แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 0
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ?การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี?
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ยังไม่ได้เพิ่มผู้รับผิดชอบโครงการselect * from response_data rd,user_data ud,education ed,user_tname ut,resp_type rt where (rd.user_id=ud.user_id) and (rd.resp_type_id=rt.resp_type_id) and (ud.tname_id=ut.tname_id) and (ud.edu_id=ed.edu_id) and rd.pro_id=197 order by rd.resp_type_id

หลักการและเหตุผล
สินค้าคงคลัง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้การผลิตหรือการขายเป็นไปได้อย่างราบรื่น เนื่องจากหากมีสินค้าคงคลังที่มากเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านต้นทุนการเก็บรักษาสูง สินค้าเสื่อมสภาพ หมดอายุ ล้าสมัย ถูกขโมยหรือสูญหายและทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินไปหาประโยชน์ด้านอื่นๆ ตรงข้ามสินค้าคงคลังน้อยไปก็ประสบปัญหาสินค้าขาดแคลน(Stock out) สูญเสียโอกาสในการขายให้ลูกค้า เป็นการเปิดช่องให้คู่แข่งขันและสูญเสียลูกค้าไป นอกจากนี้ถ้าขาดแคลนวัตถุดิบที่สำคัญ การดำเนินงานทั้งการผลิตและการขายต้องหยุดชะงัก ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของวิสาหกิจชุมชนได้ ดังนั้นผู้บริหารวิสาหกิจชุมชน จะต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นระบบ เพราะการลงทุนในสินค้าคงคลังต้องใช้เงินจำนวนมากและส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ โดยการบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึง กระบวนการในการวางแผนโลจิสติกส์พื้นฐาน (Basic Logistics Process) รวมถึงการวิเคราะห์และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) พร้อมทั้งแนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Improvement) ให้การบริหารงานวิสาหกิจชุมชนมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างยั่งยืน แต่ด้วยปัจจุบันผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารสินค้าคงคลังที่ถูกต้องตามหลักการ ส่งผลให้การบริหารสินค้าคงคลังในวิสาหกิจชุมชนยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต สูญเสียรายได้เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่สามารถวางแนวทางในการปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ ทางคณะกรรมการจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติหลักสูตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจชุมชนในการแก้ปัญหาการบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ดูแลสินค้าคงคลังของวิสาหกิจชุมชน สามารถวางแผนการบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม และสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมในแต่ละวิสาหกิจชุมชน
2.เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการบริหารสินค้าคงคลังในวิสาหกิจชุมชนที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถวางแผนแนวทางการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่มักเกิดขึ้นในการบริหารงานสินค้าคงคลังได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
วิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 30 กลุ่มๆ ละ 2 คน (อบรม 2 รุ่น ๆ ละ 15 กลุ่ม) รวมผู้อบรมรุ่นละ 30 คน ผู้อบรมทั้งโครงการรวมทั้งสิ้น 60 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการทางเว็บไซต์คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชน เช่น พัฒนาชุมชนฯ สหกรณ์จังหวัดฯ เป็นต้น 1.2 ติดต่อประสานงานโดยตรงกับกลุ่มวิสาหกิจแต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้าใจให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารสินค้าคงคลัง และสนใจเข้าร่วมในโครงการนี้ 1.3 วางแผนการดำเนินงานตามโครงการฯ โดยมีการประชุมกลุ่มกับผู้ร่วมโครงการฯ เพื่อกำหนดวิทยากร 2 คน และผู้ช่วยวิทยากร 4 คนในการดำเนินโครงการแต่ละรุ่น กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมโครงการแต่ละคน 1.4 การอบรมเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ จะมีการบรรยาย ร่วมกับการปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร ร่วมกันเป็นที่ปรึกษาในแต่ละกลุ่ม 1.5 เมื่อสิ้นสุดการอบรมจะมีการประกวดและนำเสนอแผนการบริหารสินค้าคงคลังของแต่ละรุ่น โดยการรวบรวมและจัดทำรูปเล่ม และนำส่งแก่กลุ่มที่เข้าร่วมอบรมทั้ง 2 รุ่น เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มตนเอง 1.6 หลังจากได้รับการอบรมผ่านไป 1 เดือน คณะกรรมการในการจัดอบรมจะทำการติดตามและประเมินผล ถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของแต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1.7 กลุ่มใดที่สามารถดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะได้รับประกาศนียบัตร จากคณะบริหารศาสตร์ และนำแผนการบริหารดังกล่าวเผยแพร่ ต่อวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ด้วย เพื่อสามารถนำมประยุกต์ใช้ในวิสาหกิจของตนเอง 1.8 จัดทำรายงานการดำเนินโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
-1
0
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดเตรียมงานตามแผนฯ - -- --- --- 20,000.00
2.ประสานงานกับวิสาหกิจชุมชน --- - - --- 5,000.00
3.ดำเนินโครงการ --- --- -- -- 15,000.00
4.ติดตามประเมินผลหลังจากเข้าร่วมอบรม --- --- --- -- 10,000.00
5.รายงานผลการดำเนินโครงการ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
09.00 – 10.30 กระบวนการในการวางแผน โลจิสติกส์พื้นฐาน (Basic Logistics Process) ดร.ชนัญฎา สินชื่น
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
10.45 – 12.00 การวิเคราะห์และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ดร.ชนัญฎา สินชื่น
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
13.00 – 14.30 แนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Improvement) อ.ธีรวิทย์ กาปัญญา
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
14.45 – 16.00 เขียนแผนการบริหารสินค้าคงคลังในวิสาหกิจของตน ดร.ชนัญฎา สินชื่น
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
09.00 – 10.30 กระบวนการในการวางแผน โลจิสติกส์พื้นฐาน (Basic Logistics Process) ดร.ชนัญฎา สินชื่น
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
10.45 – 12.00 การวิเคราะห์และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ดร.ชนัญฎา สินชื่น
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
13.00 – 14.30 แนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Improvement) อ.ธีรวิทย์ กาปัญญา
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
14.45 – 16.00 เขียนแผนการบริหารสินค้าคงคลังในวิสาหกิจของตน ดร.ชนัญฎา สินชื่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
48
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
10
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-วิสาหกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 10% ต่อเดือน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา
หลักสูตร
นักศึกษาชั้นปี :
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 37,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 18,500.00 บาท )
1) จ้างเหมาจัดทำป้ายโครงการ
=
6,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาโฆษณาทางวิทยุ
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรมฯ
=
7,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาแรงงานนักศึกษาช่วยงาน
=
1,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดทำสรุปโครงการ
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 6,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 6,700.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,400 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,700.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 55,000.00 บาท