แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนและชุมชนเพื่อเข้าสู่โรงเรียนต้นแบบความปลอดภัยด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางพัจนภา ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
ประสบการณ์ : ร่วมโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เปิดโลกการเรียนรู้ สู่ร่างอาจารย์ใหญ่ งบประมาณ 2556 ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมปีงบประมาณ 2555-2557 หัวหน้าโครงการวิจัยทางด้านโภชนการชุมชน ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ปี 2555
ความเชี่ยวชาญ : -อาหารและโภชนาการชุมชน -พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา8 บัญญัติไว้ว่า การศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและมาตรา 28 กำหนดให้การจัดการศึกษาแต่ละระดับมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับวัยและศักยภาพซึ่งปัจจัยด้านสุขภาพจะส่งผลต่อการเรียนและการทำกิจกรรมอื่นๆของนักเรียนอย่างมีความสุข(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2553) แบบแผนการเจ็บป่วยและการเกิดโรคมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมโดยมีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น และส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง(สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2553) ดังนั้น การมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ เพราะสุขภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคุณภาพชีวิต และแสดงถึงความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ประเวศ วะสี 2539) เด็กวัยเรียนเป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุก ๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันเด็กวัยเรียนยังเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์และสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างมาก จึงพบว่าเด็กช่วงวัยนี้มีปัญหาทั้งการขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการเกิน ปัญหาการขาดสารอาหารที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียน คือ ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโรคขาดสารไอโอดีน ปัญหาดังกล่าวจะทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า เจ็บป่วยบ่อย ความสามารถในการเรียนรู้ด้อย ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนต่ำ และสมรรถภาพในการทำกิจกรรมและการเล่นกีฬาต่ำ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม เด็กวัยเรียนสังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จึงได้ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กนักเรียนและอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ คุณครู ผู้ปกครองของเด็ก แกนนำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในปีงบประมาณ 2555-59 คณะทำงานได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ การเสริมสร้างศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี พบว่า นักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยังมีปัญหาทางด้านการดูแลสุขภาพ เช่น เป็นเหา มีแผลพุพองตามแขนและขา น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งเรื่องการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอื่นๆ มีการทิ้งขยะมูลฝอยไม่เป็นที่ ยังไม่มีการแยกขยะในบางโรงเรียน สุขาในโรงเรียนมีกลิ่นเหม็นและไม่สะอาด โรงอาหารและสนามเด็กเล่นยังไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จากการประชุมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดำเนินการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนตระเวนชายแดนฯ ในสังกัด ให้เข้าสู่โรงเรียนต้นแบบความปลอดภัยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 25560-2562 จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร 2)โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชุมชนป่าหญ้าคา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้อย่างยั่งยืน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้แกนนำของโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนารูปแบบของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้เป็นโรงเรียนต้นแบบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนและการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ดังนี้ 1 ด้านการจัดการขยะ/ธนาคารขยะ 2 ด้านน้ำดื่มสะอาดและปลอดภัย 3 ด้านห้องเรียนปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 4 ด้านโรงอาหารปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 5 ด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย 6 ด้านการส่งเสริมสุขภาพ/โภชนาการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการผู้บริหารโรงเรียน ครูในโรงเรียน นักเรียนแกนนำ ตัวแทนผู้ปกครองเด็กนักเรียน/ผู้นำชุมชน โรงเรียนละ 30 คน รวมเป็น 60 คน ในพื้นที่ 2 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร และ2) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชุมชนป่าหญ้าคา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.สำรวจพื้นที่ และวางแผนแม่บทในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพเข้าสู่โรงเรียนต้นแบบด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นเวลา 3 ปี ประชุมร่วมกับโรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน เพื่อหาแกนนำ และแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน และสรุปแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเข้าสู่โรงเรียนต้นแบบด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำรวจข้อมูลที่จำเป็น ตามข้อ 2. และดำเนินการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากิจกรรม 1-2 ด้าน ตามข้อสรุปที่ได้จากข้อ 2. โดยทีมวิทยากรจาก วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขและนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ดำเนินกิจกรรม 1-2 ด้าน (ตามข้อ 2) โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและให้คำปรึกษาในพื้นที่โรงเรียน สรุปและประเมินการดำเนินกิจกรรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจพื้นที่ และวางแผนแม่บทในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพเข้าสู่โรงเรียนต้นแบบด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นเวลา -- --- --- --- 5,000.00
2.ประชุมร่วมกับโรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน เพื่อหาแกนนำ และแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน และสรุปแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเข้าสู --- -- --- --- 10,000.00
3.สำรวจข้อมูลที่จำเป็น ตามข้อ 2. และดำเนินการพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากิจกรรม 1-2 ด้าน ตามข้อสรุปที่ได้จากข้อ 2. โดยท --- - --- --- 50,000.00
4.ดำเนินกิจกรรม 1-2 ด้าน (ตามข้อ 2) โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน --- --- -- 15,000.00
5.ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและให้คำปรึกษาในพื้นที่โรงเรียน --- --- --- -- 10,000.00
6.สรุปและประเมินการดำเนินกิจกรรม และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 33 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08.30-09.30 น. ลงทะเบียน และ Per-Test ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
13.00-16.30 น กิจกรรมกลุ่มพัฒนาทักษะแกนนำด้านการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเ ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
12.00-13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
9.30-12.00 น. อบรมแกนนำเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะด้านการจัดกิจกรรมเพื่อเข้าสู่โรงเรียนต้นแบบด้านสุขภาพและความปลอดภัยอน ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
16.30-17.00 น. Post-Test ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
10.30-10.45 น.และ เวลา 14.15-14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
08.30-17.00 น. ดำเนินกิจกรรมการอบรมเหมือนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 อีก 1 โรงเรียนที่เหลือ ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. เป็นการเพิ่มศักยภาพแกนนำด้านการจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสุขภาพดี ปลอดภัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมดี เพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอในการดูแลสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับนักเรียน ประชาชนในชุมชน ให้มีสุขภาพแข็งแรงและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี 3. จากการมีธนาคารขยะเกิดขึ้นในโรงเรียนทำให้เพิ่มรายได้ครอบครัวจาการจัดการขยะในครัวเรือนที่ถูกต้องและนักเรียนสามารถนำขยะมาขายที่โรงเรียนได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา อนามัยครอบครัว
หลักสูตร หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรีบนโดยนักศึกษา

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,960.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
3,360.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 61,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,880.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,880.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 วัน x วันละ 120.00 บาท
=
2,880.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 11,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 24,680.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการเพื่อพัฒนาเป็นโรงเรยนต้นแบบฯ 4000 บ. X 2 โรงเรียน
=
8,000.00 บาท
2) - ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพและบันทึกวิดิโอ 2 วัน
=
2,000.00 บาท
3) - ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร
=
3,000.00 บาท
4) - ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
=
3,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
=
5,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
3,680.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 13,680.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,680.00 บาท )
1) กระดาษ A4
20 x 150 บาท
=
3,000 บาท
2) ดินสอสี
2 x 140 บาท
=
280 บาท
3) ปากกา
16 x 150 บาท
=
2,400 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) วัสดุเชื้อเพลิง
6 x 1,000 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท