แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสมุนไพร ครั้งที่ 2 (The 2nd International Conference on Herbal and Traditional Medicine)
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เภสัชศาสตร์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีทรัพยากรด้านสมุนไพรมากที่สุดแหล่งหนึ่งทั้งในด้านของปริมาณและความหลากหลายของสายพันธุ์ ในขณะที่การวิจัยด้านสมุนไพรแบบครบวงจรในประเทศไทยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ การจัดประชุมวิชาการเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และความก้าวหน้าด้านสมุนไพรระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง นำไปสู่การผลิตผลงานและผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีการจัดอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเรื่องการใช้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ และเครื่องสำอาง แต่ยังไม่มีการจัดประชุมที่มุ่งเน้นเฉพาะการใช้เป็นยาโดยตรง ซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาสมุนไพรเดี่ยวและในรูปแบบตำรับ ในตำรายาจากภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน คณะเภสัชศาสตร์ ทั้ง 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีแนวคิดร่วมกันเพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการวิจัยสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นยามากขึ้น จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการนานาชาติที่เน้นการพัฒนาสมุนไพรเป็นยาและการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยพืชสมุนไพร บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศิษย์เก่า นิสิตนักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งในด้านวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการสร้างเสริมองค์ความรู้ทางสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นอันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนในอนาคต การจัดประชุมวิชาการในครั้งที่ 1 ในวันที่ 28-30 มกราคม พ.ศ. 2558 ณ โรงแรมพูลแมน ราชาออร์คิด จังหวัดขอนแก่น ได้รับความสนใจจากบุคลากรด้านสุขภาพทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และงานวิจัยเป็นจำนวนถึง 228 คน โดยมีชาวต่างชาติเข้าร่วม 72 คน มีการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์พื้นบ้านจำนวน 82 เรื่อง และมีคะแนนการประเมินทั้งประเด็นภาพรวมการจัดงานและประโยชน์ที่ได้รับเท่ากับ 4.24 ± 0.48 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน นับได้ว่าการจัดประชุมในครั้งแรกนั้นได้รับความสนใจ มีผู้เข้าร่วม และคะแนนประเมินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นเจ้าภาพหลักจากคณะเภสัชศาสตร์ทั้ง 4 สถาบัน จึงมีได้จัดให้มีการประชุมวิชาการเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2560 โดยมีชื่อหัวข้อในการจัดประชุมว่า Value-Added of Herbs and Phytotherapy: Challenges for The 21st Century เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์พื้นบ้านต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาพื้นบ้าน บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศิษย์เก่า นิสิตนักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งในด้านวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการสร้างเสริมองค์ความรู้ทางสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย
2.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ติดตามด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต แก่เภสัชกร นักวิจัย ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ
3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการสำหรับคณะเภสัชศาสตร์ นักวิจัย ศิษย์เก่า บุคลากรทางสาธารณสุข และผู้ประกอบการ เป็นผลให้เกิดการประสานงานกิจกรรมเชิงวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง เช่น การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเฉพาะทางด้านการผลิตและพัฒนาสมุนไพรของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น
4.เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและบทบาทของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
• เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ • อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา • ศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
160 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
• บรรยายทางวิชาการ/อภิปราย/ซักถาม • การนำเสนอผลงานวิจัยและด้านวิชาการด้านการพัฒนายาจากสมุนไพรในรูปแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านสมุนไพรจากภูมิปัญญาไทย • กิจกรรมประชุมวางแผนงานโครงการจัดตั้งสมาคมเภสัชเวทแห่งประเทศไทย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อระดมความคิดในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม 3.กำหนดหัวข้อบรรยายทางวิชาการและประสานงานกั --- --- --- 10,000.00
2.จัดพิมพ์สื่อต่างๆ และรูปเล่มเอกสารประกอบการบรรยายทางวิชาการ และบทคัดย่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ - --- --- --- 0.00
3.ประสานงานเรื่องสถานที่จัดกิจกรรมและการเดินทางของวิทยากร -- --- --- --- 0.00
4.จัดประชุมวิชาการ ระยะเวลา 3 วัน --- -- --- --- 80,000.00
5.ประเมินผลการดำเนินงาน --- -- --- --- 0.00
6.สรุปผลการดำเนินงาน --- -- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 290 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 มกราคม พ.ศ. 2560
08.00-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ
25 มกราคม พ.ศ. 2560
14.15-16.45น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
25 มกราคม พ.ศ. 2560
14.00-14.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 มกราคม พ.ศ. 2560
13.30-14.00 น. Invite speaker 4 รศ.ดร. กรกนก อิงคนินันท์
25 มกราคม พ.ศ. 2560
13.00-13.30 น. Invite speaker 3 ผศ.ดร. ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ
25 มกราคม พ.ศ. 2560
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
25 มกราคม พ.ศ. 2560
11.30-12.00 น. Invite speaker 2 รศ.ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
25 มกราคม พ.ศ. 2560
11.00-11.30 น. Invite speaker 1 (อยู่ระหว่างการพิจารณาทาบทาม)
25 มกราคม พ.ศ. 2560
10.30-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 มกราคม พ.ศ. 2560
09.30-10.30 น. Plenary lecture 1 Prof. Dr. Robert Verpoote, University of Leiden, Netherland
25 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00-09.30 น. พิธีเปิดการประชุมวิชาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน
26 มกราคม พ.ศ. 2560
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
26 มกราคม พ.ศ. 2560
15.30-15.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 มกราคม พ.ศ. 2560
15.45-16.45 น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบโปสเตอร์
26 มกราคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ
26 มกราคม พ.ศ. 2560
13.00-15.30 น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
26 มกราคม พ.ศ. 2560
11.30-12.00 น. Invite speaker 7 ศ. ดร. ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย
26 มกราคม พ.ศ. 2560
11.00-11.30 น. Invite speaker 6 ดร. สุภาพร ปิติพร
26 มกราคม พ.ศ. 2560
10.30-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 มกราคม พ.ศ. 2560
10.00-10.30 น. Invite speaker 5 Prof. Dr. Ichibashi, Japan
26 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00-10.00 น. Plenary lecture 2 Prof. Dr. Bharat B. Aggarwal, University of Texas, USA
27 มกราคม พ.ศ. 2560
15.00-15.30 น. พิธีมอบรางวัลและของที่ระลึก แก่ผู้ที่นำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ และพิธีปิดการอบรม
27 มกราคม พ.ศ. 2560
14.45-15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
27 มกราคม พ.ศ. 2560
14.15-14.45 น. Invite speaker 10 Prof. Dr. Komatsu, Japan
27 มกราคม พ.ศ. 2560
13.45-14.15 น. Invite speaker 9 รศ.ดร.ศุภนิมิต ทีฆชุณหเถียร
27 มกราคม พ.ศ. 2560
13.15-13.45 น. Invite speaker 8 (แพทย์จาก ร.พ. จันทบุรี)
27 มกราคม พ.ศ. 2560
12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
27 มกราคม พ.ศ. 2560
11.00-12.15 น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
27 มกราคม พ.ศ. 2560
10.45-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
27 มกราคม พ.ศ. 2560
09.30-10.45 น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
27 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00-09.30 น. Invite speaker 8 Prof. Dr. Janthra, Japan
27 มกราคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. นักวิจัย และผู้เข้าร่วมประชุม ได้รับองค์ความรู้ใหม่ และทันสมัย ในด้านการวิจัยและการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายาจากสมุนไพร เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น 2. ผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และประสบการณ์จากการทำงานทางด้านการวิจัยและการเรียนการสอนร่วมกันและเกิด การต่อยอดพัฒนาความรู้ใหม่จากองค์ความรู้ดั้งเดิม รวมถึงเพิ่มศักยภาพการให้บริการแก่ประชาชน 3. เกิดเครือข่ายทางวิชาการของคณะเภสัชศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และต่างประเทศ 4. ผู้เข้าประชุมได้เผยแพร่ผลงานวิจัยทางการพัฒนายาจากสมุนไพร 5. การประสานงานกิจกรรมเชิงวิชาชีพเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ เช่น การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
160
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
87
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
87
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สารนิพนธ์
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 5
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การเข้าร่วมนำเสนอผลงานของนักศึกษาสารนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสมุนไพร
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) - ค่าตอบแทนเงินรางวัลการนำเสนอแบบปากเปล่าและ/หรือโปสเตอร์จำนวน 10 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 1,000.00 บาท/ชม.
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 60,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 48,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 10 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
48,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) สื่อประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการ
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 90,000.00 บาท