แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ชุดโครงการ การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ต่อเนื่องปีที่ 4)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
หัวหน้าโครงการ
นายไกรศักดิ์ ยงกุลวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : วิทยากรการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ วิทยากรการจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวบงกช คูณผล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
วิสาหกิจชุมชนเป็นสถาบันทางธุรกิจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชน ปัจจุบันภาพรวมของวิสาหกิจขุมชนมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ กลุ่มวิสาหกิจจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management) และตลาด(Market) หรือ 6 Ms โดยมีพื้นฐานความรู้ของบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจึงเป็นหัวใจของการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขายสินค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทำได้ในหลายด้านอาทิ การขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การผลิตสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า การทำการตลาดโดยอาศัยเทคนิคต่างๆ และการตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน ในภาวการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและเนื่องจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจจะเป็นลักษณะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น อันจะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นในปัจจุบันวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน ทั้งนี้ผู้นำกลุ่มเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจบริการดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในชุมชน ซึ่งยังขาดทักษะในด้านการบริหารจัดการทำให้ไม่สามารถพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว ชุดโครงการ การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ต่อเนื่องปีที่ 4) เป็นการต่อยอดโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมาทั้ง3ปี ได้ดำเนินการโครงการในพื้นที่ วิสาหกิจชุมชน ในตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี (18 หมู่บ้าน) ซึ่งในตำบลดังกล่าวเป็นตำบลที่มีผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน อาทิ ผ้า เทียนหอม ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก เครื่องจักรสาน ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เครื่องปั้นดินเผาและทอผ้า โดยที่ผ่านมา(3ปี)มีการอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆอันประกอบด้วย(1)การวางแผนในการดำเนินธุรกิจ(2)การบูรณาการความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์(3)การจัดการธุรกิจสมัยใหม่(4)การคำนวณต้นทุนสินค้าและการจัดทำบัญชีอย่างง่าย การดำเนินโครงการฯที่ผ่านมาทั้ง 3 ปีนั้นในได้ผลลัพธ์ด้านการบริหารจัดการกลุ่มเป็นอย่างดี แต่ผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนยังขาดในด้านการส่งเสริมให้มีสื่อทางการตลาดที่เหมาะสมบนพื้นฐานของสินค้าชุมชน ทั้งนี้การสื่อสารการตลาดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ เพราะเป็นองค์ประกอบตัวหนึ่งในสี่องค์ประกอบของกิจกรรมทางการตลาดที่จะนำธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการวางแผนการสื่อสารการตลาดที่ดีจะทำให้ธุรกิจสามารถสื่อสารได้อย่างมีทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมให้มีสื่อทางการตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินกิจการชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อการพัฒนาสื่อการตลาดของวิสาหกิจชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิเคราะห์สถานการณ์ของโอกาส และปัญหาที่เป็นอุปสรรค เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจต่อไป
2.เพื่อสร้างสื่อทางการตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าชุมชนแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
90 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ดำเนินการ ณ.พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ การลงสำรวจใน ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม เพื่อสำรวจว่ามีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใดต้องพัฒนาสื่อการตลาด การวางแผนการจัดทำสื่อสารการตลาด การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อกำหนดกิจกรรมที่สนับสนุนและส่งเสริมการตลาด อันจะทำให้เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไปได้

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมเตรียมแผนงาน - --- --- --- 3,000.00
2.ประสานงาน ติดต่อชุมชน ประชาสัมพันธ์รับสมัคร -- -- --- --- 25,000.00
3.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ --- -- --- --- 41,000.00
4.ติดต่อประสานงานกับวิทยากร และชุมชนในพื้นที่ --- -- -- --- 25,000.00
5.ดำเนินงานตามแผน --- --- - --- 38,000.00
6.สรุปผลและรายงานผล --- --- --- 18,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 - 29 เมษายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 8 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 เมษายน พ.ศ. 2560
09.00-14.00 การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจ (กิจกรรมกลุ้มที่ 1) ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
09.00-14.00 การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจ (กิจกรรมกลุ้มที่ 2) ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2560
09.00-14.00 การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจ (กิจกรรมกลุ้มที่ 3) ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้และได้เล็งเห็นความสำคัญและได้เรียนรู้เทคนิคและเคล็ดลับในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
90
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
20
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1705223 การขายและการตลาดโรงแรม
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -ไม่มี-
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 40,360.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 18,760.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
7,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 11,760.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
11,760.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 14,400.00 บาท )
1) วิทยากรปฎิบัติการ ( 2 คน *600 บาทต่อชม.*4 ชม.*3 วัน)จำนวน 1 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 4,800.00 บาท/ชม.
=
14,400.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 85,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 70,600.00 บาท )
1) ค้าจ้างเหมาจัดพิมพ์เอกสาร ประมวลผลและสรุปเล่ม
=
16,600.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาติดตามผลสัมฤทธิ์และประเมินผลการนำไปใช้
=
15,000.00 บาท
3) ค่าจ้างหมาถ่ายภาพ วีดีโอและตัดต่อ
=
9,000.00 บาท
4) ค่าจ้างสำรวจพื้นที่
=
5,000.00 บาท
5) -ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อการตลาด
=
25,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 24,640.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 15,640.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย ( 3 รุ่น *100 บาท *30 คน)
3 x 3,000 บาท
=
9,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสารทั่วไปและสรุปโครงการ
1 x 4,500 บาท
=
4,500 บาท
3) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 2,140 บาท
=
2,140 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิล
9 x 1,000 บาท
=
9,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท