แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ปีที่ 2 (สร้างเสริมสุขภาพดีวิถีไทย)
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านการบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : ปฏิบัติงานพยาบาล 9 ปี , อาจารย์สอนสาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การส่งเสริมสุขภาพ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวสิริทรัพย์ สีหะวงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลครอบครัว
ประสบการณ์ : -พยาบาลวิชาชีพ -งานวิจัยในเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
ความเชี่ยวชาญ : -การพยาบาลครอบครัว
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ส่งผลต่อภาวะสุขภาพทั้งในด้านภาวะสุขภาพทางกาย และทางจิตใจ ซึ่งแม้ว่าอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยจะยืนยาวขึ้นแต่ไม่สัมพันธ์กับการมีสุขภาพดี นั่นคือ อายุยืนยาวแต่มีความเจ็บป่วย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่พอเพียงและขาดความสมดุล ขาดการดูแลเอาใจใส่สุขภาพ การป้องกันปัจจัยเสี่ยง และการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง (กระทรวงสาธารณสุข 2555 : 13-16) ซึ่งเป้าหมายหลักของการสร้างเสริมสุขภาพ คือ การทำให้บุคคลนั้นเกิดพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยการพัฒนาศักยภาพของบุคคลในการควบคุม ดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้เหมาะสม และเมื่อบุคคลมีภาวะสุขภาพที่ดีก็จะส่งผลดีทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ทั้งนี้ในการดำเนินการด้านการสร้างเสริมสุขภาพจำเป็นต้องดำเนินการในทุกช่วงวัยเนื่องจากปัญหา ภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคคลในแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ทั้งในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน สตรีในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด และวัยสูงอายุ พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการให้การดูแล ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับบุคคลในทุกช่วงวัยเพื่อให้มีบุคคล ครอบครัว และชุมชนมีสุขภาพที่ดีทั่งสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเพื่อถ่ายทอดและพัฒนา สร้างเสริมให้ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ภายใต้บริบทของชุมชน รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า สร้างสติและปัญญาแก่สังคม บนพื้นฐานความพอเพียงนอกจากนี้ในการดำเนินการได้มีการบูรณาการโครงการเข้าไปกับการเรียนการสอนในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาทั้งในด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการสื่อสารและทักษะชีวิตและอาชีพ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาและชุมชนเกิดการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมศักยภาพในด้านการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัย
2.เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้จากการจัดโครงการบริการวิชาการในด้านการจัดโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้รับบริการ
3.เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในด้านการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง
4.เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างชุมชนกับนักศึกษาพยาบาล

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนในเขตพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัย บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
232 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประเมินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและสำรวจความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 2. วางแผนการจัดโครงการ มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยนักศึกษาร่วมกับชุมชน 3. จัดโครงการมหกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 4. ประเมินผลการจัดโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประเมินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและสำรวจความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและวางแผนการจัดโครงการ มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยนักศึกษ - --- --- --- 0.00
2.จัดกิจกรรมมหกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีไทย - --- --- --- 79,400.00
3.สรุปแลประเมินการจัดโครงการ --- - --- --- 20,600.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รวมเวลา 151 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
08.00 - 14.30 มหกรรมการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีไทย
17 มกราคม พ.ศ. 2560
09.00 - 12.00 สรุปและประเมินผลการจัดโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
ด้านสังคม : 1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถจัดโครงการด้านการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลได้ 2.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง 3.ผู้ที่เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
232
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสร้างเสริมสุขภาพ
หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนไปฝึกปฏิบัติจริง โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมากว่า 3.51
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการร่วมกิจกรรมทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากขึ้นมากว่า 3.51
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 5,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 5,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 52,120.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 17,520.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 232 คน
=
13,920.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 17,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
6,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 232 คน
=
11,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 17,000.00 บาท )
1) ค่าเช่าเครื่องเสียง
=
3,000.00 บาท
2) ค่าเช่าชุดการแสดง
=
5,000.00 บาท
3) จ้างเหมาถ่ายวีดิทัศน์
=
5,000.00 บาท
4) จ้างเหมาพิมพ์เอกสาร
=
1,000.00 บาท
5) จ้างเหมาเข้าเล่มสรุปโครงการ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 42,480.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,272.00 บาท )
1) กระดาษ A4
1 x 555 บาท
=
555 บาท
2) ปากกาลูกลื่น
3 x 179 บาท
=
537 บาท
3) คลิปบอร์ด
3 x 60 บาท
=
180 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) ป้ายประจำซุ้มนิทรรศการ แบบ roll up
4 x 1,250 บาท
=
5,000 บาท
2) ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) ตลับหมึกเครื่องปรินท์
1 x 2,400 บาท
=
2,400 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) น้ำมันเชื้อเพลิง
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 29,808.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโครงการ
=
24,808.00 บาท
2) ค่าของรางวัล
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท