แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการจัดประชุมวิชาการ 20th World Congress on Clinical Nutrition (WCCN)
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เคมีอาหาร หัวข้อที่สนใจ การใช้ประโยชน์จากโปรตีนพืช; สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.วิริยา พรมกอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ : 1.วิทยากรบรรยายแนวทางกาีรยืดอายุและการเก็บรักษาอาหาร 2.วิทยากรบรรยายการแปรรูปผักผลไม้ 3.วิทยากรบรรยายหลักการแปรรูปอาหาร 4.วิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปมะขามผง
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร, การแปรรูปผักผลไม้, เทคโนโลยีการทำแห้ง, การยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ความเชี่ยวชาญ : บรรจุภัณฑ์อาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.จิตรา สิงห์ทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีอาหาร
ประสบการณ์ : เคมีอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหาร อาหารพื้นบ้านและระบบประกันคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ไฮโดรคอลลอยด์ในอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปัญจภรณ์ ทัดพิชญางกูร พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีการอาหาร
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ผลิตภัณฑ์ประมง คุณสมบัติเชิงหน้าทีี่ของโปรตีน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวชุติมา ทองแก้ว คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววชิราพรรณ บุญญาพุทธิพงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.อภิญญา เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปร.ด.(เทคโนโลยีการอาหาร)
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จินดามณี แสงกาญจนวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D. (Food Science)
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ประยงค์ อุดมวรภัณฑ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D.(Food Science)
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : เทคโนโลยีเนื้อสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์นม
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ฉัตรชยา อ่อนอำไพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food and Nutritional Sciences
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเมทินี มาเวียง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Biotechnology
ประสบการณ์ : การผลิตซอสงปรุงรส "มิริน"จากข้าวไทย การเปลี่ยนแปลงคุณภาพข้าวระหว่างการเก็บรักษาข้าว การผลิตแผ่นเมี่ยง (rice paper) จากข้าวไทย การผลิตข้าวฮางงอกกาบาสูงร่วมกับแบคทีเรียแลคติก การผลิตหัวเชื้อสำหรับผลิตปลาส้ม
ความเชี่ยวชาญ : Rice utilization Applied microbiology Alcoholic beverage Fermented food
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.กฤษณา ศิริพล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปร.ด.(วิศวกรรมอาหาร), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย. 2550.
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจกับสุภาพมากขึ้น ทำให้วัตถุดิบทาการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อร่ากายและอาหารเพื่อสุขภาพมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสุขภาพทางโภชนาการ การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศให้ดีขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและผลิตผลการเกษตรเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ในแต่ละปีมีมูลค่า 385,779.88 ล้านบาท ในปี 2551 (50) (กระทรวงพาณิชย์, 2552) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประมง ข้าวและธัญพืช เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก และเทคโนโลยี ตลอดจนข้อมูลข่าวสาร ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปจะเชื่อมโยงกับตลาดโลกมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป จนถึงการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค ในรูปแบบของธุรกิจการค้ารูปแบบใหม่ (Modern Trade) นั่นคือความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and safety) โดยเฉพาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นเทคโนโลยีการผลิตที่จะต้องมีการพัฒนาให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาสินค้าใหม่ แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารภายในประเทศ (Local standard) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (Global standard) ด้วยความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีทั้งที่ได้รับจากการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทาง โภชนาการ ทางคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ International College of Nutrition (ICN) ประเทศแคนนาดา และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นว่าถ้าได้มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ 20th World Congress on Clinical Nutrition (WCCN) "Traditional Medicine, Functional Food, Nutrition, Natural Health Product and Spiritual Healing: Additional Tools for Healthcare Delivery” ที่ โรงแรม Rama Gardens Hotel กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลและผลการศึกษา ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอาหารอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลทางวิชาการระหว่างนักวิจัย
2.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน สถาบันการศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก และนักวิชาการทั้งคนไทยและต่างประเทศ ที่เข้าร่วมงาน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชุมการร่วมจัดงาน 20th WCCN การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ประเมินโครงการและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.ประชุมการร่วมจัดงาน 20th WCCN - --- --- --- 115,000.00
2.2. การนำเสนอผลงานทางวิชาการในงาน 20th WCCN มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ -- --- --- --- 32,000.00
3.4. ประเมินผลและวิเคราะห์ผลโครงการและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 182 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 การเขียนบทคัดย่อส่งผู้จัด ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และคณะ
17 ตุลาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ประชุมคณะกรรมการจัดงาน ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และคณะ
14 ธันวาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ : การเข้าร่วมการนำเสนอผลงานทางวิชาการ 20th WCCN ทั้งในรูปบรรยายและโปสเตอร์ ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และคณะ
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.00-16.00 ประเมินโครงการและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพของวัตถุดิบการเกษตร และอาหารสุขภาพสามารถแข่งขันในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน
ด้านสังคม : สังคมได้รับความรู้ทางด้านวิชาการในด้านอาหาร สุขภาพและโภชนาการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการด้านเกษตร อาหารและโภชนาการที่ดี กับนักวิชาการทั่วโลก;การเผยแพร่ชื่อเสียง ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาอาจารย์และบุคคลากรทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เข้าร่วมงานทั้งหมด จำนวน 200 คน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
นักศึกษาและบุคลากรในการนำเสนอผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลและผลการศึกษา ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอาหารอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1205 896 วิทยานิพนธ์
หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การฝึกวิธีการค้นคว้า การรวบรวม และการเตรียม นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกวิธีการหรือเทคนิคในการนำเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนผลงานทางวิชาการ และ จำนวน manuscript ตีพิมพ์ลงในวารสาร
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การนำเสนอแก่ผู้ฟังในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกวิธีการหรือเทคนิคในการนำเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาในรูปสื่อภาษาอังกฤษ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 141,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 33,300.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 1,500.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
22,500.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 100,000.00 บาท )
1) ค่าสนับสนุนประมาณในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุมวิชาการ 20th WCCN กับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาส
=
100,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,200.00 บาท )
1) ค่าไวนิล
3 x 200 บาท
=
600 บาท
2) ค่าอุปกรณ์สำนักงาน
1 x 600 บาท
=
600 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 7,500.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถตู้ จำนวน 3 วัน
250 x 30 บาท
=
7,500 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท