แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริการเชิงรุกในการตรวจสมรรถภาพ ป้องกันและรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในชุมชนตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวสุวภรณ์ แดนดี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ
ดร.จุฑารัตน์ จิตติมณี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเคมี
ประสบการณ์ : ศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของหนูต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ การตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่าด้วยเทคนิค PCR
ความเชี่ยวชาญ : ด้านชีววิทยาโมเลกุล ทั้ง DNA และ RNA ด้านภูมิคุ้มกันวิทยา
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่วมโครงการประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 2, 3, 4 หัวหน้าโครงการบริการวิชาการตระหนักรู้และใส่ใจ เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ปี 2558 และ ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเวชศาสตร์: โรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
ผู้ร่วมโครงการ
นายปาริชาติ วงศ์เสนา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : แพทยศาสตร์ วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
ประสบการณ์ : กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค รพ. สรรพสิทธิประสงค์ 2545-2550
ความเชี่ยวชาญ : พยาธิวิทยากายวิภาค
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
โรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเป็นโรคความเจ็บป่วยที่เกิดกับอวัยวะของเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดข้อ เส้นประสาทและหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อและกระดูก เยื่อหุ้มข้อกระดูกและข้อกระดูก หมอนรองกระดูกสันหลังและกระดูกโครงร่างของร่างกาย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เกิดจากการประกอบอาชีพ และอาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) เป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุด ปัจจุบันประชาชนที่เจ็บป่วยจากโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจะซื้อยามารับประทานเอง หรือมารับบริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพสต.) ซึ่งเป็นการรักษาแบบปฐมภูมิ ดังนั้นการตรวจประเมินสมรรถภาพทางกาย การรณรงค์ให้ความรู้ การป้องกันโรคและการรักษาเบื้องต้นของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อแก่ประชาชน ตลอดจนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ให้เข้าใจและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง จึงเป็นแนวทางที่สำคัญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีพันธกิจที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเฉพาะพันธกิจที่เกี่ยวกับการบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จึงจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนในด้านการส่งเสริมสุขภาพนี้ขึ้นโดยนักศึกษาและคณาจารย์ ในการออกหน่วยการให้ความรู้ ให้การตรวจรักษา และให้คำแนะนำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อแก่ประชาชน รวมถึงการให้แนวทางปฏิบัติแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเบื้องต้นที่เกิดจากการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน อีกทั้งโครงการนี้ได้บูรณาการเข้ากับรายวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ในหัวข้อการป้องกันการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานตามหลักกายวิภาคศาสตร์

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ รณรงค์ให้ความรู้และเสนอแนวทางการป้องกันและรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ
2.เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนในการตรวจสมรรถภาพทางกาย การคัดกรอง ป้องกัน ให้คำแนะนำและให้การออกกำลังกายเพื่อการรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อแก่คนในชุมชน
3.เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีส่วนร่วมในการออกบริการวิชาการแก่ชุมชน เสริมสร้างทักษะด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และให้คำแนะนำเบื้องต้นของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อแก่ประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ขั้นตอนในการดำเนินการ - รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความเจ็บป่วยของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี - ติดต่อเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการเตรียมงานเพื่อออกหน่วยตรวจสุขภาพ - ออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพ ให้การตรวจคัดกรอง การตรวจประเมินสมรรถภาพทางกาย ให้การรักษาเบื้องต้น และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวและการออกกำลังกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยนักศึกษาแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 2 และอาจารย์ผู้ควบคุม - จัดทำฐานข้อมูลการเจ็บป่วยโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของประชาชนในตำบลธาตุที่เข้าร่วมโครงการ - จัดทำฐานข้อมูลและสรุปผลการรักษาและการติดตามผลการรักษาของผู้เข้าร่วมโครงการ - จัดทำแผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติตัวเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ - ออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 ร่วมกับจัดกิจกรรมให้ความรู้รณรงค์ในการป้องกันโรคและแนวทางการรักษาเบื้องต้นแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข - วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลการออกหน่วยเพื่อตรวจประเมิน คัดกรอง และรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ - จัดทำฐานข้อมูลให้ชุมชน องค์กร และหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขประเมินผลและนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง - สรุปผลและนำเสนอในงานประชุมวิชาการ หรือตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความเจ็บป่วยของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี - --- --- --- 30,000.00
2.ติดต่อเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการเตรียมงานเพื่อออกห -- --- --- --- 0.00
3.ออกหน่วยตรวจประเมินโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ -- - --- --- 50,000.00
4.จัดทำฐานข้อมูลความเจ็บป่วยของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ --- -- - --- 10,000.00
5.จัดกิจกรรมให้ความรู้และรณรงค์ --- --- -- -- 10,000.00
6.นำฐานข้อมูลให้ชุมชน --- --- --- -- 0.00
7.สรุปผล/ จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ทราบข้อมูลการเจ็บป่วยของโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและสามารถเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อระดับหมู่บ้านได้ 2. เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนและหน่วยงานทางสาธารณสุขได้รับข้อมูลการเจ็บป่วย รวมถึงแนวทางให้การป้องกันและรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเบื้องต้นของประชาชนในเขตพื้นที่บริการ 3. ฐานข้อมูลในการป้องกันโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันประชาชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 4. นักศึกษาแพทย์สามารถใช้ความรู้ที่เรียนในห้องเรียนไปปฏิบัติจริงกับประชาชนในชุมชน 5. ผลที่ได้สามารถขยายในพื้นที่ต่างๆ และผลงานวิจัยต่อไปได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่า เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการได้รับบริการการตรวจสุขภาพ การรักษา ป้องกันและแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ
หลักสูตร หลักสูตร พบ.(สาขาวิชาแพทยศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 20,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 68,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 1,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 39,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตแบบสอบถาม
=
5,800.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล
=
1,000.00 บาท
3) ค่าจัดทำฐานข้อมูล
=
12,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาลงพื้นที่ออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพ
=
9,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาทำป้ายและสื่อประชาสัมพันธ์/แผ่นพับ
=
5,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาทำรายงานฉบับสมบูรณ์
=
2,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ อสม
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 11,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 4,000 บาท
=
4,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )
1) ค่าน้ำมัน
0 x 0 บาท
=
0 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท