แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง ความรู้พื้นฐานเรื่องยาและการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายณรงค์ชัย จักษุพา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เภสัชวิทยา
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : เภสัชวิทยา
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ศิริมา สุวรรณกูฏ จันต๊ะมา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เภสัชจุลชีววิทยา
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน เป็นนโยบายของภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ แก้ไขและป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ที่จำเป็นและเร่งด่วน เช่น การป้องกันโรคระบาดของ ไข้เลือดออก โรคเอดส์ ปัญหาสุขภาพจิต การติดบุหรี่ หรือการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลด้านสาธารณสุข เช่น โครงการประกันสุขภาพ กิจกรรมเสริมสุขภาพให้แก่ชุมชน เพื่อหวังให้ชุมชน หมู่บ้านและชาวบ้าน ได้รับการป้องกัน ดูแล ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่เชื่อมระหว่างนโยบายสุขภาพของรัฐบาลและประชาชน โดยบทบาทและหน้าที่และความรับผิดชอบของ อสม. ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ในหลากหลายด้าน เช่น ปฏิบัติตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือจัดการรณรงค์ และให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขที่สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของท้องถิ่นและแหล่งอื่น ๆ ให้ความรู้ด้านการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ฯลฯ ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็น อสม. นั้นจะต้องมีคุณสมบัติทั้งด้านการเป็นคนในพื้นที่ มีความสมัครใจและเสียสละ เป็นตัวอย่างที่ดีในชุมชน นอกจากนี้ผู้ที่สมัครจะต้องได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ทางราชการกำหนดไว้ จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า อสม. เป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินนโยบายสุขภาพจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น หรือ เป็นตัวกลางสำหรับขับเคลื่อนนโยบายภายในท้องถิ่น ดังนั้นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ แก่ อสม. จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงานของนโยบายการสาธารณสุขมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1.• ให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเสริมศักยภาพต่อการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
2.• เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายด้านการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานระหว่างพื้นที่รอบเขตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และภายในจังหวัดอุบลราชธานี
3.• เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและบทบาทของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดอุบลราชธานี 2. นักศึกษาและผู้ที่มีความสนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ฝีกอบรม เชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมโครงการและสรรหาคณะกรรมการดำเนินงาน - --- --- --- 1,000.00
2.ประชุมโครงการเพื่อสรรหาวิทยากร - --- --- --- 1,000.00
3.เตรียมโครงการ ออกจดหมายเชิญวิทยากรและประชาสัมพันธ์โครงการ -- - --- --- 30,000.00
4.จัดอบรม --- --- --- 56,800.00
5.สรุปผลโครงการ จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์และรายงานการเงิน --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. ส่งเสริมและทบทวนความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
75
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 4,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 4,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 51,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 36,000.00 บาท )
- จำนวน 20 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 35,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 10,000 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) แผ่นพับประชาสัมพันธ์
1,000 x 6 บาท
=
6,000 บาท
2) ป้ายประชาสัมพันธ์
10 x 1,000 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 7,000 บาท
=
7,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันสำหรับเดินทางประชาสัมพันธ์เชิงรุก
4 x 500 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 90,800.00 บาท