แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายศรัณย์ วีสเพ็ญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : โครงการบริการวิชาการ การผลักดันองค์กรด้วยตัวชี้วัดรายบุคคล
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการสร้างทีม การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐและแผนกลยุทธ์ให้กับหน่วยงานเอกชน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอยู่หลายด้านด้วยกัน ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การบริหารงานใหม่เพื่อรักษาฐานะความสามารถในการแข่งขันด้วยการลดจำนวนแรงงานลง ซึ่งแรงงานไทยส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังคงเป็นแรงงานนอกระบบ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2548) ได้ให้ความหมายว่า แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้ที่มีงานทำที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 10 คน ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2552 พบว่า จำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 38.4 ล้านคน โดยเป็นผู้ทำงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน หรือเรียกว่าแรงงานนอกระบบ 24.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 63.4 และที่เหลือเป็นผู้ที่ทำงานในระบบ หรือแรงงานในระบบ 14.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 36.6 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2552 พบว่า ผู้ทำงานที่เป็นแรงงานนอกระบบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2548 มีแรงงานนอกระบบ 22.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 62.1 และปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 24.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 63.4 จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมามีจำนวนแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 โดยส่วนใหญ่แรงงานนอกระบบจะทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ตามลำดับ จากตัวเลขปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่าแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แรงงานนอกระบบ สามารถแบ่งตามลักษณะของการทำงานได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. แรงงานนอกระบบภาคเกษตร ได้แก่ แรงงานรับจ้างในเกษตรกรรมที่รวมถึงการทำนา ทำไร่ ทำสวน ประมง และเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งเกษตรกรพันธะสัญญา เป็นต้น 2. แรงงานนอกระบบภาคการผลิต ได้แก่ ผู้รับงานมาทำที่บ้าน ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ ธุรกิจการผลิตขนาดเล็ก กลุ่มผู้ผลิต สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( OTOP ) เป็นต้น 3. แรงงานนอกระบบภาคการบริการ ได้แก่ แรงงานที่ทำงานในร้านขายอาหารขนาดเล็ก เช่น พนักงานเสิร์ฟ คนล้างจาน และคนปรุงอาหาร เป็นต้น เนื่องจากผู้วิจัยได้ทำงานในฐานะหัวหน้าคณะทำงานวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี ที่ต้องนำเสนอข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด ผู้วิจัยจึงได้รับทราบปัญหาที่เกิดจากแรงงานนอกระบบจึงเห็นควรที่จะต้องทำการศึกษาปัญหาด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน และการคุ้มครองทางสังคมของแรงงานนอกระบบดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลเสนอแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปวางแผนหรือกำหนดนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานนอกระบบต่อไป ผลการวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานและการคุ้มครองทางสังคม กรณีศึกษา : พนักงานร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ พบว่า พนักงานร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 ? 30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ระหว่าง มัธยมศึกษาตอนต้น ? มัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นแรงงานประเภทรายวัน ได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 160 บาทต่อวัน ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน มีคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง พนักงานร้านอาหารส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อนหรือถ้ามีก็ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งได้มีคุณสมบัติที่ตรงกับความหมายของแรงงานไร้ฝีมือที่กระทรวงแรงงานกำหนด โดยที่แรงงานไร้ฝีมือ หมายถึง แรงงานที่มีวุฒิการศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่งที่พึ่งจบการศึกษาหรือจบมาหลายปีแล้วแต่ไม่เคยทำงานหรือเคยทำงานมาแล้ว แต่รวมระยะเวลาการทำงานกับที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่เกิน 1 ปี และเป็นประเภทแรงงานรายวัน โดยได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 160 บาทต่อวัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดอุบลราชธานีที่ปัจจุบันได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 171 บาทต่อวัน ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 5) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ซึ่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีความหมายว่า เป็นอัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) โดยคณะกรรมการค่าจ้างมีแนวคิดเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่า ?เป็นอัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น? แต่จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องถึงสาเหตุที่นายจ้างให้ค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเนื่องจากนายจ้างมีความคิดว่าพนักงานร้านอาหารส่วนใหญ่จะได้รับค่าทิปจากการบริการในแต่ละวันอยู่แล้วซึ่งเมื่อรวมกับค่าจ้างที่ให้ก็น่าจะมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด และแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
แรงงานนอกระบบ เช่น พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารขนาดเล็ก ผู้รับงานไปทำที่บ้าน คนขับรถรับจ้างทั่วไป หาบเร่ ช่างเสริมสวย ช่างตัดผม และเจ้าของร้านขายของชำ เป็นต้น
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรม 2554 2555 รวมเงิน (บาท) ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. กิจกรรม/วิธีการ 1.เสนอโครงการ 2.ประชุมคณะกรรมการ 3.ติดต่อวิทยากร 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.รับสมัครผู้เข้าอบรม 6.เตรียมเอกสารการสอน 7.ดำเนินการอบรม 8.สรุปโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.กิจกรรม/วิธีการ 1.เสนอโครงการ 2.ประชุมคณะกรรมการ 3.ติดต่อวิทยากร 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.รับสมัครผู้เข้าอบรม 6.เตรียมเอกสารการสอน 7.ดำเนินการอ --- -- -- -- 41,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ลดข้อพิพาทระหว่างลูกจ้าง และนายจ้าง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
48
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
บริหารจัดการงบประมาณตามที่ได้รับการอนุมัติ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เศรษฐศาสตร์มหภาค
หลักสูตร การจัดการธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำกรณีศึกษาที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการบรรยายบทที่ 9 เงินเฟ้อและการว่างงาน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,240.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 21,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,500.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,250.00 บาท
=
2,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 11,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน
=
1,200.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาพิมพ์รายงานและจัดทำรูปเล่ม
=
2,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาเช่าสถานที่
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,560.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 7,560.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,560.00 บาท
=
2,560.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 41,000.00 บาท