แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการประชุมวิชาการท่องเที่ยวระดับชาติ “การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนสู่ศตวรรษที่ 21”
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุวภัทร ศรีจองแสง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : แนวทางการอนุรักษ์อาคารที่ทรงคุณค่าในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี [2556]
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยว การจัดการวัฒนธรรม การสื่อความหมายการท่องเที่ยว
หัวหน้าโครงการ
นางสาวพัชรี ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการทางวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : การจัดการทางวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการทางวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวยุวดี จิตต์โกศล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์ : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบริการเยือนชุมชนในงานเทศกาลเข้าพรรษาประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี(โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2556) การพัฒนาเยาวชนเป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นภาษาต่างประเทศ (โครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559)
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปริวรรต สมนึก คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พัฒนาการท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : สอนหลักสูตรการท่องเที่ยวระดับปริญญาตรี 5 ปี สอนหลักสูตรการท่องเที่ยวระดับปริญญาโท 2 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การตลาดท่องเที่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : 7.1 ผลงานวิจัย 1. ผู้ร่วมวิจัย โครงการ “การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ.2547 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ” พ.ศ. 2548 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. หัวหน้าโครงการวิจัย “สำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ. 2549 แหล่งทุนคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัย “การศึกษากลยุทธ์การใช้ E-Tourism เพื่อการแข่งขันในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : กรณีศึกษาด่านช่องเม็ก-วังเต่า และด่านช่องสะงำ-เสียมเรียบ ”พ.ศ. 2550 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 5. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6. ผู้ร่วมวิจัย “โครงการศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการ ท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 7. ผู้ร่วมวิจัย “การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SMEs : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ” พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา (กำลังดำเนินการ) 7.2 ผลงานตีพิมพ์ บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 7.3 ผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ: นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการและการตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ติ๊ก แสนบุญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวอารีรัตน์ เรืองกำเนิด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : มานุษยดุริยางควิทยา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เปิดการเรียนการสอนรายวิชา 1449 310 ระเบยบวิธีวิจัยทางการท่องเที่ยว 1449 492 การศึกษาอิสระเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 4 และรายวิชา 1449 890 วิทยานิพนธ์ และ 1449 710 ระเบียบวิธีวิจัยนวัตกรรมการท่องเที่ยวในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีกระบวนการทักษะทางด้านการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นทางการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวอันยกระดับการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในการวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาผลงานทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังได้เล็งเห็นว่าการพัฒนางานวิจัยควบคู่ไปกับการจัดการความรู้ผ่านระบบการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน เป็นรากฐานที่สำคัญของการนำองค์ความรู้ทางวิชาการไปสู่การประยุกต์ใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติและนานาชาติ นอกเหนือจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ได้มีการดำเนินการเรียนการสอนในสาขาวิชาการท่องเที่ยวแล้ว ยังได้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยที่ได้เปิดการเรียนการสอนทางด้านการท่องเที่ยวด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชชภัฏบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดโครงการประชุมวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวระดับชาติ โครงการประชุมวิชาการท่องเที่ยวระดับชาติ “การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนสู่ศตวรรษที่ 21” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การในการดำเนินงานวิจัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐบาลและเอกชน รวมถึงนักวิจัย นักวิชาการและคณาจารย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สาธารณชนและชุมชนวิชาการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้สู่ส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ทางการท่องเที่ยวให้แก่นักศึกษาเพื่อพร้อมต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและกระแสการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นการร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยอันจะนำไปสู่การพัฒนาผลงานด้านวิชาการทางการท่องเที่ยวในอนาคตต่อไปได้

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวและเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวสู่สาธารณชนและชุมชนวิชาการ
2.2. เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวในระดับชาติ
3.3. เพื่อส่งเสริมและสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศและมีเครือข่ายนักวิชาการและผู้ที่สนใจด้านการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาประเทศ
4.4. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่สามารถสนับสนุนการจัดการการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องรวมถึงฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับประเทศ
5.

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักศึกษาหลักสูตรการท่องเที่ยวและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 100 คน 2. นักวิจัย นักวิชาการอิสระ ภาคเอกชนและผู้สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการทั่วไป จำนวน 100 คน 3. คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในประเทศไทย จำนวน 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
250 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เรียนเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานประชุมวิชาการและนัดหมายประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้าใจในความเป็นมา ความสำคัญและรายละเอียดของโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. ประสานงานเพื่อหาเครือข่ายในการร่วมจัดงานประชุมวิชาการทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เรียนเชิญหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศไทยและระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อหาเครือข่ายในการร่วมจัดงานประชุมวิชาการ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำหนดรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย 4. จัดเตรียมงานประชุม 1. พิจารณาผลงานวิชาการที่ส่งเข้าร่วมประชุมพร้อมแจ้งผลการพิจารณาผลงานวิชาการแก่ผู้เข้าร่วมประชุม 2. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดงานประชุม 3. วางแผนและออกแบบรูปแบบงานประชุม เช่น พิธีเปิด รูปแบบการดำเนินงาน ของที่ระลึก การลงทะเบียน อาหารและเครื่องดื่ม เอกสารประกอบการประชุม การจัด pre-post tour เป็นต้น 4. การทบทวนและนัดมายหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน 5. การติดต่อวิทยากร 5. ดำเนินการจัดงานประชุม ดำเนินงานจัดงานประชุม เช่น การนำเสนอผลงาน การเสวนาทางวิชาการ และการหารือเพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน 6. สรุปผลการดำเนินงานจัดงานประชุม 1. สรุปผลภาพรวมของการดำเนินงาน เช่น ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงาน ผลสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัดของงาน 2. สรุปเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการเงิน 3. การจัดทำเอกสารสืบเนื่องจากงานประชุม (Proceeding) 4. การจัดทำหนังสือขอบคุณแก่วิทยากรและผู้เข้าร่วมงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เรียนเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานประชุมวิชาการและนัดหมายประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้า -- --- --- --- 0.00
2.ประสานงานเพื่อหาเครือข่ายในการร่วมจัดงานประชุมวิชาการทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เรียนเชิญหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศไทย - -- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำหนดรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย --- --- --- 20,000.00
4.จัดเตรียมงานประชุม 1. พิจารณาผลงานวิชาการที่ส่งเข้าร่วมประชุมพร้อมแจ้งผลการพิจารณาผลงานวิชาการแก่ผู้เข้าร่วมประชุม 2. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดงานประ --- --- --- --- 32,000.00
5.ดำเนินการจัดงานประชุม ดำเนินงานจัดงานประชุม เช่น การนำเสนอผลงาน การเสวนาทางวิชาการ และการหารือเพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรร --- --- -- --- 180,600.00
6.สรุปผลการดำเนินงานจัดงานประชุม 1. สรุปผลภาพรวมของการดำเนินงาน เช่น ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงาน ผลสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัดของงาน 2. สรุปเอกสารที่ --- --- -- -- 37,400.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 304 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงานประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
10.00 น. – 12.00 น. การนำเสนอบทความวิชาการตาม session ช่วงที่ 1
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00 น. – 16.00 น. การนำเสนอบทความวิชาการตาม session ช่วงที่ 2
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00 น. - 10.00 น. ปาฐกถา เรื่อง “ทิศทางการท่องเที่ยวไทยกับการพัฒนาท้องถิ่นและธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ผู้แทนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.45 น. – 09.00 น. กล่าวเปิดงานประชุมโดยอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงานประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
09.00 น. - 12.00 น การนำเสนอบทความวิชาการตาม session ช่วงที่ 3
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
13.00 น. – 16.00 น. การนำเสนอบทความวิชาการตาม session ช่วงที่ 4
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
16.00 น. – 16.30 น. มอบเกียรติบัตรและกล่าวปิดงานประชุมโดยอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดบรรยากาสและแรงผลักดันแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งจากภาครัฐบาลและเอกชนในการสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนที่จะนำไปสู่ประโยชน์ของการเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาการท่องเที่ยว
ด้านสังคม : เกิดการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างองค์ความรู้ทางการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์และยั่งยืนในประเทศไทยและอนุภาคลุ่มน้ำโขง
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย้่างยืนในภาคอีสานและลุ่มน้ำโขง
ด้านอื่นๆ : ทางวิชาการ 1. นิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวและเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวสู่สาธารณชนและชุมชนวิชาการ 2. นิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวในระดับชาติ 3. เกิดความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศและมีเครือข่ายนักวิชาการและผู้ที่สนใจด้านการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาประเทศ 4. มีแหล่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่สามารถสนับสนุนการจัดการการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องรวมถึงฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับประเทศ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
25,000 รวม 280 คน * 25,000 เป็นจำนวนเงิน 7,000,000 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1449310 ระเบียบวิธีวิจัยทางการท่องเที่ยว/ 1449890 วิทยานิพนธ์
หลักสูตร การท่องเที่ยว/ นวัตกรรมการท่องเที่ยว
นักศึกษาชั้นปี : ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4/ ปริญญาโท ชั้นปีที่ 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 90 ของนักศึกษามีรายงานการสรุปแนวทางการพัฒนางานวิจัยที่ประสบความสำเร็จคนละ 1 เล่ม รวม 50 เล่ม
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 90 ของนักศึกษาในรายวิชาได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการเพื่อศึกษาและร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นจากกงานวิจัยทางการท่องเที่ยวและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานวิจัยในรายวิชาที่ตนเองศึกษาได้
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 63,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 2,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 60,800.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการวิพากย์บทความที่นำเสนอจำนวน 8 คน x จำนวน 6 ชม. x จำนวน 600.00 บาท/ชม.
=
28,800.00 บาท
2) 1. ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ (Peer Review)จำนวน 40 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 800.00 บาท/ชม.
=
32,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 186,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 39,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 6 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 33,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 280 คน
=
33,600.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 44,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 280 คน
=
44,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 12,000.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 57,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานการประชุมวิชาการ (Proceeding)
=
37,400.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำประชาสัมพันธ์โครงการ
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 20,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 20,000 บาท
=
20,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 270,000.00 บาท