แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสู่สหกิจศึกษาในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ประสบการณ์ : สอน วิจัย บริการวิชาการ งานบริหาร: รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาหลักสูตร รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ วิจัย และบริการวิชาการ (ปัจจุบัน)
ความเชี่ยวชาญ : HRM, HRD, HR, Recruitment & Selection Organization Management Operation Management Public Service Motivation
หัวหน้าโครงการ
ดร.อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าสาขารัฐประศาสนศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานภาครัฐ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวรจนา คำดีเกิด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : การปกครองท้องถิ่น
ผู้ร่วมโครงการ
นายประเทือง ม่วงอ่อน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Doctor of Public Administration Program สาขาวิชาPublic Policy The National Institute of Development Administration (NIDA)
ประสบการณ์ : ประสบการณ์: สอน วิจัย งานบริหาร : รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ปี 2549 – 2550 • รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ปี 2550 – 2551 • รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ปี 2551 – 2552 • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ เดือนเมษายน 2558-ปัจจุบัน • ผู้อานวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น ม.อุบลฯ (โครงการพิเศษ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย) (ปี 2549 – 2552) • เลขานุการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยอุบลราธานี(ปี 2549 – 2551)
ความเชี่ยวชาญ : นโยบายสาธารณะ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.เฉลิมศรี ฤทธาภัย คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นายกรุงไท นพรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : "public policy public administration "
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวดารุณี พุ่มแก้ว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิสมัย ศรีเนตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 โครงการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนและสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
แนวทางการพัฒนา ตามร่างกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 นั้น ได้ระบุเรื่องหลักที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศเอาไว้เบื้องต้น เผยแพร่ ณ เดือนกันยายน 2558 อาทิ ข้อ 2.การพัฒนาเศรษฐกิจรายสาขา มุ่งส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภาพแรงงาน ยกระดับคุณภาพแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ การปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมและบริการ ข้อ 4.การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วยการพัฒนาคนในทุกช่วงทุกวัยให้สนับสนุนการเติบโตของประเทศ ยกระดับคุณภาพการศึกษา (คมชัดลึก. 15 กันยายน 2558) ซึ่งแนวนโยบายของแผนชาติดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติ ในยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง (Growth & Competitiveness) ประเด็นหลักที่ 7 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ที่ 2 : การลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Growth) ประเด็นหลักที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และประเด็นหลักเรื่องแรงงาน รวมทั้งสอคล้องกับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ในนโยบายที่ 4. ทวิภาคี (สหกิจศึกษา (Work Integrated learning :WIL)) โดยหลักการคือ ต้องการสร้างความเข้าใจระหว่างสถาบันการศึกษา และสถานประกอบการ และทำความร่วมมือกันในแง่การให้โอกาสนักศึกษาที่ใกล้จะจบการศึกษาได้มีพื้นที่ในการฝึกภาคปฎิบัติทางอาชีพ เพื่อให้เป็นคนเก่งคิด เก่งเรียนรู้ และเก่งปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพบัณฑิตไทยที่ผ่านมา ซึ่งสถานประกอบการมักให้ความเห็นถึงบัณฑิตจบใหม่ว่าอ่อนประสบการณ์ ไม่เก่งงานเหมือนผู้ที่จบสายอาชีวะมาโดยตรง แต่กลับเรียกค่าแรงสูง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่เติบโตมาในระยะเวลาหลายสิบปี เคียงคู่กับชุมชนท้องถิ่น ด้วยอาณาบริเวณของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งติดกับชายแดน การทำมาค้าขายค่อนข้างเจริญเติบโต การกำเนิดขึ้นของธุรกิจใหญ่ในจังหวัด อาทิ ธุรกิจการเกษตร โรงสี บริษัทผลิตและชำแหละสัตว์ปีก บริษัทผลิตพลังงานทางเลือก ฯลฯ ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างมากเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือสถาบันการศึกษาที่จัดทำหลักสูตรหรือมีนโยบายสหกิจศึกษาในระดับอุดมศึกษา ดังนั้น การสร้างความเข้าใจระหว่างสถานประกอบการทั้งเอกชนและภาครัฐ กับสถาบันการศึกษา นำโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นทางยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาแรงงานได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หากการดำเนินโครงการนี้สำเร็จลุล่วงในปีแรก หวังใจว่าในปีถัดไปจะขยายผลนำไปสู่การแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือระดับจังหวัด ภาค และระดับประเทศลุ่มน้ำโขงต่อไป เนื่องจากแนวนโยบายการเปิดเสรีเรื่องแรงงาน จะทำให้การแลกเปลี่ยนทางด้านแรงงานใน 8 กลุ่มอาชีพเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น ประเทศไทยควรพร้อมตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายไปมากกว่านี้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสู่ระบบการทำงานและได้รับประสบการณ์ด้านวิชาการ วิชาชีพ
2.เพื่อให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชน และภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือ 4 ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 275 คน 2 สถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง 3 อาจารย์และบุคลากรในทีมโครงการ ตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี 20 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษา ให้แก่นักศึกษา สถานประกอบการภาคเอกชน และภาครัฐ และสถาบันการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะทำงาน กำหนดวันและแนวทางการดำเนินงาน -- --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ - --- --- --- 10,000.00
3.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษา ให้แก่ นักศึกษา สถานประกอบการภาคเอกชน และภาครัฐ สถาบันการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี --- --- --- 90,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 273 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 มีนาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.00 สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษา ให้แก่นักศึกษาสถานประกอบการภาคเอกชน และภาครัฐ สถาบัน -

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.นักศึกษาได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการ 2. เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักศึกษา สถานประกอบการและสถาบันการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสหกิจศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
75
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1.ค่าใช้จ่ายในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสหกิจศึกษา ตามประมาณการงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 2. จำนวนสถานประกอบการภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เทคนิคการบริหาร และค้นคว้าอิสระและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
หลักสูตร รัฐประศาสนสาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ระดมสมอง และสะท้อนปัญหา และนวทางปรับปรุงเพื่อวางแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 68,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 800.00 บาท
=
2,400.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 21,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 300 คน
=
21,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 45,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 300 คน
=
45,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
1 x 800 บาท
=
800 บาท
2) ค่า POP UP
1 x 2,200 บาท
=
2,200 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) หมึกปริ้นเตอร์
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท