แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ "ภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก" ครั้งที่ ๒
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ เป็นกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ที่มี
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายชญานนท์ แสงศรีจันทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : จารึกภาษาไทย
ประสบการณ์ : 1. หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2549 2. หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2545 2549-2550 และ 2555
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น การอ่านเอกสารโบราณ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมโดยมีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร เวียดนาม จีน เป็นต้นในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ มีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากยิ่งขึ้นทั้งในระดับชุมชน สังคม ประเทศ และในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ยิ่งในปัจจุบันและต่างถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมที่ผสมผสานเข้าด้วยกัน มีการรับ ปรับ และเปลี่ยนไปตามบริบทของแต่ละสังคม ทำให้สังคมมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมจึงมิอาจหยุดนิ่งได้ ต่างศึกษาวิจัยและทำความเข้าใจมิติของการปรับเปลี่ยนดังกล่าวอยู่ตลอด หากแต่พื้นที่ในการนำเสนอบทความทางวิชาการในการจัดประชุมวิชาการ ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมค่อนข้างมีอยู่จำกัด และสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้นมักจัดการประชุมในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ศาสตร์ด้านภาษาและวัฒนธรรมมักจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการต่าง ๆ เช่น การประชุมเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การประชุมวิชาการด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา เป็นต้น ตามที่สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเปิดหลักสูตรด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ลาว และเขมร ได้จัดโครงการภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ครั้งที่ 1 แล้วนั้น พิจารณาเห็นว่าการจัดกิจกรรมทางวิชาการลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยการเปิดพื้นที่ให้แก่นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้มีโอกาสนำเสนอบทความทางวิชาการ มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้นให้มีการผลิตผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรจัดให้มีโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ?ภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ครั้งที่ ๒? โดยครอบคลุมเนื้อหาทางด้านภาษาศาสตร์ วรรณกรรมทั้งที่เป็นวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมท้องถิ่น คติชนวิทยาเช่นประเพณีพิธีกรรม ตำนานและเรื่องเล่า การสอนภาษาทั้งในฐานะเป็นภาษาแม่และเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งการศึกษาจากจารึกและเอกสารโบราณ ผลของการจัดการประชุมวิชาการดังกล่าว นอกจากจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคือคือผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ให้บริการวิชาการแก่สังคม และสิ่งสำคัญคือการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ และสังเคราะห์สร้างองค์ความรู้เพื่อเป็นสติปัญญาให้แก่สังคมด้วยแล้ว ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันการศึกษาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อีกทั้งน่าจะช่วยทำให้เราเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของตนเองและประเทศเพื่อนบ้าน อันจะส่งผลต่อการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บุคลากร นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษามีเวทีนำเสนอบทความทางวิชาการ
2.เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก
3.เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
คณาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน ๕๐ คน นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชั้นปีที่ ๑ ? ๔ จำนวน ๑๐๐ คน นักวิชาการภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน ๑๐๐ คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
250 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
๑. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ ๑.๑ การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการประชุม ได้แก่การตั้งคณะทำงานจัดประชุม พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดทำบทความ กำหนดกิจกรรมการประชุมและวางแผนการจัดการประชุมอย่างรอบด้าน ๑.๒ การประสานงานเชิญวิทยากรและ call for paper และประชาสัมพันธ์โครงการ ได้แก่การติดต่อประสานงานกับวิทยากร องค์ปาฐก การแจ้งรับบทความวิชาการ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์การประชุมตามสื่อต่างๆ ทั้งโปสเตอร์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ ๑.๓ การจัดประชุม ได้แก่การจัดประชุมตามวัน-เวลา-สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ โดยจัดทำเอกสารประกอบการประชุมด้วย ๑.๔ การส่งรูปเล่มรายงานผลโครงการ คือการรายงานผลต่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบเอกสาร พร้อมทั้งจัดทำเอกสารสรุปบทความการประชุม (Proceedings)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการประชุม --- --- --- 10,000.00
2.การประสานงานเชิญวิทยากรและ call for paper และประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- 98,000.00
3.การจัดประชุม --- --- --- -- 115,000.00
4.การส่งรูปเล่มรายงานผลโครงการ --- --- --- - 52,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 356 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
๐๘.๐๐-๐๘.๔๕ น. ลงทะเบียนและพิธีเปิดงาน
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
๐๘.๔๕-๐๙.๑๕ น. กล่าวรายงาน และกล่าวเปิดงาน คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
๐๙.๑๕ - ๑๐.๑๕ น. ปาฐกถานำ หัวข้อ “ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมในอาเซียน ” ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุวิไล เปรมศรีรัตน์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
๑๐.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. การนำเสนอบทความ/งานวิจัยตามห้องต่าง ๆ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
๑๖.๓๐ น. สรุปผลการประชุมวิชาการ คณบดีคณะศิลปศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ๑.บุคลากร นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษามีเวทีนำเสนอบทความทางวิชาการ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิ และสามารถนำไปศึกษาวิจัยให้มีความลุ่มลึกยิ่งขึ้น ๒.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เครือข่ายนักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ๓.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้องค์ความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก โดยการจัดทำเอกสารสรุปบทความการประชุม (Proceedings) เป็นรูปเล่ม

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
อัตราค่าใช้จ่าย ๑๑๐๐ ต่อ คน ถือว่า มีความคุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ภาษากับสังคมและวัฒนธรรม
หลักสูตร ภาษาไทยและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : ๓ และ ๔
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำประเด็นจากการปาฐกถา การนำเสนอบทความของนักวิชาการ นักวิจัย มาสอดแทรก และอภิปรายร่วมกันในรายวิชาที่สอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 71,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 1,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 37,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
25,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 33,000.00 บาท )
1) - ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) ในการพิจารณาบทความจำนวน 15 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
15,000.00 บาท
2) ค่าตอบแทนผู้วิพากษ์บทความ (Commentator) ในการประชุมจำนวน 10 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 600.00 บาท/ชม.
=
18,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 181,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 48,500.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 42,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 7 คน x ครั้งละ 4,500.00 บาท
=
31,500.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
3) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,500.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
12,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 25,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 250 คน
=
20,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 92,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์โครงการ
=
9,200.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
=
25,000.00 บาท
5) ค่าจัดทำเอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings)
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 15,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 13,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,800.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
2,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 1000 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 3000 บาท
=
3,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 275,000.00 บาท