แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการเผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ 2560
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสหรัฐ โนทะยะ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : นิติกร
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายมหาชน, กฎหมายปกครอง
หัวหน้าโครงการ
นายสมบัติ วอทอง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : ทนายความ
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดี,การว่าความ
ผู้ร่วมโครงการ
นายชัช วงศ์สิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : ทนายความ
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดี,การว่าความ
ผู้ร่วมโครงการ
นายขรรค์เพชร ชายทวีป คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายมหาชน)
ประสบการณ์ : ทนายความ
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายมหาชน, กฎหมายปกครอง
ผู้ร่วมโครงการ
นายประดิษฐ์ แป้นทอง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายเอกชน)
ประสบการณ์ : ทนายความ, นิติกร
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายเอกชน
ผู้ร่วมโครงการ
นายอรรถพงศ์ กาวาฬ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : นิติกร, ทนายความ
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายอาญา, กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้ร่วมโครงการ
นายกิตติวัฒน์ ฉัตรศรีโพธิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายมหาชน)
ประสบการณ์ : พนักงาน ป.ป.ง.,พนักงานสอบสวน
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายมหาชน
ผู้ร่วมโครงการ
นายรักขิต รัตจุมพฏ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายอาญา)
ประสบการณ์ : อาจารย์ผู้สอนกฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย มหาวิทยาราชภัฏ-อุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายอาญา ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศศิวิมล เสมอใจ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายกับสังคม)
ประสบการณ์ : อาจารย์ผู้สอนกฎหมายครอบครัว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวณวีร์พัช บุญโสภา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : ผู้ช่วยเลขานุการศูนย์เผยแพร่ฯ
ความเชี่ยวชาญ :
เหรัญญิก
นางสาวกิตติยา พรหมจันทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายการคลัง)
ประสบการณ์ : อาจารย์ผู้สอนกฎหมายภาษีอากร
ความเชี่ยวชาญ :
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์แต่ละสังคมนั้นจะมีกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน ในยุคดั้งเดิมนั้นมนุษย์สามารถที่จะรู้กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันได้โดยตัวของมนุษย์แต่ละคนเองเพราะกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันนั้นสอดคล้องกันศีลธรรมและมโนธรรมสำนึกผิดชอบชั่วดีของมนุษย์เอง มนุษย์จึงสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจกฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่ในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นคือ กฎเกณฑ์ที่เรียกว่ากฎหมาย ซึ่งกฎหมายในยุคปัจจุบันนั้นจะเป็นเรื่องทางเทคนิคมากขึ้นและมนุษย์จะไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงตัวกฎหมายได้โดยตัวของมนุษย์เองเช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันในยุคดั้งเดิม และการที่มนุษย์ไม่รู้กฎหมายนี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ละเมิดกฎหมายหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่รู้กฎหมาย อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม หากไม่มีความเป็นธรรมในสังคมแล้วความสงบสุขในสังคมก็จะไม่มีเกิดขึ้นและสังคมมนุษย์สังคมนั้นก็จะล่มสลายไปในที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดีและมีระดับการศึกษาในระดับที่ไม่สูงนัก จึงขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย อันเป็นสาเหตุให้ถูกเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากความไม่รู้กฎหมาย ทั้งเมื่อเกิดปัญหามีข้อพิพาททางกฎหมายขึ้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะหาที่พึ่งที่จะให้ความช่วยเหลือในทางกฎหมายที่น่าเชื่อถือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้น ประชาชนทั่วไปจึงมีความคาดหวังว่าคณะนิติศาสตร์จะสามารถเป็นที่พึ่งทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ ด้วยความตระหนังถึงภารกิจของคณะที่มหาวิทยาลัยได้มอบหมายและความคาดหวังของประชาชนดังกล่าวข้างต้น คณะนิติศาสตร์จึงได้จัดตั้งศูนย์เผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย (ศชปก.) ขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการให้บริการวิชาการทางกฎหมายในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การจัดเผยแพร่กฎหมายโดยการบรรยายในรูปแบบของกิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร การจัดประชุม/อบรม/สัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น แต่เนื่องจากคณะนิติศาสตร์เป็นคณะที่อยู่ในกำกับของมหาวิทยาลัย งบประมาณของคณะนิติศาสตร์ที่จะสนับสนุนการให้บริการวิชาการทางด้านนิติศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไปจึงมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ศูนย์เผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงจัดทำโครงการเผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ 2560 ขึ้น โดยมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในชนบทหรือประชาชนที่มีปัญหาทางกฎหมายเฉพาะเรื่องในรูปแบบของนิติศาสตร์สัญจร ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และองค์กรภาคประชาชน
2.เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายให้แก่นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป
3.เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายปกครองและกฎหมายอื่นผ่านสื่อออนไลน์
4.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ
5.เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกติกาพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันของสังคมไทยและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านกฎหมายในกลุ่มสาขาวิชาของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ โดยการจัดเวทีให้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ
6.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการทางกฎหมายกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์กรภาคประชาชน และโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.ประชาชนทั่วไปในชนบท และประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลเมืองศรีไค ตำบลธาตุ ตำบลโพธิ์ใหญ่ และตำบลคำขวาง (ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะ) 2. นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป (ที่ขอรับคำปรึกษาทางกฎหมาย) 3. นักเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าค่ายเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 7 4. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาและผลงานวิชาการฯ 5. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันรพี (นักศึกษาทุกชั้นปี, นักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย, คณะครูอาจารย์ที่ติดตามนักเรียน, บุคลากรคณะฯ) 6. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ศชปก.
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรม - กิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร (4 ครั้ง) - กิจกรรมจัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน - กิจกรรมเสวนาทางวิชาการมิถุนายน 2560 และนำเสนอผลงานวิชาการฯ - ค่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 7 - จัดกิจกรรมวันรพี - กิจกรรมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ศชปก. วิธีการดำเนินงาน 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ 2. ประสานงานกลุ่ม/ชุมชน/องค์กร/หน่วยงานต่างๆ (โรงเรียน, องค์การบริหารส่วนตำบล) เพื่อเชิญเป็น องค์กรร่วมจัดกิจกรรมตามโครงการและเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเข่าร่วมกิจกรรม 3. เริ่มจัดกิจกรรมต่างๆไปตามแผนการดำเนินงาน 4. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.นิติศาสตร์สัญจร 4 ครั้ง -- -- -- -- 48,000.00
2.จัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน --- --- --- -- 20,000.00
3.กิจกรรมเสวนาทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการฯ --- --- -- --- 160,000.00
4.ค่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 8 --- -- --- -- 225,000.00
5.จัดกิจกรรมวันรพี --- --- --- -- 22,000.00
6.กิจกรรมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ศชปก. --- --- --- -- 25,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 ธันวาคม พ.ศ. 2559
08.00-17.00 กิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จำนวน 4 คน
20 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.30-21.00 กิจกรรมค่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 7 อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์, วิทยากรภายนอก และวิทยากรกรกระบวนการ (พี่เลี้ยงประชุมกลุ่ม
21 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.30-21.00 กิจกรรมค่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 7 อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์, วิทยากรภายนอก และวิทยากรกรกระบวนการ (พี่เลี้ยงประชุมกลุ่ม
22 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.00 - 16.30 กิจกรรมค่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 7 อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์, วิทยากรภายนอก และวิทยากรกระบวนการ (พี่เลี้ยงประชุมกลุ่ม)
24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 กิจกรรมนำเสนอผลงานบริการวิชาการทางกฎหมาย (มิถุนายน 2560) องค์ปาฐกถาภายนอก และผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์ผลงานวิชาการ
8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 กิจกรรมวันรพี 2559 อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ชาวบ้านไม่ถูกหลอกหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากความไม่รู้กฎหมาย และทำให้ปัญหาข้อพิพาทในหมู่บ้านลดลงเนื่องจากมีการไกล่เกลี่ยระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
500
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา รายวิชาต่างๆ ดังนี้ 1. กฎหมายลักษณะนิติกรรมและหนี้ 2. กฎหมายลักษณะละเมิด 3. กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน 4.กฎหมายลักษณะครอบครัว 5.กฎหมายเอกเทศสัญญา 6. ก
หลักสูตร นิติศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาได้ฝึกประสบการวิชาชีพ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 103,980.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 88,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 60,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
60,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,380.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,780.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,780.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 10,800.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฎิบัติงาน จำนวน 2 คน x จำนวน 13 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
7,800.00 บาท
2) ค่าตอบแทนรางวัลในการแข่งขันตอบปัญหาจำนวน 3 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 1,000.00 บาท/ชม.
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 338,420.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 88,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 15,240.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,810.00 บาท
=
15,240.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 72,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 30 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
72,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 960.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 1 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
960.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 88,720.00 บาท )
1) จำนวน 11 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
44,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
720.00 บาท
3) จำนวน 11 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
44,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 132,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 250.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
120,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 29,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการ
=
17,000.00 บาท
2) ค่าเช่าห้องประชุม
=
6,000.00 บาท
3) ค่าของรางวัล
=
3,000.00 บาท
4) ค่าบริการสื่อโสตทัศน์
=
3,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 57,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 14,350.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
14,350 x 1 บาท
=
14,350 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 24,000.00 บาท )
1) วัสดุโฆษณาและประชาสัมพันธ์
6 x 4,000 บาท
=
24,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
5 x 1,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
6 x 1,000 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 8,250.00 บาท )
1) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ
=
2,200.00 บาท
3) ค่าวัสดุดนตรีและนาฏศิลป์
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุวารสารและตำรา
=
2,550.00 บาท
5) ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
=
1,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 500,000.00 บาท