แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวนิตยา จิตบรรเทิง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการวิจัย: 1. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. รูปแบบการจัดการน้ำบาดาลให้ถูกหลักสุขาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านเก่าน้อย ตำบลธาตุ อำเภอเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้านมลพิษทางอากาศและเสียง
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษา ที่มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในท้องถิ่น การให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจการต่าง ๆ ของชุมชนก็เป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษาให้เกิดความมั่นคงแก่ชุมชนและท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโรงเรียนในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 24 โรงเรียน ซึ่งการพัฒนาการเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษา ให้เกิดความมั่นคง ในโรงเรียนเครือข่าย เป็นอีกบทบาทหน้าที่หนึ่งที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการพื้นฐานในด้าน ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จากการทำโครงการบริการวิชาการ โครงการโรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการเก็บข้อมูลและตรวจประเมินด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ได้แก่การตรวจประเมินความเข้มของแสงสว่าง เสียง และฝุ่นในโรงเรียน รวมถึงการตรวจประเมินโรงอาหาร ผู้สัมผัสอาหาร ตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะบรรจุอาหารในโรงเรียน การตรวจประเมินคุณภาพน้ำอุปโภค บริโภค และการจัดการขยะภายในโรงเรียน ซึ่งพบว่าโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการ มีความเสี่ยงภายในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณห้องเรียน อาคารเรียนที่มีความเก่า ชำรุด ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟที่เก่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าซ็อตหรือลัดวงจรได้และบริเวณสนามเด็กเล่น เครื่องเล่น ที่ชำรุด เป็นสนิม มีการติดตั้งที่ไม่มั่นคง พื้นที่ ของสนามเด็กเล่นในบางโรงเรียนจะรกมีหญ้าขึ้น หรือบางครั้งไม่สามารถเข้าไปใช้สนามเด็กเล่นได้เนื่องจากช่วงหน้าฝนจะเฉอะแฉะและดินไม่คงตัว เป็นต้น ส่วนการจัดการขยะในภาพรวมก็ยังพบว่าโรงเรียนยังไม่มีระบบการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลทั้งหมด และความยั่งยืนในการจัดการขยะในโรงเรียนในส่วนใหญ่ที่ยังคงเป็นประเด็นปัญหาของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำหรับการจัดการสุขาภิบาลโรงอาหารและน้ำดื่มน้ำใช้ ก็ยังพบเชื้อคลอโรฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่ม น้ำใช้ของโรงเรียน และการจัดการโรงอาหารสำหรับบางโรงเรียนยังไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารเลย ส่วนสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง เสียง และฝุ่น จะพบปัญหาว่าโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีประเด็นปัญหาเรื่องแสงสว่างมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไป เมื่อได้ผลการเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น จึงมีการแจ้งผลการตรวจประเมินและจัดอบรมการประเมินความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้กับครูอนามัยโรงเรียนซึ่งเป็นตัวแทนของโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียนและผู้รับผิดชอบ ได้ทำการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นภายในโรงเรียน และคณะทำงานเข้าเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมอีกครั้งเพื่อประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านความเสี่ยงและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ของการทำโครงการบริการวิชาการ “โครงการโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี” ทำให้ได้ข้อมูลและได้เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัย ทางด้าน การประเมินความเสี่ยง การจัดการขยะ การดำเนินงานเกี่ยวกับคุณภาพของอาหาร และการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ซึ่งในปี 2558-2559 จึงได้พัฒนาจากโครงการโรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดีมา เป็นโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัย ปี 2 และ โครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัย ปี 3 รูปแบบของการบริการวิชาการนี้คือมีการคัดเลือกโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัย จำนวน 5 โรงเรียน เพื่อพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในแต่ละด้านที่แตกต่างกันเพิ่มขึ้นอีก ดังนี้ การดำเนินการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 2557  วัดบ้านค้อหวาง ดำเนินการด้าน การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ)  บ้านแฮหนามแท่ง ดำเนินการด้านสุขาภิบาลอาหาร  บ้านหนองสองห้อง ดำเนินการด้านการจัดกาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน  บ้านธาตุ ดำเนินการด้านห้องเรียนปลอดภัย  บ้านกุดระงุม ดำเนินการด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย การดำเนินการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 2558  วัดบ้านค้อหวาง ดำเนินการด้านสุขาภิบาลอาหาร  บ้านแฮหนามแท่ง ดำเนินการด้านห้องเรียนปลอดภัย  บ้านคำขวาง ดำเนินการด้านการจัดการขยะ  (ธนาคารขยะ)  บ้านธาตุ ดำเนินการด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย  บ้านกุดระงุม ดำเนินการด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การดำเนินการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 2559  วัดบ้านค้อหวาง ดำเนินการด้านห้องเรียนปลอดภัย  บ้านแฮหนามแท่ง ดำเนินการด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย  บ้านคำขวาง ดำเนินการด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน  บ้านธาตุ ดำเนินการด้านสุขาภิบาลอาหาร  บ้านกุดระงุม ดำเนินการด้านการจัดการขยะ (ธนาคารขยะ) ดังนั้นในโครงการบริการวิชาการการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 จึงเป็นการพัฒนาต่อยอดจากผลการทำโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 ในปี 2559 เพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและ ให้มีการพัฒนาจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น และยังคงพัฒนาการจัดการในด้านที่ดีอยู่แล้วให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียน และผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และเป็นการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ในด้านความปลอดภัย ด้านจัดการขยะ ด้านอาหารปลอดภัย และด้านโรงเรียนน่าอยู่น่าเรียน เพิ่มมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการ 6 โรงเรียน จำนวน 70 คน ได้แก่ โรงเรียนบ้านแฮหนามแท่ง โรงเรียนบ้านธาตุ โรงเรียนบ้านค้อหวาง โรงเรียนบ้านกุดระงุม โรงเรียนบ้านคำขวาง และโรงเรียนบ้านบัววัด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
70 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) ประสานงานโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 โรงเรียน 2) จัดประชุมชี้แจงโครงการและคัดเลือกโรงเรียนที่สนใจและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ o โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัย o โรงเรียนต้นแบบด้านจัดการขยะ o โรงเรียนต้นแบบด้านอาหารปลอดภัย o โรงเรียนต้นแบบด้านโรงเรียนน่าอยู่น่าเรียน 3) ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบในแต่ละด้าน 4) โรงเรียนเขียนโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา 5) อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้แต่ละโรงเรียน 6) โรงเรียนดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา 7) ตรวจประเมินโครงการแต่ละโรงเรียน 8) สรุปผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานโรงเรียนเครือเข้าร่วมโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.จัดประชุมชี้แจงโครงการและคัดเลือกโรงเรียนที่สนใจและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีก 1 ด้าน ( 1 วัน ) -- --- --- --- 5,250.00
3.ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบในแต่ละด้าน ทั้ง 6 โรงเรียน (2วัน ) -- --- --- --- 10,500.00
4.โรงเรียนเขียนโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา -- --- --- --- 2,550.00
5.โรงเรียนนำเสนอโครงการ (1 วัน ) -- --- --- --- 0.00
6.6.อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้แต่ละโรงเรียน (5 ครั้ง ) -- --- --- --- 44,250.00
7.โรงเรียนดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา --- - --- --- 0.00
8.ตรวจประเมินโครงการแต่ละโรงเรียน ( 3 วัน ) --- -- --- --- 25,150.00
9.สรุปผลโครงการ (1 วัน) --- --- -- --- 5,250.00
10.จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการ (1 วัน) --- --- -- --- 7,050.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 29 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 362 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.30 จัดประชุมชี้แจงโครงการ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการขยะ อ.สมเจตน์ทองดำ
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านอาหารปลอดภัย อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านห้องเรียนปลอดภัย อ.จีราพร ทิพย์พิลา
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย อ.จีราพร ทิพย์พิลา
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม อ.นิตยา ชาคำรุณ
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.30 โรงเรียนนำเสนอโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านการจัดการขยะ อ.สมเจตน์ทองดำ
30 ธันวาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านการจัดการขยะ อ.สมเจตน์ทองดำ
6 มกราคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านอาหารปลอดภัย อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
13 มกราคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านความปลอดภัย อ.จีราพร ทิพย์พิลา
20 มกราคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านความปลอดภัย อ.จีราพร ทิพย์พิลา
31 มกราคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านการจัดการสภาพแวดล้อม อ.นิตยา ชาคำรุณ
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ตรวจประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการขยะและอาหารปลอดภัยครั้งที่ 1 อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ตรวจประเมินโครงการโรงเรียนด้านความปลอดภัยและด้านการจัดการสภาพแวดล้อม ครั้งที่ 2 อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
17 สิงหาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 สรุปผลโครงการ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
8 กันยายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : โรงเรียนเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการจัดการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น จนเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมได้
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
70
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสุขาภิบาลอาหาร
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต(อนามัยสิ่งแวดล้อม)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การนำเสนองาน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 82,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 27,300.00 บาท )
1) จำนวน 13 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
27,300.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 40,950.00 บาท )
1) จำนวน 13 มื้อ x มื้อละ 45.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
40,950.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,350.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
4,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาเข้ารูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ (300 บาท* 6 เล่ม)
=
1,800.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร
=
2,550.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท