แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมความรู้และการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2560 1. โครงการการส่งเสริมความรู้และการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง 2. โครงการวันรัฐธรรมนูญกับสังคมการเมืองไทย
ความเชี่ยวชาญ : รัฐศาสตร์
หัวหน้าโครงการ
นางสาวเพียงกมล มานะรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การปกครอง
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองท้องถิ่น และ นโยบายสาธารณะ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปิยะมาศ ทัพมงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวกิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองภาคประชาชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิสมัย ศรีเนตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
พลวัตของการพัฒนาประเทศในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 พ.ศ. 2501 การมุ่งพัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรมและการบริการ ได้นำไปสู่ประเด็นปัญหาที่สำคัญสำหรับประชาชนทั่วไปทั้งผู้อยู่อาศัยในเมืองและในชนบท ปัญหาการยื้อแย่งที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของผู้ที่อาศัยและทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ของเมืองและชนบท อันเนื่องมาจากการพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้ภาคเกษตรกรรมประสบปัญหามูลค่าผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าต่ำ แม้ว่าประชากรมากกว่าร้อยละ 70 จะอยู่ในภาคการเกษตรแต่ผลผลิตมวลรวม (GDP) ไม่ถึงร้อยละ 10 (เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป,2013. ออนไลน์) ปัญหาการผลิตทำให้เกษตรกรบางส่วนขายที่ดินทำกินเพราะขาดทุนด้านการผลิตและภาวะหนี้สิน กลายเป็นคนไร้ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ต้องละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมและมุ่งเข้าสู่การเป็นแรงงานในเมือง ขาดความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ขณะที่ปัญหาที่ดินในภาคชนบทที่เชื่อมโยงกับปัญหาที่ดินในเขตเมือง กระบวนการพัฒนาเมือง การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมือง ทำให้กลุ่มชนชั้นนำและกลุ่มทุนผู้มีทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่เหนือกว่าเข้ายึดครองพื้นที่เมือง ด้วยการ ช่วงชิงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินทั้งที่เป็นที่ดินเอกชนและที่ดินสาธารณะของชุมชน ทั้งด้วยวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อการเก็งกำไรและเพื่อการประกอบกิจการเพื่อรองรับเมือง ขณะที่แรงงานจากชนบทที่อพยพเข้ามาเมืองก็มากระจุกตัวเป็นแรงงานในภาคเมืองโดยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพราะที่ดินมีราคาแพง ขณะที่การขยายตัวของหน่วยงานราชการเพื่อรองรับการให้บริการสาธารณะของเมือง ส่งผลต่อข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานรัฐกับชุมชน ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐ จึงเกิดสภาพเมืองที่ขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง แม้รัฐจะมีมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามผังเมือง แต่พลังการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวในเมืองทำให้การวางผังเมืองไร้ผล ในปัจจุบันปัญหาของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากที่ดินกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ ที่ดูเหมือนจะหาทางแก้ไขได้อย่างยากลำบาก ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่ดินจึงกลายเป็นฐานปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ขณะที่รัฐเองก็ส่งเสริมการส่งเสริมการผลิตด้านเกษตรกรรรม ด้วยสภาพปัญหาและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำให้ชุมชนต้องตกเป็นเหยื่อของการพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการที่ดินจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของแนวทางการพัฒนาประเทศ อิทธิพลนักการเมืองและและนายทุน ซึ่งทำให้ชุมชนต้องกลายเป็นผู้รับผลกระทบถูกขับไล่จากพื้นที่และการใช้ประโยชน์ไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ศูนย์กลางของการออกแบบการจัดการที่ดินจึงอยู่ที่รัฐส่วนกลางและอิทธิพลของทุนมากกว่าชุมชน แม้ว่ารัฐจะพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาการยื้อแย่งและการเหลื่อมล้ำในการถือครองและเข้าถึงที่ดิน แต่แนวทางที่กำหนดจากรัฐเองก็ไม่ได้แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน การขาดการบริหารจัดการอย่างบูรณาการและขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สามารถตอบโจทย์ได้ว่าทำไมการแก้ปัญหาการจัดการที่ดินของรัฐจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกพื้นที่ที่ตกอยู่ในกระแสของความบิดเบี้ยวของการใช้ประโยชน์ของที่ดินสำหรับการพัฒนา ในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) การมุ่งเน้นการเพิ่มการลงทุนหลังจากการก้าวเข้าสู่ยุคประชาธิปไตย แนวทางการพัฒนาที่ถูกกำหนดไว้คือ กระจายความเจริญไปจากกรุงเทพมหานคร โดยการพัฒนาหัวเมืองหลักขึ้นในส่วนภูมิภาค มีการเร่งรัดการจัดทำแผนการใช้ที่ดินบริเวณรอบเมือง จัดทำผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ มีการสร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานของพื้นที่เมือง (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 2520 – 2524, 2558. ออนไลน์ ) ปัจจุบันพื้นที่ตำบลแจระแม นับเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้ประสบกับปัญหาของการบริหารจัดการที่ดิน ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวต้องถูกยื้อแย่งทั้งจากทุนและหน่วยงานราชการสำหรับการสร้างสถานประกอบการ โครงสร้างพื้นฐานและแหล่งราชการ ชุมชนถูกขับไล่ทั้งโดยยินยอมและไม่ยินยอม เพื่อเป็นพื้นที่รองรับ ปัญหาการออกแบบผังเมืองและการประกาศใช้ผังเมืองที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมยิ่งซ้ำเติมปัญหาการบริหารจัดการที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนทั้งในภาคเมืองและภาคชนบทมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยวางรากฐานความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน ขณะที่การสร้างกลไกอย่างเช่นเครือข่ายบริหารจัดการที่ดินในชุมชน เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการอย่างบูรณาการและยั่งยืนเกิดขึ้นได้ เป้าหมายสุดท้ายในการส่งเสริมการบริการวิชาการในครั้งนี้คือ การก่อให้เกิดรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการที่ดินที่อาศัยชุมชนเป็นศูนย์กลางได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการขยายแนวคิดการจัดการที่ดินโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
