แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน : การจัดการความรู้และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศจีน
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ชิดหทัย ปุยะติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน
หัวหน้าโครงการ
นางสาวประภาพร แก้วอมตวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการ 1.การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง:การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อมัลติมีเดีย 2.การจัดทำสารานุกรมศาสนสถานจีนในภาคอีสานตอนล่าง 3.การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ 4.การจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสานจีน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษา วัฒนธรรมจีน
ผู้ร่วมโครงการ
นายเมชฌ สอดส่องกฤษ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์จีน
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิจัย ปี งบประมาณ 2552 ถึง ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
นับตั้งแต่ปี เมื่อปี พ.ศ. 2555 หลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนมาตลอด และมีผลผลิตทางวิชาการออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ปี 2555 หนังสือเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เรื่อง “สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน” ปี 2556 นิทรรศการกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี 2557 งานวิจัยเรื่อง การศึกษาทางภาษาศาสตร์ แขนงจ้วง – ไต ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี 2558 งานวิจัยเรื่อง การศึกษาทางภาษาศาสตร์ แขนงต้ง-สุ่ย ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี 2558 งานทำนุ เรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลทางภาษาเพื่อการศึกษาวิจัยทางภาษาศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ในประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม ในจำนวนนี้มีชนกลุ่มน้อยอยู่ 10 กลุ่มที่พูดภาษาที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท คือ 1.ชนกลุ่มน้อยเผ่าปู้อี 2.ชนกลุ่มน้อยเผ่าไต 3.ชนกลุ่มน้อยเผ่าจ้วง 4.ชนกลุ่มน้อยเผ่าต้ง 5.ชนกลุ่มน้อยเผ่ามู่หล่าว 6.ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหมาหนาน 7.ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหมาหนาน(หยางหวง) 8.ชนกลุ่มน้อยสุ่ย 9.ชนกลุ่มน้อยเผ่าหลี และ 10.ชนกลุ่มน้อยเผ่าเกอลาว ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน ในหนังสือชื่อ “สังเขปภาษาต้ง - ไถ” (侗台语族概论Dònɡ Tái yǔzú Gàilùn) ของผู้เขียนชื่อ เหลียงหมิ่น และ จางจวินหรู (梁敏,张均如Liánɡ Mǐn,Zhānɡ Jūnrú: 1996) จัดภาษา “ไท” ไว้ในภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (汉藏语系 Hàn Zànɡ yǔxì) โดยมีสาขาและแขนงย่อยคือ สาขาภาษาจ้วง-ต้ง มีแขนงภาษาจ้วง-ไต ต้ง-สุ่ย และหลี ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ มีดังนี้ สาขาจ้วง – ต้ง แขนง จ้วง – ไต ปู้อี มีถิ่นฐานอยู่ที่มณฑลกุ้ยโจว ยูนนาน และเสฉวน เรียกตัวเองว่า /pu4ʔjui4/ มีจำนวนประชากร 2,971,460 คน ไต มีถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณเขตร้อนที่ราบหุบเขาในมณฑลยูนนาน เรียกตัวเองว่า /tai2 / มีจำนวนประชากร 1,158,989 คน จ้วง มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกว่างซี มณฑลยูนนาน และมีส่วนน้อยกระจายอยู่ในบริเวณต่างๆของมณฑลกว่างตง หูหนาน กุ้ยโจว และเสฉวน เรียกตัวเองว่า /pou4 u6/ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นราว 16 ล้านคน แขนง ต้ง-สุ่ย ต้ง มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว หูหนาน และกว่างซี เรียกตัวเองว่า /kam1/ มีประชากรทั้งสิ้น 2,960,293 คน มู่หล่าว มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกว่างซี เรียกตัวเองว่า /mu6 lam1/ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 207,352 คน เหมาหนาน มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกว่างซี เรียกตัวเองว่า /ai1 na:n6/ มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้นราว 1 แสนคน สุ่ย มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว และมีส่วนน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ในตำบลต่างๆของมณฑลกว่างซี เรียกตัวเองว่า /ai3 sui3/ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 406,902 คน หยางหวง (เท็น) มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว เรียกตัวเองว่า /ai11 thən35/ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 29,930 คน เนื่องจากมีจำนวนประชากรไม่มาก และอยู่ร่วมกันกับชาวเหมาหนาน เพื่อความเป็นระเบียบในการจัดการปกครอง ในปี ค.