น. ลงทะเบียนพร้อมรับเอกสารฝึกอบรม -
21 เมษายน พ.ศ. 2560
08.45 - 10.15 น. บรรยาย"ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดและหลักการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก" ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
21 เมษายน พ.ศ. 2560
14.30 - 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง -
21 เมษายน พ.ศ. 2560
14.45 - 16.15 น. ปฏิบัติ “การผลิตหัวเชื้อเห็ดในถุงพลาสติก” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ จำนงค์ จันทะสี
21 เมษายน พ.ศ. 2560
13.00-14.30 น. ปฏิบัติ “ การแยกเนื้อเยื่อดอกเห็ด” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ นางขนิษฐา วันทา
21 เมษายน พ.ศ. 2560
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน -
21 เมษายน พ.ศ. 2560
10.30-12.00 น. ปฏิบัติการ “การเตรียมอาหารวุ้น PDA และการเตรียมวัสดุทำหัวเชื้อเห็ด” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ จำนงค์ จันทะสี
21 เมษายน พ.ศ. 2560
08.30 – 08.45 น. พิธีเปิดการฝึกอบรมฯ -
21 เมษายน พ.ศ. 2560
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
22 เมษายน พ.ศ. 2560
14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
22 เมษายน พ.ศ. 2560
14.45 - 16.15 น. ปฏิบัติการ “การเพาะเห็ดในท่อนไม้ ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ จำนงค์ จันทะสี
22 เมษายน พ.ศ. 2560
13.00-14.30 น. ปฏิบัติการ “การต่อเชื้อเห็ด การบ่มก้อนเห็ด การเปิดดอก และการเก็บดอกเห็ด” สมชาย คำแน่น/ ขนิษฐา วันทา
22 เมษายน พ.ศ. 2560
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน -
22 เมษายน พ.ศ. 2560
10.30 – 12.00 น. ปฏิบัติการ“ผลิตก้อนเชื้อและนึ่งก้อนเชื้อ” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ และ สมชาย คำแน่น
22 เมษายน พ.ศ. 2560
10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
22 เมษายน พ.ศ. 2560
08.45-10.15 น. บรรยาย “การผลิตก้อนเห็ด การบ่มก้อน โรงเรือนเปิดดอกเห็ด และ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
16.15-16.40 น. ปิดการฝึกอบรมฯ -
23 เมษายน พ.ศ. 2560
15.15 - 16.15 น. ปฏิบัติการ “แปรรูปเห็ด (ต่อ)” วิทยากรรับเชิญ และ ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
15.00-15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
23 เมษายน พ.ศ. 2560
13.00-15.00 น. ปฏิบัติการ “แปรรูปเห็ด” วิทยากรรับเชิญ/ผศ.ดร.ยบุวดี ชูประภาวรรณ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน -
23 เมษายน พ.ศ. 2560
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ “การคิดต้นทุนการเพาะเห็ด” วิทยากรรับเชิญ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
09.45-10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง -
23 เมษายน พ.ศ. 2560
08.45 – 09.45 น. บรรยาย “โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของเห็ด” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมแก่ผู้ร่วมโครงการ ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
ด้านสังคม : เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมการเพาะเห็ด ทำให้เกิดความคุ้นเคย ความรัก ความสามัคคีในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพาะเห็ด ทำให้เป็นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ด้านอื่นๆ : แหล่งอาหารที่ปลอดภัยของชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เป็นการอบรมฯเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน ผู้อบรมสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนต่อไปได้ในวงกว้าง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1202 344 Mushroom Production
หลักสูตร หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษา 90% มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากขึ้น
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 28,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 19,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,300.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,300.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
6,300.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 32,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 4,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรม 30 ชุดๆละ 200 บาท
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 39,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) กระดาษ ปากกา ซองเอกสาร ดินสอ ป้ายชื่่อ กาว กรรไกร ซองกระดาษ ตะแกรงวางเอกสาร น้ำยาลบกระดาษ ลวดเย็บกระดาษ
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) กระดาษเขียนโปสเตอร์ พู่กันและสี แผ่นภาพโปสเตอร์
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) หมึก, กระดาษปริ๊น, แผ่น CD, Handy drive,
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) แก๊สหุงต้ม น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่อง น้ำมันจาระบี
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 33,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
=
2,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุการเกษตร
=
27,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุก่อสร้าง
=
2,000.00 บาท
4) วัสดุเคมีและอุปกรณ์วิทยาศษสตร์
=
1,000.00 บาท
5) ค่าถ่ายเอกสาร
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท