แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.ดร.กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ประสบการณ์ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช กล้วยไม้ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้
หัวหน้าโครงการ
ดร.วรงศ์ นัยวินิจ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีทางการเกษตร
ประสบการณ์ : การออกแบบตกแต่งสถานที่
ความเชี่ยวชาญ : งานภูมิสถาปัตยกรรม
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นิมมานรดี พรหมทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช
ความเชี่ยวชาญ : สรีรวิทยาพืชสวน การปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชสวน)
ประสบการณ์ : การออกแบบภูมิทัศน์ การจัดการสนามหญ้า
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบภูมิทัศน์ การขุดล้อมต้นไม้และ พันธุ์ไม้ในงานภูมิทัศน์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
กล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทำรายได้จากการส่งออกสูงที่สุดในบรรดาไม้ดอกไม้ประดับด้วยกัน โดยในปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่าการส่งออกต้นกล้วยไม้สูงถึง 3,500 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) แนวโน้มการส่งออกกล้วยไม้มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการส่งออกกล้วยไม้และกำหนดยุทธศาสตร์โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกกล้วยไม้เป็น 100,000 ล้านบาท การส่งออกกล้วยไม้มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น กล้วยไม้ตัดดอก ต้นพันธุ์กล้วยไม้ลูกผสม ต้นพันธุ์กล้วยไม้สายพันธุ์แท้ และพันธุ์กล้วยไม้ชนิดต่างๆในสภาพปลอดเชื้อ จากการที่จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ติดชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักกั้นอาณาเขต ทำให้มีทรัพยากรป่าไม้และกล้วยไม้จำนวนมาก มีชาวบ้านจำนวนมากตามแนวชายแดนทำลายป่าและเก็บกล้วยไม้จากป่ามาขายและส่งออก ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ หมดไป เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ลดการเก็บกล้วยไม้ป่าและขยายพันธุ์กล้วยไม้ได้เอง จึงควรมีการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น จึงมีความเห็นว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้กับชุมชนตามแนวชายแดน น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้ชุมชนได้มีโอกาสในการเลือกเส้นทางประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริม โดยกล้วยไม้เป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากดอกมีสีสันสวยงามและมีความคงทน มีอายุการใช้งานนาน และมีความหลากหลายของสายพันธุ์ แต่การจำหน่ายกล้วยไม้ให้ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนโดยผู้ปลูกเลี้ยงมิใช่การเก็บจากป่า ด้วยเหตุนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้จึงมีความจำเป็นสำหรับชุมชนที่ต้องการผลิตกล้วยไม้จำนวนมาก เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ให้แก่ชุมชนตามแนวชายแดน
2.เพื่อให้ชุมชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ
3.สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชาวบ้านและนักเรียน ชุมชนบ้านท่าล้ง อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ขออนุมัติดำเนินโครงการ 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์โครงการ 3. ติดต่อวิทยากร 4. การวางแผนการทำงาน 5. จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรมและเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติ 6. กำหนดการฝึกอบรม เดือนมีนาคม 2559 ระยะเวลาจัดฝึกอบรม 3 วัน โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติ 7. ติดตามและประเมินผลโครงการ ภายหลังจากฝึกอบรมไปแล้ว 8. สรุปและเขียนรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขออนุมัติดำเนินโครงการ -- --- --- --- 1,000.00
2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ - - --- --- 5,000.00
3.ติดต่อวิทยากร --- -- --- --- 5,000.00
4.วางแผนงานการจัดอบรม - --- --- --- 5,000.00
5.จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม -- - --- --- 40,000.00
6.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 60,000.00
7.ติดตามประเมิลผล --- --- -- -- 5,000.00
8.สรุปและเขียนรายงาน --- --- --- -- 5,000.00
9.รายงานผล -- -- -- -- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
9.00 - 12.00 เทคนิคการนึ่งฆ่าเชื้อ การเตรียมอุปกรณ์เพาะเมล็ดและถ่ายเนื้อเยื่อ และองค์ประกอบอาหารเพาะเลี้ยงกล้วยไม รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ และคณะ
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12.00 - 13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการเตรียมสารละลายเข้มข้นและอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
9.00 - 12.00 การผสมเกสรกล้วยไม้ หลักการเพาะเมล็ดและการถ่ายเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ และคณะ
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12.00 - 13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ เพาะเมล็ดกล้วยไม้ฝักแก่ และฝักอ่อน รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
9.00 - 12.00 น. ปฏิบัติการ ถ่ายอาหารและดำต้นอ่อน รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12.00 - 13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00 - 16.00 น. เทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้ป่า รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างรายได้จากการขายกล้วยไม้
ด้านสังคม : เข้าอบรมสามารถผลิตกล้วยไม้ขายได้อย่างถูกกฎหมาย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้เข้าอบรมสามรถขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ด้านอื่นๆ : สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
25
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้ร่วมโครงการสามารถสร้างอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก เป็นการเพิ่มรายได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา วิชาหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 45,920.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 36,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
14,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,920.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 52,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 22,500.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 4,500.00 บาท
=
4,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
12,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,300.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
6,300.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
10,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงาน
=
3,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาผลิตเอกสารอบรม
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,380.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 x 1 บาท
=
1,000 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน
2,000 x 1 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) วัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
1,000 x 1 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 1,380.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1,380 x 1 บาท
=
1,380 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง
2,000 x 1 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 106,000.00 บาท