ศ. 1990 รัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวจึงมีประกาศให้ชาวหยางหวง เป็นชนเผ่าเดียวกันกับชาวเหมาหนาน เรียกชื่อว่า “เหมาหนานหยางหวง” แต่ในประเด็นทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ รวมทั้งตัวเจ้าของกลุ่มชาติพันธุ์เองก็มีข้อบ่งชี้ว่าชาวหยางหวงเป็นคนละกลุ่มกันกับชาวเหมาหนาน แขนง หลี หลี มีถิ่นฐานอยู่ตามเชิงเขา บริเวณตอนใต้ของมณฑลห่ายหนาน มีจำนวนประชากร 1,247,814 คน เรียกตัวเองว่า /ɬai1/ (แขนง เกอลาว ?) ภาษา เกอลาว มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว เรียกตัวเองว่า /klau55/ มีจำนวนประชากรราว 2 หมื่นคน เนื่องจากมีระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาเหมียวและเหยา แต่ระบบไวยากรณ์ใกล้ชิดกับภาษาจ้วงและภาษาปู้อี ในขณะที่มีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันกับภาษาในสาขาจ้วง-ต้ง ทั้งแขนงจ้วง–ไตและแขนงต้ง-สุ่ยจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันกับภาษาในสาขาเหมียว-เหยาด้วย เพียงแต่ว่ามีปริมาณน้อยกว่า นักภาษาศาสตร์จีนจึงมีแนวโน้มเป็นที่แน่นอนว่าจัดไว้ในตระกูลจีน-ทิเบต เพียงแต่ยังเป็นข้อกังขาว่าจะจัดไว้ในสาขาเหมียว–เหยา หรือสาขาจ้วง–ต้ง และก็ยิ่งไปกว่านั้น หากจัดไว้ในสาขาจ้วง-ต้ง ควรจะจัดเข้าเป็นสมาชิกในแขนงใด หรือว่าจะแยกออกมาเป็นแขนงใหม่ต่างหาก ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ในที่นี้จึงจะใส่เครื่องหมาย “?” ไว้ข้างท้ายชื่อแขนงเกอลาว จากการสำรวจข้อมูลในประเทศไทยจะเห็นว่าข้อมูลการศึกษาภาษาตระกูลไทในประเทศไทยทั้ง มีอยู่บ้างแล้ว ส่วนใหญ่เป็นงานด้านพจนานุกรม แต่ผลงานการพรรณนาภาษายังมีน้อยมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้สาเหตุหลักมาจากผู้วิจัยไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอในการศึกษา เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีบรรพบุรุษและต้นตอภาษาอยู่ในประเทศจีน เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาษาทั้งสามล้วนเขียนเป็นภาษาจีน ผู้วิจัยชาวไทยที่ไม่รู้ภาษาจีนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ การทำงานครั้งนี้ เป็นการจัดการความ โดยจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลงานและทรรศนะของนักวิชาการจีน นำเสนอการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์อย่างละเอียด ได้แก่ แนวคิดการจัดแบ่งตระกูลภาษา ระบบเสียง การสร้างคำ วงคำศัพท์ ระบบไวยากรณ์ ภาษาถิ่น และรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐาน ระบบเศรษฐกิจสังคม ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศสาธารณรับประชาชนจีน จัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ และจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการทางภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศจีนสู่ประชาชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดการความรู้เรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไทในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดพิมพ์เป็นรุปเล่มหนังสือ “นานาภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน : กลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท”
2.จัดนิทรรศการและการเผยแพร่ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศจีนสู่ประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศจีนสู่ประชาชน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การเก็บข้อมูล --- --- 50,000.00
2.การเรียบเรียง จัดพิมพ์ และเผยแพร่ --- --- 50,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 จัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการทางภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศจีนสู่ประชาชน คณาจารย์หลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : วงวิชาการประเทศไทยมีองค์ความรู้ด้านภาษาตระกูลไทในประเทศจีนที่สมบูรณ์
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : วงวิชาการประเทศไทยมีองค์ความรู้ด้านภาษาตระกูลไทในประเทศจีนที่สมบูรณ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
5000
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาปริทรรศน์ภาษาในประเทศลุ่มน้ำโขง
หลักสูตร ลุ่มน้ำโขงศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน เป็นเนื้อหาหลักที่สอนในวิชาปริทรรศน์ภาษาในประเทศลุ่มน้ำโขง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาจัดและนำเสนอนิทรรศการภาษาตระกูลไท
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 25,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญชาวจีนด้านการแปลและประเมินความถูกต้องทางวิชาการจำนวน 2 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 10,000.00 บาท/ชม.
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 75,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 75,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลเอกสารภาษาจีนในประเทศจีน จำนวน 1 ครั้ง
=
19,300.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาพิมพ์เอกสารภาษาต่างประเทศ จำนวน 2 คน คนละ 8200บาท 1 ครั้ง
=
16,400.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาพิสูจน์อักษรภาษาไทยและจีน 2คน คนละ 10000 จำนวน 1 ครั้ง
=
20,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาพิมพ์หนังสือ 250 บาท * 20 เล่ม
=
5,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมา จนท.ดูแลระบบคอมพวเตอร์และโปรแกรมการพิมพ์อักษรภาษาต่างประเทศ
=
14,300.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท