แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวขนิษฐา ขันคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Ceramics
ประสบการณ์ : เครื่องเคลือบดินเผา
ความเชี่ยวชาญ : เครืองเคลือบดินเผา
หัวหน้าโครงการ
นายชูเกียรติ พิทักษ์พรพัลลภ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ออกแบบนิเทศศิลป์
ประสบการณ์ : ออกแบบกราฟิก
ความเชี่ยวชาญ : ออกแบบกราฟิก
ผู้ร่วมโครงการ
นายจักรภพ เสาเวียง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายประกาศิต แก้วรากมุข คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาขาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น
ผู้ร่วมโครงการ
นายชัยบพิธ พลศรี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ออกแบบผลิตภัณฑ์
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และโฆษณา Character Graphic Designer
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เคลือบขี้เถ้าเป็นเคลือบที่ใช้กันมานานแล้วตามประวัติศาสตร์ของจีนและญี่ปุ่น เป็นเคลือบที่เผาในอุณหภูมิสูงชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักทำขึ้น และยังคงนิยมทำกันต่อมาถึงปัจจุบัน ด้วยเอกลักษณ์ของความงามในเคลือบขี้เถ้าที่เป็นเสน่ห์ของเคลือบในงานเครื่องปั้นดินเผาแบบพื้นบ้าน แต่เคลือบขี้เถ้านั้นจะเผาในอุณหภูมิสูงซึ่งต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากรวมทั้งสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย ปัจจุบันเชื้อเพลิงต่างๆได้มีราคาที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ๆ ในการทำงานเครื่องปั้นดินเผา คือเรื่องค่าใช้จ่ายในเรื่องเชื้อเพลิงหากลดต้นทุนในเรื่องเชื้อเพลิงก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงและการนำเอาเศษวัสดุที่เหลือใช้คือขี้เถ้าจากเศษพืชที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นมาทำเคลือบเพื่อเป็นการลดปัญหาของเศษของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันหมู่บ้านห้วยวังนองเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในภาคอีสานตอนล่าง ด้วยการผลิตครก และกระถางดินเผาจำหน่าย ลักษณะของครกส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นทรงกรวยหงาย ปากกว้าง ขอบหนา ภายในก้นลึก ส่วนฐานมีลักษณะค่อนข้างหนา ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เผาด้วยเตาฟืน แต่รูปแบบการผลิตของแหล่งห้วยวังนองนั้นยังมีรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่น้อย การเคลือบชิ้นงานทำได้ยากเนื่องจากเตาเผาที่ใช้ใช้เชื้อเพลิงจากไม้ อุณหภูมิในการเผาในเตาไม่สามารถเผาให้ได้อุณหภูมิสูง ฉะนั้นการใช้เคลือบอุณหภูมิต่ำเหมาะสมกับเตาเผาและเป็นการใช้ขี้เถ้าจากเศษไม้ สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานและสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน สามารถเผาได้ในเตาเผาที่ใช้เชื้อเพลิงจากไม้ การทำเคลือบไฟต่ำจากขี้เถ้าไม้น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ผลิตของกลุ่มบ้านห้วยวังนองหรือที่อื่นๆ เพื่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ และเป็นการใช้เศษวัสดุจากขี้เถ้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยในการศึกษาและทดลองพัฒนาเคลือบขี้เถ้าไฟต่ำนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ขี้เถ้าจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั้ง 10 ชนิด คือ ขี้เถ้าจากต้นกันเกรา ขี้เถ้าต้นจามจุรี ขี้เถ้าต้นกระถิน ขี้เถ้าต้นราชฟฤกษ์ ขี้เถ้าจากต้นดอกปีบ(กาสะลอง) ขี้เถ้าจากต้นยางแดง ขี้เถ้าต้นอินทะนิล (กาสะเลา) ขี้เถ้าจากไผ่ ขี้เถ้ามะขาม ขี้เถ้ารวม ทดลองและผสมในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้เคลือบหลอมได้ในอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส และ 1,100 องศาเซลเซียส จะได้คุณภาพและการหลอมละลายที่แตกต่างกันซึ่งจะนำเอาส่วนผสมในอัตราส่วนที่มีการหลอมละลายที่ดีมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น รวมทั้งเป็นทางเลือกใหม่ในการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขี้เถ้าไฟต่ำ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาและทดลองเคลือบขี้เถ้าเผาในอุณหภูมิไฟต่ำ 900 และ 1,100 องศาเซลเซียส
2.เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเป็นการปรับให้เหมาะสมกับเตาฟืนของชุมชน
3.เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุของเหลือใช้คือการนำขี้เถ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านห้วยวังนอง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจและกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาขนาดย่อม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
-ไม่มีข้อมูล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนและเตรียมการ - --- --- --- 50,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ -- -- --- --- 5,000.00
3.ดำเนินโครงการ --- - --- --- 35,000.00
4.สรุปผลโครงการ --- - --- --- 5,000.00
5.รายงานผลการดำเนินงาน --- - --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 182 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ชาวบ้านในชุมชนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแต่ต้นทุนการผลิตต่ำ
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : ขอวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาก่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
35
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 17,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
7,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 44,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 8,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 31,500.00 บาท )
1) ค่าทดลองดิน
=
15,000.00 บาท
2) ค่าทดลองเคลือบ
=
15,000.00 บาท
3) ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงาน
=
1,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 37,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 3,200 บาท
=
3,200 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์
3,000 x 1 บาท
=
3,000 บาท
2) ค่าเอกสารเผยแพร่
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 4,500.00 บาท )
1) แก๊ส
3 x 1,500 บาท
=
4,500 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 22,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
20,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุการศึกษา(ดินเหนียว)
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท