แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนและสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวพิสมัย ศรีเนตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 โครงการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนและสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ
นางสาวกิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองภาคประชาชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเพียงกมล มานะรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การปกครอง
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองท้องถิ่น และ นโยบายสาธารณะ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปิยะมาศ ทัพมงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จังหวัดอุบลราชธานี ได้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง ทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง ในกรณีภัยพิบัติน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่หลายครั้งคือใน ปี พ.ศ.2521, 2545 ทำให้เกิดการตื่นตัวของทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยน้ำท่วม โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2554 จังหวัดอุบลราชธานีได้เผชิญกับภัยน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในวงกว้างและเป็นระยะเวลานาน แม้จะมีระบบการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมของหน่วยงานด้านการเตือนภัยให้ทราบเป็นระยะ แต่พบว่ามีข้อจำกัดและข้อมูลเหล่านี้เข้าไม่ถึงประชาชนทุกกลุ่ม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาของชุมชน และได้มีการวิจัยและการพัฒนาความรู้ด้านภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2543 และหลังจากภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่จังหวัดอุบลราชธานีปี 2554 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ชุดภัยพิบัติ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการการปรับตัวของเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก กรณีศึกษา: บ้านท่างอย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โครงการระบบและกลไกในการจัดการสุขภาวะของชุมชนกับภัยน้ำท่วมในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพไทย ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โครงการการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมของเทศบาลเมืองวารินชำราบโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง กรณีศึกษา ชุมชน ๑๔ ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม โครงการการพัฒนาศักยภาพในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชุมชนบ้านช่างหม้อ ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และโครงการรูปแบบการบริหารจัดการภัยน้ำท่วม โดยชุมชน บ้านหาดสวนยา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจากการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า หลักการที่สำคัญที่สุดในการจัดการภัยพิบัติ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายใต้การบริหารจัดการที่ดี ทั้งภาครัฐ (public sector) ภาคธุรกิจเอกชน (private sector) และภาคประชาสังคม (civil society) โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต การจัดทำแผนป้องกันและจัดการบนพื้นฐานของเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา ทั้งนี้ การคาดหวังว่ารัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือตนอย่างทันท่วงทีขณะเกิดภัยพิบัตินั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ชุมชนและประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมและการปฏิบัติตัวระหว่างเกิดภัยพิบัติ ในปี 2559 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้ดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ และการเตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดภัยพิบัติ เพื่อลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยมีการฝึกอบรมให้ความรู้การจัดการภัยพิบัติโดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งเชิงวิชาการด้านการจัดการภัยพิบัติและการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นการพัฒนาศักยภาพประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการเตรียมพร้อมและการจัดการภัยพิบัติให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้ดำเนินการเพื่อต่อยอดโครงการดังกล่าวในปีพ.ศ.2560

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติระหว่างอาสาสมัคร ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคีเครือข่ายจากภายนอก
2.เพื่อขยายและเพิ่มขีดความสามารถให้กับเครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติในการเตรียมความพร้อม การรับมือและการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
อาสาสมัคร แกนนำชุมชน คณะกรรมการชุมชน และประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติ และนักวิชาการที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ 3.ถอดบทเรียนกลไกการทำงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน และกำหนดหลักสูตรการพัฒนาขีดความสามารถชุมชนและเครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติ - --- --- --- 38,100.00
2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพของชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ -- --- --- --- 51,120.00
3.เวทีคืนข้อมูล --- -- --- --- 34,300.00
4.เวทีเก็บข้อมูล -การจัดทำชุดความรู้/ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี --- --- -- --- 54,200.00
5.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติระหว่างชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ จังหวัดอุบลราชธานี --- --- -- --- 74,900.00
6.ถอดบทเรียนกลไกการทำงานเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ/จัดทำแผนปฏิบัติการการดำเนินเครือข่าย --- --- -- --- 117,380.00
7.จัดทำรายงานผลโครงการและเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.00-16.30 น. ประชุมกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน และกำหนดหลักสูตรการพัฒนาขีดความสามารถชุมชนและเครือข่ายชุมชนจัดการภั ภายนอกและภายใน
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.30 น. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพของชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ ภายนอกและภายใน
13 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00-15.00 น. เวทีคืนข้อมูล ภายนอกและภายใน
7 เมษายน พ.ศ. 2560
09.00-12.00 น. เวทีเก็บข้อมูล -การจัดทำชุดความรู้/ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลรา ภายนอก
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติระหว่างชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ จังหวัด ภายนอกและภายใน
9 มิถุนายน พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. ถอดบทเรียนกลไกการทำงานเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ/จัดทำแผนปฏิบัติการการดำเนินเครือข่าย ภายนอกและภายใน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ได้กลไกขับเคลื่อนเครือข่ายจัดการภัยพิบัติระหว่างชุมชน (ได้แผนการทำงานร่วมกัน มีผู้ประสานในชุมชนและระหว่างชุมชน แนวทางประสานความร่วมมือ ช่องทางการสื่อสารและข้อมูลประสานการทำงานร่วมกัน) 2.เครือข่ายชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเตรียมรับมือและจัดการภัยพิบัติ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ได้เครื่องมือและสิ่งสนับสนุนที่จะทำให้ชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการภัยพิบัติชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นเช่น 1.ชุมชนได้แผนที่ชุมชน แผนที่ความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเตรียมรับมือและจัดการภัยพิบัติ 2.ชุมชนมีการรวมกลุ่มอาชีพ/มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างชุมชน 3.ชุดความรู้/ประสบการณ์ชุมชนเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ 4. ข้อมูลบนเว็บไซต์มีความเป็นปัจจุบัน และมีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจำเป็นเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ 5.ชุมชนและผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ง่าย 6.ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างน้อยร้อยละ 70

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวางแผนและการบริหารโครงการส่วนท้องถิ่น
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติและบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ • นักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่กำหนด • นักศึกษานำข้อมูลจากพื้นที่มาระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา นำมาจัดทำข้อเสนอโครงการที่ตอบสนองปัญหา/พัฒนาชุมชนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือการศึกษาเป็นฐาน • นักศึกษานำข้อมูลมานำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน • รายงานชุดความรู้/ประสบการณ์ด้านการจัดการภัยพิบัติ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 54,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 54,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 30,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,800.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
900.00 บาท
6) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 281,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 51,400.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 4 คน x ครั้งละ 1,250.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
5) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 900.00 บาท
=
4,500.00 บาท
6) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 28,900.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 900.00 บาท
=
900.00 บาท
2) จำนวน 1 คืน x จำนวน 28 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
28,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 29,320.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
3,900.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
4,900.00 บาท
4) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,000.00 บาท
5) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 56 คน
=
6,720.00 บาท
6) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 75,460.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
12,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
4,200.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท
5) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 230.00 บาท x จำนวน 56 คน
=
25,760.00 บาท
6) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 250.00 บาท x จำนวน 56 คน
=
14,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 21,600.00 บาท )
- จำนวน 4 คัน x จำนวน 1800 วัน x ราคา 3 บาท/คัน/วัน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 104,020.00 บาท )
1) ค่าจ้างทำเสาวัดระดับน้ำ
=
3,260.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการ
=
20,000.00 บาท
3) ค่าเช่าห้องประชุม
=
6,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผนที่ชุมชน
=
3,260.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมารถตู้ไม่รวมน้ำมัน (3วัน*5คัน*1,800บาท)
=
27,000.00 บาท
6) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า (5คัน*คันละ500บาท)
=
2,500.00 บาท
7) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า (5คัน*คันละ500บาท)
=
2,500.00 บาท
8) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า(5คัน*คันละ 500 บาท)
=
2,500.00 บาท
9) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า (4คัน*คันละ500บาท)
=
2,000.00 บาท
10) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า (4คัน*คันละ1,250บาท)
=
5,000.00 บาท
11) ค่าจ้างจัดพิมพ์เอกสารชุดความรู้
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 33,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,700.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 10,700 บาท
=
10,700 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,600.00 บาท )
1) วัสดุประชาสัมพันธ์
4 x 900 บาท
=
3,600 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 4,800.00 บาท )
1) หมึกปริ้นเตอร์
2 x 2,400 บาท
=
4,800 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 14,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
14,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 370,000.00 บาท