2.เพื่อให้การจัดการที่ดินของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นการจัดการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการจัดการทิ่ดินร่วมกับองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการที่ดินอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1 ระดับชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน เยาวชน และสมาชิกชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 2 ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ระดับหน่วยงานส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยหน่วยงานที่ดูแลและจัดการเรื่องที่ดิน เช่น สำนักงานที่ดิน กรมที่ดิน กรมเจ้าท่า ฯลฯ 4 อื่นๆ เช่น สื่อมวลชนท้องถิ่น โรงเรียนและสถาบันการศึกษา 5 ชุมชนในตำบลแจระแม อำเภอเมือง,ตำบลโพธิ์ใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.การจัดการอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการที่ดินโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง 2.การเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดตั้งเครือข่ายการบริหารจัดการที่ดินโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมกำหนดหลักสูตรการอบรมการถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการที่ดินสู่ชุมชน และจัดตั้งคณะทำงานในระดับชุมชนและท้องถิ่น - --- --- --- 60,980.00
2.สำรวจสภาพปัญหาการบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย -- --- --- --- 0.00
3.จัดการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของคณะทำงานในระดับชุมชน และถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการที่ดินโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง --- - --- --- 62,900.00
4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และจัดอบรมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการของเครือข่าย เพื่อเตรียมความในการจัดตั้งเครือข่ายการบริหารที่ดิน --- --- - --- 72,620.00
5.ถอดบทเรียนกลไกการทำงานเครือข่ายที่ดิน/จัดทำชุดความรู้ --- --- -- --- 173,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
09.00-16.30 น. ประชุมกำหนดหลักสูตรการอบรมการถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการที่ดินสู่ชุมชน และจัดตั้งคณะทำงานในระดับชุ ภายนอกและภายใน
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. จัดการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของคณะทำงานในระดับชุมชน และถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการที่ดินโดยใช้ชุมชน ภายนอกและภายใน
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และจัดอบรมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการของเครือข่าย เพื่อเตรียมความใ ภายนอกและภายใน
9 มิถุนายน พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. ถอดบทเรียนกลไกการทำงานเครือข่ายที่ดิน/จัดทำชุดความรู้ ภายนอกและภายใน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องจัดการที่ดินโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง 2 ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการที่ดิน 3 เกิดเครือข่ายการบริหารจัดการที่ดินโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของ จังหวัดอุบลราชธานี 4. เกิดระบบกลไกเครื่องมือการมีส่วนร่วม กลไกชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1วิชาการเมืองกับสิ่งแวดล้อม 2.วิชานโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม 3.วิชาการเมืองภาคประชาชน
หลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการที่ดินและบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ • นักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่กำหนด • นักศึกษานำข้อมูลจากพื้นที่มาระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา นำมาจัดทำข้อเสนอโครงการที่ตอบสนองปัญหา/พัฒนาชุมชนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือการศึกษาเป็นฐาน • นักศึกษานำข้อมูลมานำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน • รายงานชุดความรู้/ประสบการณ์ด้านการจัดการที่ดิน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 51,900.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 51,900.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 27,900.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
7,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 285,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 49,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 17,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,500.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 40 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
32,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 29,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
8,400.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
8,000.00 บาท
4) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 93,700.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
12,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 230.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
32,200.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
16,000.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
16,000.00 บาท
5) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 250.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
17,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 113,600.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า
=
16,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมารถตู้ไม่รวมน้ำมัน (3ครั้ง*7คัน*1,800บาท)
=
37,800.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมารถตู้ไม่รวมน้ำมัน (1ครั้ง*6คัน*1,800บาท)
=
10,800.00 บาท
4) ค่าจ้างจัดพิมพ์เอกสารชุดความรู้
=
30,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการ
=
10,000.00 บาท
6) ค่าเช่าห้องประชุม
=
6,000.00 บาท
7) ค่าจ้างถ่ายวิดีโอ
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 32,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 7,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 7,000 บาท
=
7,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,400.00 บาท )
1) ค่า POP UP
2 x 2,000 บาท
=
4,000 บาท
2) ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์
2 x 700 บาท
=
1,400 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 4,800.00 บาท )
1) หมึกปริ้นเตอร์
2 x 2,400 บาท
=
4,800 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 15,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
11,400.00 บาท
2) ค่าอุปกรณ์การอบรม
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 370,000.00 บาท