แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริหารจัดการติดตามหนี้ของกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลเมืองศรีไค
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวภัทราจิตร แสงสว่าง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ผู้ตรวจสอบภายใน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ตรวจสอบภายใน
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Accounting Information Systems
ประสบการณ์ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ประสบการณ์ในการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 วิทยากรบรรยายด้านบัญชี ภาษีอากร และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : การสอบบัญชี การภาษีอากร การควบคุมภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
ผู้ร่วมโครงการ
นายคมทัศน์ ทัศน์วา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : อาจารย์สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ความเชี่ยวชาญ : การตลาด/ธุรกิจระหว่างประเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายไกรศักดิ์ ยงกุลวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : วิทยากรการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ วิทยากรการจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดนโยบายการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผ่านระบบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยได้สนับสนุนเงินงบประมาณให้กับกองทุนหมู่บ้าน ในช่วง 13 ปี ที่ผ่านมา เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 151,565.82 ล้านบาท (จากวงเงินที่อนุมัติ 166,895.8041 ล้านบาท) : ข้อมูลจากศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ สังกัดสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พบว่าผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในปี 2556 มีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพลดลง และมีผลการประเมินต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยเงินทุนหมุนเวียนประเภทเพื่อการกู้ยืมแสดงถึงความยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านในการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมาว่ามีความยั่งยืนในระยะยาวลดลง โดยพบประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานและบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านดังนี้ 1. กองทุนหมู่บ้านมีหนี้ค้างชำระและเงินขาดบัญชีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.74 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 22.7 ในปี 2553 แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงของลูกหนี้ซึ่งมีหลายกองทุนหยุดดำเนินกิจกรรมหรือคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถบริหารจัดการใด ๆ ได้ 2. มีปัญหาด้านกระบวนการ (Process) เนื่องจากไม่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการติดตามควบคุมดูแลโครงการอย่างต่อเนื่อง 3. มีจุดอ่อนในการจัดทำหลักฐานทางด้านการเงินและบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานและงบการเงิน 4. บุคลากรของกองทุนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการหนี้ และการติดตามหนี้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการจัดทำรายงานทางการเงินที่ใช้ในการตัดสินใจของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ จากปัญหาดังกล่าวคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเล้งเห็นปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงแฏิบัติการ "โครงการการบริหารจัดการติดตามหนี้ของกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลเมืองศรีไค" เพื่อให้สมาชิกและบุคลากรของกองทุนหมู่บ้านได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ และการจัดทำรายงานต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดการบริหารติดตามหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งด้านการบริหารสินเชื่อ การติดตามเร่งรัดหนี้ การบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในที่ดี เพื่อกาหนดแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านมีความรู้ทักษะในการบริหารจัดการและการติดตามหนี้ รวมถึงการจัดลำดับชั้นหนี้และการบริหารจัดการหนี้ที่อาจจะกลายเป็นหนี้สูญ
2.เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน การบริหารติดตามหนี้ และรายงานต่างๆ ที่จะช่วยในการติดสินใจของคณะกรรมการสำหรับการบริหารจัดการหนี้
3.เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในรายวิชาสัมมนาการสอบบัญชีและการควบคุมและตรวจสอบภายในมาใช้ประโยชน์ โดยการถ่ายทอดและเรียนรู้จากสถานประกอบการจริง และยังเป็นการช่วยตรวจสอบงบการเงินของกองทุนหมู่บ้านก่อนส่งให้กับหน่วยงานกำกับดูแล

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. สมาชิก และบุคลากรกองทุนหมู่บ้านฯ จำนวน 3 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค 2. นักศึกษาในรายวิชาสัมมนาการสอบบัญชีและรายวิชาการควบคุมและการตรวจสอบภายใน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. อบรมด้านการบริหารจัดการหนี้ การติดตามหนี้ การบริหารความเสี่ยง 2. อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน และการติดตามหนี้ เป็นต้น

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขออนุมัติดำเนินการโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน -- --- --- --- 0.00
2.ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อสำรวจปัญหา --- --- --- 5,000.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการกับกลุ่มเป้าหมายและรวบรวมผู้เข้าร่วมงาน -- --- --- 5,000.00
4.เตรียมเอกสารอบมรมเชิงปฏิบัติการ -- -- --- --- 5,000.00
5.ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ และให้บริการตรวจสอบงบการเงินกองทุนหมู่บ้านและการบริหารติดตามหนี้ -- - --- 40,000.00
6.ติดตามผลการอบรมและรุปโครงการ --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
13 มกราคม พ.ศ. 2560
9.00-12.00 อบรมการบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ วิทยากรภายนอก
13 มกราคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 Focus กลุ่ม หัวข้อ เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการหนี้ ภัทราจิตร แสงสว่าง
14 มกราคม พ.ศ. 2560
9.00-12.00 อบรมการจัดทำรายงานทางการเงิน และการจัดทำรายงานการบริหารติดตามหนี้ ภัทราจิตร แสงสว่าง
14 มกราคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำรายงานทางการเงินและการจัดทำรายงานที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการหนี้ ภัทราจิตร แสงสว่าง
15 มกราคม พ.ศ. 2560
9.00-16.00 การให้บริการด้านการตรวจสอบงบการเงินกองทุนฯ ภัทราจิตร แสงสว่าง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - บุคลากร หรือสมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้ความรู้ด้านการบริหารจัดการหนี้ รวมถึงคณะกรรมการกองทุนสามารถนำรายงานทางการเงินมาใช้ในการบริหารจัดการ และการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ - งบการเงินกองทุนหมู่บ้านมีการสอบทานโดยนักศึกษาสาขาการสอบบัญชี ซึ่งทำให้งบการเงินมีความรัดกุมมากขึ้น
ด้านสังคม : - ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และได้รับความรู้เพิ่มขึ้นทำให้สามารถนำไปใช้ในหนี้ครัวเรือนได้ - อาจารย์สามารถบูรณาการโครงการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน โดยการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจสอบงบการเงินและการบริหารติดตามลูกหนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
บุคลากรกองทุนสามารถจัดทำรายงานทางการเงินเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การควบคุมและการตรวจสอบภายใน และรายวิชาสัมมนาการสอบบัญชี
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต และบริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน บทที่ 4 การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการหนี้ ในรายวิชาการควบคุมและการตรวจสอบภายใน บทที่ 4-5 การตรวจสอบรายได้ค่าใช้จ่าย ในรายวิชาสัมมนาการสอบบัญชี
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาสามารถนำหลักการมาวิเคราะห์ปัญหา กับสถาณการ์จริง และสามารถตรวจสอบงบการเงินกองทุนฯ ได้อย่างน้อย 3 หมู่บ้าน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,384.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 13,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 800.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 5,184.00 บาท )
1) ค่าทำการนอกเวลา (เสาร์-อาทิตย์)จำนวน 4 คน x จำนวน 14 ชม. x จำนวน 60.00 บาท/ชม.
=
3,360.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงานปฏิบัติงานนอกราชการจำนวน 1 คน x จำนวน 48 ชม. x จำนวน 38.00 บาท/ชม.
=
1,824.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 38,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 2,300.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 2,300.00 บาท
=
2,300.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 3,316.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,400.00 บาท )
1) ปากกาน้ำเงิน
100 x 4 บาท
=
400 บาท
2) สมุดโน้ต
20 x 100 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 916.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ไวนิล ป้ายผ้า)
1 x 916 บาท
=
916 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 60,000.00 บาท