แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการยุคดิจิตอล : Digital Content Marketing
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Accounting Information Systems
ประสบการณ์ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ประสบการณ์ในการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 วิทยากรบรรยายด้านบัญชี ภาษีอากร และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : การสอบบัญชี การภาษีอากร การควบคุมภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวภัทราจิตร แสงสว่าง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ผู้ตรวจสอบภายใน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การใช้งาน Google Apps for Education จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปี 2557 - การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP จัดโดย SIPA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556 -วิทยากรรับเชิญ “การเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ของภาคธุรกิจด้าน IT”
ความเชี่ยวชาญ : - Data Mining - Soft Computing - Information Retrieval - Network Systems - Parallel Programming - Database and Application Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education - Internet Marketing
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิมลพรรณ อุดมพันธ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : คุณวุฒิ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วทม.) สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : ประสบการณ์ สอนและวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวอรุณี มะฎารัก คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : 2551- ปัจจุบันอาจารย์คณะบริหารศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.รุ่งรัศมี บุญดาว คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D (Information Management)
ประสบการณ์ : งานวิจัย การพัฒนาระบบในการหาความต้องการของลูกค้าในการผลิตผ้าทอมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของภาคตะวันออเเฉียงเหนือตอนล่าง
ความเชี่ยวชาญ : Information Management
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สรินทิพย์ ทวีเดช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : คอมพิวเตอร์ศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบอีเลิร์นนิง ระบบฐานข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ร่วมโครงการ
นายดุสิต ศรีสร้อย คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ธรรมวิมล สุขเสริม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Development Policy
ประสบการณ์ : 5. ผลงานทางวิชาการและผลงานตีพิมพ์ 5.1 ผลงานทางวิชาการ (1) Co-researcher on the research - an analysis of key success indicators for Ubon Ratchathani University Journal of Council of the University Administrative Staff of Thailand. Vol. 1 No. 1 (January – June 2005) (2) ร่วมในการประเมินโครงการ “การข้บเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 1-3 (2547-2551)” ของ สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม (Rural and Social Management Institute RASMI) ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 5.2 ผลงานตีพิมพ์ Sukserm T. et al. (2008). Initiative Process of Sufficiency Economy Curriculum of Ubon Ratchathani University. Bangkok The Office of Knowledge Management and Development (OKMD) Thailand. Sukserm T and Takahashi Y. (2009). Prospective process of human resource Development (HRD) for corporate social responsibility (CSR) Proceeding of 17th Annual Conference on Pacific Basin Finance Economics Accounting And Management and 3rd International Conference on Business in Asia (iCBA) Central World Hotel Bangkok Thailand July 1-2 2009. Sukserm T and Takahashi Y. (2009). Human Resource Development for Promoting Implementation of Corporate Social Responsibility Criteria: A Case Study of Thai Local Firms. The 8th International Conference of the Asia Chapter & the 1st International Conference of the MENA Chapter December 12-15 2009 Isa Town Bahrain. Sukserm T and Takahashi Y. (2010). Evaluation of Reaction and Learning Levels in Human Resource Development (HRD) for Corporate Social Responsibility (CSR) Activities. Academy of Human Resource Development 9th International Conference of the Asia Chapter Shanghai China November 11-14 2010. Sukserm T and Takahashi Y. (2010). ‘A Prospective process for implementing human resource development (HRD) for corporate social responsibility (CSR) Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business 2 (1) 10-31. Sukserm T and Takahashi Y. (2011) ‘Effects of Individual Characteristics on Learning through Human Resource Development (HRD) for Corporate Social Responsibility (CSR): A case study of Thai Local Firms” International Journal of Business and Society 12(2). Sukserm T and Takahashi Y. (2011). ‘Self-efficacy as a Mediator of the Relationships between Learning and Ethical Behavior from Human Resource Development in Corporate Social Responsibility Activity’ Asia-Pacific Journal of Business Administration 3(2). 5.3 ผลงานการเป็นวิทยากรพิเศษ - เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายให้แก่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 7 อุบลราชธานี ในหลักสูตรต่าง ๆ อาทิ:- - หลักสูตร 9 พฤติกรรม 9 ความสำเร็จ สำหรับพนักงานบริษัท เอส.เอส.การสุรา จำกัด - หลักสูตรการเป็นหัวหน้างานให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี - หลักสูตรการให้บริการที่เป็นเลิศให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี - โครงการยกระดับศักยภาพแรงงานไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นรองรับรายได้แท้จริงที่เพิ่มขึ้น โดย บริษัท อีซูซุตังปักบริการ จำกัด ร่วมกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 7 อุบลราชธานี หลักสูตร “9 พฤติกรรม 9 ความสำเร็จ” ระหว่าง 1 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ ห้องสัมมนา บริษัท อีซูซุตังปักบริการ จำกัด (สาขาวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี) - เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหลักสูตรฝึกอบรมของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - เป็นวิทยากร บรรยายในหลักสูตร ‘OTOP Mini-MBA’ ให้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี (กศน. อุบลราชธานี) ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 26 สิงหาคม 2555 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555) ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี - เป็นวิทยากร บรรยายในหลักสูตร ‘OTOP Mini-MBA’ ให้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี (กศน. อุบลราชธานี) ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 31 มีนาคม 2556 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556) ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี - เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้สถานประกอบการต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี เช่น มงคลคาร์เซ็นเตอร์ แม็คโคร อุบลราชธานี ฯลฯ - เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการสู่ AEC ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ 7 อุบลราชธานี (โดยจัดบรรยายที่ จ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 – มิถุนายน 2556 - เป็นวิทยากรบรรยายในโครงการ ทายาทวิสาหกิจชุมชนคนรุ่นใหม่ ของ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 17 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จ. มุกดาหาร และวันที่ 7 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ความเชี่ยวชาญ : Corporate Social Responsibility (CSR) Marketing Management Human Resource Development (HRD)
ผู้ร่วมโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมให้แก่คน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้จากแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ (พ.ศ. 2559) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลยิ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศมากยิ่งขึ้น องค์กรรวมทั้งบุคลากรจึงเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง แต่การทำงานในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกองค์กร ทำให้หลาย ๆ องค์กรจำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงานให้องค์กร ซึ่งในปัจจุบันนี้ สื่อสังคม (Social Media) กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาทั้งด้านความเร็วในการใช้งานและพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นและยังมีเทคโนโลยีสนับสนุนอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้บริโภคใน หลาย ๆ ด้าน สื่อสังคมเป็นช่องทางที่สำคัญในการสื่อสารกับผู้บริโภคที่หลาย ๆ ธุรกิจนำเอาไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจ จากผลการการศึกษายุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์พบว่าผู้บริโภคที่เป็นชาวไทยนิยมใช้สื่อสังคมเฟสบุ๊คมากที่สุด โดยใช้เพื่อการหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคา ดังนั้นสถานประกอบการจึงควรมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการให้ข้อมูลข่าวสาร (พรรณี สวนเพลง และคณะ: 2556) ผู้บริโภคในยุคดิจิตอลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะศึกษาหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการเสมอ ซึ่งจะเห็นได้จากผลการวิจัยของเน็ลสันในปี 2556 ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 84% เชื่อคำแนะนำ หรือคำบอกต่อ (Word of Mouth) เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการจากคนรู้จัก (เนลสัน : 2556) นอกจากนี้จากผลการศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครยังพบว่าพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคนั้นมีความสัมพันธ์กับเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาและรายได้ (ปณิชา นิติพรมงคล : 2555) จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากในอดีต ถ้าหากธุรกิจยังใช้การสื่อสารการตลาดแบบยัดเยียดทางเดียวก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นสื่อที่มีต้นทุนต่ำ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และได้รับทราบผลตอบรับต่อการสื่อสารในทันที ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับธุรกิจ SMEs ที่มีต้นทุนน้อยที่จะนำเอาสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพของตนเอง จากผลการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของกิจการในประเทศไทยพบว่ายังมีบริษัทอยู่จำนวนมากที่ยังไม่ใช้สื่อสังคม ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เฟสบุ๊ค ทวิสเตอร์และยูทูบ โดยจะใช้สำหรับนำเสนอข้อมูลของหน่วยงาน ข้อมูลสินค้า ข้อมูลบริการ และให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้าเป็นหลัก บริษัทต่าง ๆ จะเน้นการใช้เครือข่ายสังคมเฟสบุ๊คเป็นหลัก เนื่องจากเฟสบุ๊คสามารถตอบสนองความต้องการด้านการประชาสัมพันธ์และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยการสนับสนุนการใช้สื่อสังคมภายในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การประยุกต์ใช้สื่อสังคมในองค์กรประสบความสำเร็จได้ (ปีเตอร์ รักธรรม : 2556) แต่การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์นั้นไม่ใช่เพียงแค่มีเฟสบุ๊คแฟนเพจ มียูทูบหรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ แล้วจะประสบความสำเร็จได้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของการทำการตลาดดิจิทัลคือการบอกเล่าเรื่องราวให้คนชอบและบอกต่อ หรือที่เราเรียกกันว่า Digital Content Marketing ด้วยเหตุนี้เองจึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ประกอบการยุคดิจิตอล : Digital Content Marketing ซึ่งเป็นการใช้สร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารการตลาดให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเพื่อนำเอาความรู้ที่ได้ไปช่วยส่งเสริมธุรกิจ SMEs ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Digital Content Marketing ให้กับผู้ประกอบการ
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs/OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคธุรกิจ เอกชนและผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การติดตามการนำเอาความรู้ไปใช้

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การเตรียมแผนงานอบรม --- --- --- 10,000.00
2.การประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้ร่วมโครงการ -- - --- 5,000.00
3.การดำเนินโครงการ --- --- - --- 50,000.00
4.ติดตามการนำเอาความรู้ไปใช้ --- --- - -- 10,000.00
5.ประเมินผล --- --- --- - 10,000.00
6.การสรุปโครงการ --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08:00-09:00 น. ลงทะเบียน-พิธีเปิดโครงการอบรม
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14:45-16:30 น กลยุทธ์และเทคนิคในการทำการตลาดดิจิทัลผ่านเนื้อหา ดร.จักริน วชิรเมธิน
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14:30-14:45 น พักรับประทานอาหารว่าง
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13:00-14:30 น เครื่องมือดิจิทัลในการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ ดร.จักริน วชิรเมธิน
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12:15-13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10:45-12:15 น. การวางแผนการตลาดดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ ดร.จักริน วชิรเมธิน
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10:30-10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09:00-10:30 น. การตลาดในยุคดิจิทัล ดร.จักริน วชิรเมธิน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14:45-16:15 น Workshop: การวัดผลการทำตลาดด้วยเนื้อหา ดร.จักริน วชิรเมธิน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
14:30-14:45 น พักรับประทานอาหารว่าง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13:00-14:30 น Workshop: เขียนเว็บให้คนอ่านติดใจ ดร.จักริน วชิรเมธิน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12:15-13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10:45-12:15 น. Workshop: เทคนิคการเขียนบอกเล่าเรื่องราวให้น่าสนใจ ดร.จักริน วชิรเมธิน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10:30-10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09:00-10:30 น. Workshop: เทคนิคการสร้าง Content ชนิดต่าง ๆ ดร.จักริน วชิรเมธิน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08:00-09:00 น. ลงทะเบียน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
16:15-16:30 น. พิธิปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานใน Digital Content Marketing และสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้
ด้านสังคม : ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักในการของการแบ่งปัน การให้ก่อนการรับ ซึ่งจะช่วยสร้างสรรสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : เผยแพร่ชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การตลาดบนอินเทอร์เน็ต
หลักสูตร ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 31,280.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 13,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 13,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 500.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,080.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,080.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,080.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) 1.5 ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานจำนวน 5 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 44,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์โครงการ
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงานทำความสะอาดสถานที่และห้องน้ำ
=
800.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
5,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาติดตามผลหลังการอบรม
=
7,500.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลและพิมพ์รายงาน
=
7,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 11,120.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 3,200 บาท
=
3,200 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์โครงการ
1 x 3,500 บาท
=
3,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,420.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์-โทนเนอร์หมึกพิมพ์
1 x 2,420 บาท
=
2,420 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่นในการติดต่อประสานงานและติดตามผล
500 x 4 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 87,200.00 บาท