แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลระบบผลิตน้ำประปาของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวนิตยา จิตบรรเทิง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการวิจัย: 1. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. รูปแบบการจัดการน้ำบาดาลให้ถูกหลักสุขาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านเก่าน้อย ตำบลธาตุ อำเภอเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้านมลพิษทางอากาศและเสียง
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ระบบประปาหมู่บ้าน เป็นระบบสาธารณูปโภค ที่มีความจำเป็นต่อชุมชน แต่เดิมมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการก่อสร้างและบริหารจัดการ เนื่องจากเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ประชาชนในชนบทได้อุปโภคบริโภคน้ำสะอาดอย่างทั่วถึงและเพียงพอ รัฐบาลแต่ละสมัยจึงทุ่มเท งบประมาณจำนวนมาก เพื่อทำโครงการจัดหาน้ำสะอาด โดยการตั้งเป้าหมายให้มีระบบประปาครอบคลุมทุกหมู่บ้านเรื่อยมา จนปัจุบันระบบประปาหมู่บ้านครอบคลุมหมู่บ้านไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของหมู่บ้านทั้งหมดในประเทศ หรือคิดเป็น 41, 152 หมู่บ้าน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549) ในปี 2537 ได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ภารกิจหนึ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลก็คือการให้มีน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนด้วย ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการถ่ายโอนภารกิจและทรัพย์สินสาธารณูปโภค (แหล่งน้ำและระบบประปาชนบท) ได้แก่ การก่อสร้างระบบประปาชนบท เป็นต้น จากส่วนราชการกลาง แต่เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีภารกิจงานหลายด้าน และมีบุคลากรในการปฏิบัติงานน้อย จึงขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการดูแลระบบประปา และระบบประปาชนบทบางแห่งได้ถ่ายโอนต่อให้ชุมชนดำเนินการบริหารจัดการเอง โดยสมาชิกผู้ใช้น้ำที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลระบบซึ่งทำหน้าที่เป็นช่างประจำประปา ซึ่งไม่ได้รับการอบรมการดูแลระบบประปาหมู่บ้านทำให้ขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานดูแลระบบการผลิต ขาดการตรวจสอบประจำวัน และการล้างถังกรองตามรอบระยะเวลา ทำให้น้ำที่ผลิตจากประปาหมู่บ้านไม่ได้มาตรฐานน้ำบริโภค จากการสำรวจสถานภาพหมู่บ้านชนบทไทยตามข้อมูลของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช. 2 ค) ปี 2552 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่มีน้ำสะอาดดื่มและใช้เพียงพอตลอดปี คือ ครัวเรือนที่มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและน้ำใช้คิดเป็นร้อยละ 97.44 และครัวเรือนที่มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีคิดเป็นร้อยละ 97.20 สำหรับความครอบคลุมของระบบน้ำประปา พบว่า ประชาชนที่มีน้ำประปาใช้ตลอดปีคิดเป็นร้อยละ 80.21 ของครัวเรือนในชนบท นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีครัวเรือนที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆอีก เช่น บ่อน้ำตื้นส่วนตัว และบ่อบาดาล เป็นต้น (แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2554) เมื่อสุ่มตรวจคุณภาพน้ำบริโภคประเภทต่างๆของ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขปี 2549 พบว่าน้ำเพื่อการบริโภคของครัวเรือนมีปัญหาเรื่องคุณภาพทั้งน้ำประปา น้ำฝน น้ำบ่อบาดาลและน้ำบ่อตื้น ที่ใช้บริโภค มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ของกรมอนามัยเพียงร้อยละ 40.00 คุณภาพน้ำที่ไม่ผ่านเกณฑ์เกิดจากการปนเปื้อนแบคทีเรียมากที่สุด เมื่อมีการสำรวจการปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มพบว่าครัวเรือนที่มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มและไม่ได้ปรับปรุงมีค่าใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 49.50 และ 50.50 ตามลำดับ (ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยของอาหาร, 2548) และจากข้อมูลของกรมอนามัยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของแต่ละจังหวัด ในปี พ.ศ. 2551-2553 พบว่า น้ำประปาส่วนใหญ่ไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคของกรมอนามัย ส่วนคุณภาพน้ำประปาของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคของกรมอนามัย ปี 2553 เพียงร้อยละ 20-40 เท่านั้น ซึ่งปัญหาหลักของคุณภาพน้ำที่ตรวจพบคือ การปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย รองลงมา คือปัญหาทางกายภาพ ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง สี และความขุ่น สำหรับคุณภาพน้ำทางเคมี ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นค่าสารละลายทั้งหมดที่เหลือจากการละเหย ความกระด้าง คลอไรด์ ซัลเฟต ฟลูออไรด์ เหล็ก สังกะสี แมงกานีส และสารหนูที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนน้ำฝน และบ่อน้ำตื้นพบว่า ส่วนใหญ่คุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเช่นกัน (แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2554) ปัจจัยที่ส่งผลกับคุณภาพน้ำประปาชนบทส่วนใหญ่นั้นพบว่าเกิดจาก ระบบผลิตน้ำประปาประปาขาดประสิทธิภาพเนื่องจากผู้ดูแลระบบขาดความรู้ในการดูแล จากการศึกษาของสุขใจ สิงห์ขวา (2551) ได้ศึกษาการพัฒนาศักยภาพระบบการผลิตประปาหมู่บ้าน ต.บ้านหัน อ.โนนศิลา จ.ขอนแก่น พบว่า กรรมการบริหารไม่ผ่านการอบรมการบริหารประปาหมู่บ้าน ร้อยละ 58.3 โดยขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี ร้อยละ 33.3 การตรวจสอบบัญชี ร้อยละ 50.0 และไม่มีการติดตามการปฏิบัติงานของผู้ดูแลระบบการผลิต และผู้ดูแลระบบการผลิตขาดทักษะในการปฏิบัติงาน โดยล้างทรายกรองถูกต้องเพียงร้อยละ 16.7 รวมทั้งการศึกษาของ สุวรรณ์ เพ็ชรรัตน์ (2552). ได้ศึกษาระบบผลิตและคุณภาพน้ำประปาผิวดินพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลระบบประปาผิวดินพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ส่วนใหญ่มีคะแนนการปฏิบัติงานตามรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษา ระบบผลิตน้ำประปา อยู่ในระดับต่ำ (คะแนนการปฏิบัติงานเฉลี่ยร้อยละ 42.18) และคะแนนประเมินโครงสร้างระบบผลิตและการดูแลบำรุงสภาพระบบอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน (คะแนนสภาพระบบประปา เฉลี่ยร้อยละ 46.23) ปัญหาที่พบ ได้แก่ การบำรุงดูแลตามรอบเวลาการบำรุงรักษาระบบ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์คู่มือการดูแลระบบประปา กรมทรัพยากรน้ำกำหนด อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกับคุณภาพน้ำประปา คือแหล่งน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปาที่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำเสีย ซึ่งจากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ในปี 2552 พบว่าสภาวะและวิกฤติการณ์น้ำเสียจากชุมชนที่มีความเป็นเมือง ในเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ พบว่า ชุมชนเมืองที่ประกอบด้วยชุมชนที่ได้ยกฐานะขึ้นมาเป็นเทศบาลทั้งหมด 1,130 แห่ง และชุมชนระดับองค์การบริหารส่วนตำบลอีกจำนวน 6,754 แห่ง เป็นชุมชนที่ระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมประมาณวันละ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็นน้ำเสียจากพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน และน้ำเสียจากพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล และพื้นที่อื่นๆ ประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่มีเพียงชุมชนเมืองในพื้นที่เทศบาลนครและเทศบาลเมืองเพียง 87 แห่ง ทั่วประเทศที่ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งสามารถรองรับน้ำเสียจากชุมชนได้เพียงวันละ 2.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่มีชุมชนเมืองที่ไม่มีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมมากถึง 7,803 แห่ง โดยเป็นชุมชนเมืองจำนวน 1,060 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 6,743 แห่ง (กรมควบคุมมลพิษ, 2550) ดังนั้น ชุมชนเมืองที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียจากชุมชน หรือเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงทำให้เกิดมลภาวะแก่แหล่งน้ำธรรมชาติและทำให้เกิดความสูญเสียต่อระบบนิเวศน์ จึงนับเป็นปริมาณน้ำเสียจากชุมชนเมืองจำนวนมากกว่าวันละ 12 ลูกบาศก์เมตร ที่ถูกปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม สู่แหล่งน้ำธรรมชาติและผิวดิน และจากการศึกษาของ พชรภร แก้วสำราญ (2552). ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินผลคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา พบว่า คุณภาพน้ำผิวดินที่ใช้เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการผลิตประปาหมู่บ้าน มีค่าความขุ่น และสีของน้ำสูง อีกทั้งพบการปนเปื้อนของสารประกอบสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ทำให้น้ำมีค่าเหล็ก และแมงกานีสสูง แต่สำหรับค่าพีเอช ความกระด้างไนเทรต โพแทสเซียม ทองแดง และโครเมียม ดังนั้นเมื่อแหล่งน้ำดิบเกิดการปนเปื้อนแล้ว จำเป็นต้องมีการผ่านระบบการผลิตน้ำประปาที่มีประสิทธิภาพ และผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของน้ำประปา ซึ่งถ้าหากประชาชนนำน้ำที่คุณภาพไม่ดี ไม่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย มาบริโภค อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องจากน้ำที่ไม่สะอาดเป็นพาหะนำโรคต่างๆ ที่เรียกว่า โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ (Water bone diseases ) โดยมีโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Coliform bacteria) เป็นดัชนีชี้วัดการปนเปื้อนทางชีวภาพซึ่งปกติมักพบอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์เลือดอุ่น การตรวจพบจุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงถือได้ว่ามีการปนเปื้อนของอุจจาระอาจนำมาซึ่งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้ (วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์และคณะ, 2554) และจากข้อมูลมูลการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในทุกๆปี มีประชาชนมากกว่า 1.2 ล้านคน เจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับน้ำและสุขอนามัยที่ไม่ถูกต้อง เช่น โรคบิดอุจจาระร่วง และโรคอหิวาตกโรคทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก (สุรวิทย์ คนสมบูรณ์, 2554) และหากนำน้ำมีคุณภาพทางกายภาพที่ไม่เหมาะสม มีสี มีตะกอน และมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ มาใช้ในการอุปโภคอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนังได้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นในแต่ละพื้นที่นั้น สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ การพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่าชุมชนรอบมหาวิทยาลัยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น จำนวนหอพัก และร้านค้า รวมทั้งสถานประกอบการต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนของนักศึกษาในแต่ละปี และกระจายไปตามชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอย่างไม่มีรูปแบบ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน จะเห็นได้จากการศึกษาและสำรวจของ ปิยะนุช สิงห์แก้ว (2550) ถึงผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของการตั้งมหาวิทยาลัยใกล้ชุมชน โดยเลือกศึกษาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่า นับแต่มีการตั้งมหาวิทยาลัย ชุมชนรายล้อมได้พัฒนาสู่ความเป็นเมือง เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ได้แก่ปัญหาการส่งเสียงดังเนื่องจากการดื่มสุราของนักศึกษา และปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดจากหอพัก (ปิยะนุช สิงห์แก้ว: 2550) ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจหอพัก บ้านพัก ห้องเช่ามีจำนวนกว่า 300 แห่ง ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านซักอบรีด ร้านล้างรถ การเกษตรที่ใช้สารเคมี และการใช้น้ำในครัวเรือน ได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่ถนนในชุมชน ผิวดินและแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยคือลำห้วยตองแวด ซึ่งลำห้วยตองแวดนั้นเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านมากถึง 12 หมู่บ้าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้น้ำในลำห้วยตองแวดปนเปื้อน มีสีน้ำตาลและมีกลิ่นสารเคมี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงกว่าปกติ (ค่า pH ต่ำกว่า 6) และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen: DO) มีค่าต่ำกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ชาวบ้านการได้กลิ่นน้ำยาซักผ้าจากน้ำใต้ดินและน้ำในลำห้วยดังกล่าว ซึ่งความรุนแรงของปัญหาคุณภาพน้ำปัจจุบันรุนแรงมากขึ้นแม้ฤดูน้ำหลาก ที่น้ำสามารถไหลได้น้ำยังพบว่าเป็นสีดำ และมีการตกตะกอนของน้ำที่มากขึ้น (กิ่งกาจญ์ สำนวนเย็น, 2556. ) ประกอบการมีสถานที่ฝังกลบขยะ (landfill) ขนาดใหญ่ที่รองรับขยะจากจังหวัดอุบลราชธานีทั้งหมดรวมทั้งอำเภอใกล้เคียง ห่างจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเพียง 5 กิโลเมตร จึงทำให้ชาวบ้านหลายชุมชนมีความสงสัยและกังวลถึงความสะอาดของน้ำประปา และผลกระทบจากการใช้น้ำประปาหมู่บ้านในครัวเรือน เนื่องจากเห็นถึงปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้นและแหล่งน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปานั้นส่วนใหญ่ล้วนมาจากแหล่งน้ำใต้ดินในพื้นที่ชุมชน ประกอบคุณภาพน้ำประปาที่ครัวเรือนใช้นั้น มีสีเหลือง บางครั้งมีความขุ่นสูงและมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำประปาหมู่บ้านในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานียังไม่มีคุณภาพ อีกทั้งผู้ที่ดูแลระบบประปาของชุมชนยังขาดความรู้ในการดูแลระบบอีกด้วย ดังนั้นหากชุมชนมีการนำมาประปามาที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ประโยชน์ก็จะส่งผลกระทบสุขภาพของคนในชุมชนได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำประปาของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3.เพื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบผลิตน้ำประปาผู้ดูแลระบบผลิตน้ำประปาของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้นำชุมชน อสม. และคณะกรรมการผู้ดูและระบบผลิตน้ำประปาหมู่บ้านรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เป็นเขตการปกครองของเทศบาลตำบลเมืองศรีไค จำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่ 1) บ้านศรีไค 2) บ้านแมด 3) บ้านแขม ตำบลศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 3 หมู่บ้าน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) การติดต่อหน่วยงานและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการทำโครงการ ได้แก่ ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เทศบาล และการประปาส่วนภูมิภาค อุบลราชธานี 2) จัดประชุมชี้แจงโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งแผนการดำเนินโครงการตลอดการดำเนินโครงการ 3) ดำเนินการเก็บข้อมูล ได้แก่ - สำรวจรูปแบบการผลิตน้ำประปาของชุมชน - วิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน - เก็บแบบสัมภาษณ์การผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบประปา 4) จัดประชุมคืนข้อมูล คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปา ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำประปา และผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบผลิตน้ำประปาผู้ดูแลระบบผลิตน้ำประปา ให้แก่ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง 5) จัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลระบบผลิตน้ำประปาแก่ผู้ดูแลระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) จัดประชุมสรุปผลโครงการและข้อเสนอแนะ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อหน่วยงานและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการทำโครงการ ได้แก่ ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เทศบาล และการประปาส่วนภูมิภาค อุบลราชธานี -- --- --- --- 0.00
2.จัดประชุมชี้แจงโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งแผนการดำเนินโครงการตลอดการดำเนินโครงการ -- --- --- --- 5,500.00
3.ดำเนินการเก็บข้อมูลการสำรวจรูปแบบการผลิตน้ำประปาของชุมชน -- --- --- --- 2,000.00
4.เก็บน้ำตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน - --- --- --- 4,500.00
5.วิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน - --- --- --- 33,800.00
6.เก็บแบบสัมภาษณ์การผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบประปา - --- --- --- 8,000.00
7.จัดประชุมคืนข้อมูล คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปา ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำประปา และผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบผลิ --- -- --- --- 5,500.00
8.จัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลระบบผลิตน้ำประปาแก่ผู้ดูแลระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง --- - --- --- 32,700.00
9.จัดประชุมสรุปผลโครงการและข้อเสนอแนะ --- --- -- --- 8,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 29 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 362 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ติดต่อหน่วยงานและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการทำโครงการ ได้แก่ ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เทศบาล และการประ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
8.30-16.30 จัดประชุมชี้แจงโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งแผนการดำเนินโครงการตลอดการดำเนินโครงการ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
8.30-16.30 ดำเนินการเก็บข้อมูลการสำรวจรูปแบบการผลิตน้ำประปาของชุมชน อ.สุภาณี จันทร์ศิริ
18 มกราคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 เก็บน้ำตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน อ.สมเจตน์ทองดำ
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
8.30-16.30 วิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
23 มีนาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 เก็บแบบสัมภาษณ์การผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบประปา อ.นิตยา ชาคำรุณ
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 จัดประชุมคืนข้อมูล คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปา ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำประปา และผลการประเมิ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ
22 มิถุนายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 จัดอบรมเกี่ยวกับการดูแลระบบผลิตน้ำประปาแก่ผู้ดูแลระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประปาส่วนภูมิภาค
17 สิงหาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 จัดประชุมสรุปผลโครงการและข้อเสนอแนะ อ.จีราพร ทิพย์พิลา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เกิดความร่วมมือระหว่าง สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กับชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต(อนามัยสิ่งแวดล้อม)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำเสนองาน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การนำเสนองาน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 89,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 50,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
3,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาเข้ารูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
=
2,500.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร
=
2,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาเก็บน้ำตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน
=
4,500.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาเก็บแบบสัมภาษณ์การผลิตน้ำประปา และการดูแลระบบประปา
=
4,500.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำประปาของชุมชน
=
33,800.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท