แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเพื่อให้ความรู้ในหัวข้อ การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ตรวจสอบบัญชี และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : 7.1 ผลงานวิจัย 1. ผู้ร่วมวิจัย โครงการ “การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ.2547 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ” พ.ศ. 2548 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. หัวหน้าโครงการวิจัย “สำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ. 2549 แหล่งทุนคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัย “การศึกษากลยุทธ์การใช้ E-Tourism เพื่อการแข่งขันในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : กรณีศึกษาด่านช่องเม็ก-วังเต่า และด่านช่องสะงำ-เสียมเรียบ ”พ.ศ. 2550 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 5. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6. ผู้ร่วมวิจัย “โครงการศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการ ท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 7. ผู้ร่วมวิจัย “การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SMEs : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ” พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา (กำลังดำเนินการ) 7.2 ผลงานตีพิมพ์ บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 7.3 ผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ: นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการและการตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิมลพรรณ อุดมพันธ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : สอน 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : e-commerce
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวบุษกร คำโฮม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : หัวหน้างานอาวุโส แผนกผลิต ส่วนงานควบคุมคุณภาพ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาคุณภาพ และการเพิ่มผลิตภาพ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการดังนี้ คือ (1) ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค (2) รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค และ (3) ใช้เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค ทั้งนี้ ภายในปี 2558 ประเทศไทยและประเทศสมาชิกของอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างสมบูรณ์ ผ่านแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ที่ประกอบด้วย การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่เท่าเทียม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวนกว่า 2.9 ล้านกิจการ คิดเป็นร้อยละ 99.6 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด มีการจ้างงานกว่า 10.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.8 ของการจ้างงาน รวมทั้งประเทศสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือ GDP SMEs ถึง 3.75 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2555) แต่เนื่องจากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันต่างๆ ในปี 2555 บ่งชี้ว่า ประเทศไทย มีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เช่น สถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 31 ปรับลดลงจากอันดับที่ 27 ในปี 2554 ขณะที่ World Economic Forum (WEF) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 39 เช่นเดียวกับปี 2554 มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ SMEs มีการสร้างความแตกต่าง ในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น การตลาดที่มีกลยุทธ์โดดเด่น การรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ ซึ่งถือเป็นสร้างความเข้มแข็งในการเพิ่มผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ( www.sme.go.th , 2555) ดังนั้น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทย จำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพอย่างเร่งด่วน และเตรียมรองรับกับการเปิดตลาดการค้าเสรี ต้องมีการผลิตสินค้าให้ตรงกับมาตรฐานสากล และพร้อมที่จะรับข้อตกลงทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นั่นคือ การทำธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียนจะเป็นเสมือนหนึ่งเป็นประเทศเดียวกัน การแข่งขันด้านราคา ด้านมาตรฐาน ด้านคุณภาพย่อมเกิดขึ้น ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยต้องตื่นตัว ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างรอบด้าน เพราะเตรียมตัวรองรับการเข้าสู่เศรษฐกิจประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยต้องตื่นตัว และมีความรู้เพิ่มเติมในการประกอบธุรกิจ อันนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการทำธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการอบรมไปพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเปลี่ยนไป

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ชุดโครงการนี้ประกอบด้วยโครงการย่อยทั้งหมด 5 โครงการย่อย ซึ่งดำเนินกิจกรรมการจัดอบรมเพิ่มเติมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเรื่องการตลาด การภาษีอากร การเงินธุรกิจ และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ซึ่งชุดโครงการย่อยประกอบด้วย โครงการย่อยที่ 1 เรื่อง กลยุทธ์การสร้างคุณภาพ เพื่อเสริมศักยภาพ SMEs โครงการย่อยที่ 2 เรื่อง การอบรมคอมพิวเตอร์เชิงปฏิบัติการในหัวข้อ กลยุทธ์ระบบ E-Commerce เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ SMEs บนเวที E-ASEAN โครงการย่อยที่ 3 เรื่อง ส่งเสริมการขายอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักการของภาษีอากร โครงการย่อยที่ 4 เรื่อง ปรับกลยุทธ์การตลาด เพื่อรองรับ AEC โครงการย่อยที่ 5 เรื่อง หลักการวินิจฉัยสถานประกอบการและการนำอัตราส่วนทางการเงินมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมรับ AEC

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแผนงานอบรม --- --- --- 16,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครผู้เข้าอบรม และจัดเตรียมเอกสาร --- --- --- 68,260.00
3.ดำเนินโครงการ --- --- --- 112,000.00
4.สรุปโครงการ --- --- --- 18,740.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 242 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
8.30 - 16.00 กลยุทธ์การสร้างคุณภาพ เพื่อเสริมศักยภาพ SMEs อ.บุษกร คำโฮม
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
8.30 - 16.00 ส่งเสริมการขายอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักการของภาษีอากร ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
8.30 - 16.00 กลยุทธ์ระบบ E-Commerce เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ SMEs บนเวที E-ASEAN อ.พิมลพรรณ อุดมพันธ์ และคณะ
9 สิงหาคม พ.ศ. 2557
8.30 - 16.00 หลักการวินิจฉัยสถานประกอบการและการนำอัตราส่วนทางการเงินมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเตรียมพร้อมรับ อ.อติชน ทองปน
16 สิงหาคม พ.ศ. 2557
8.30 - 16.00 ปรับกลยุทธ์การตลาด เพื่อรองรับ AEC อ.ใจแก้ว แถมเงิน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยตื่นตัว และมีความรู้เพิ่มเติมในการประกอบธุรกิจ อันนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการทำธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน 3. ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการอบรมไปพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเปลี่ยนไป
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
24
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
100

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การพัฒนาผลิตภาพและคุณภาพ
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชาร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 57,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 32,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 25,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,400.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
8,000.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
200.00 บาท
3) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,800.00 บาท
4) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
840.00 บาท
2) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
11,760.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 102,550.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 13,500.00 บาท )
1) จำนวน 18 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
13,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 18,750.00 บาท )
1) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
15,750.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 64,900.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถ (เหมาจ่าย)
=
17,200.00 บาท
2) ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษา
=
6,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด
=
1,600.00 บาท
4) ค่าแผ่นผ้าโฆษณา
=
1,500.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์
=
5,500.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานและรูปเล่ม
=
12,500.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาพิมพ์งาน
=
6,600.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการบรรยาย
=
3,000.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาติดต่อประสานงาน / สถานที่อบรม
=
11,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 55,050.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 37,550.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
29,100 แผ่น x 0.50 บาท
=
14,550.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
18,500.00 บาท
=
18,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4,500.00 บาท
=
4,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 17,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
17,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 215,000.00 บาท