แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประพนธ์ บุญเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชศาสตร์(การผลิตพืชไร่ )
ประสบการณ์ : 1.การวิจัยด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ แบบยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2.การวิจัยด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ ในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง 3.การวิจัยด้านเทคนิคการจัดการพืชอาหารสัตว์ ในสภาพแปลงหญ้าผสมถั่วพืชอาหารสัตว์
ความเชี่ยวชาญ : ด้านพืชอาหารสัตว์ และด้านการผลิตข้าว
หัวหน้าโครงการ
นายวันชัย อินทิแสง คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สัตวศาสตร์
ประสบการณ์ : 17
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตดคนม
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สราญ ปริสุทธิกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การจัดการพืชอาหารสัตว์และการผลิตแพะแกะ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการพืชอาหารสัตว์ การผลิตแพะแกะ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อารีรัตน์ ลุนผา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สัตวศาสตร์ (วิชารองพืชไร่)
ประสบการณ์ : - เจ้าหน้าที่วิจัยโครงการพืชอาหารสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ปี 2543-2549 - อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ปี 2550-ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : - พืชอาหารสัตว์ การจัดการทุ่งหญ้า และอาหารสัตว์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้รัฐบาลให้ความสนใจและได้ส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อขุนคุณภาพดี เพื่อจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ โดยเฉพาะโครงการใหม่ๆที่กำลังจะมีขึ้นเช่น โครงการโคล้านครอบครัว โครงการส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เชิงการค้า และเกษตรกรผู้ทำนาหญ้าขาย ทำให้มีพื้นที่ปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นเพียง 20,000 กว่าไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่เพียงเล็กน้อยและไม่เพียงพอสำหรับการรองรับโครงการโคล้านครอบครัวที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้มีขึ้น ที่ควรจะมีพื้นที่ปลูกหญ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านไร่ถึงจะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในบางพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ และกระบือ เกษตรกรได้หันมาให้ความสนใจปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตวืกันมากขึ้น แต่ยังพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ยังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารหยาบคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองต่อครัวเรือนน้อย และขาดความรู้ด้านการจัดการพืช และการจัดการด้านสัตว์ที่ปล่อยเข้าไปแทะเล็มในแปลงหญ้าที่รุนแรงเกินไป ทำให้ผลผลิตพืชอาหารสัตว์ลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะในแปลงทุ่งหญ้าในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังนั้น มีการจัดการด้านพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันไป ที่ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาการปลูก ช่วงเวลาการตัด และการถนอมพืชอาหารสัตว์ ให้พืชอาหารสัตว์สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอต่อการเลี้ยงปศุสัตว์ของเกษตรกรต่อไปได้ พืชอาหารสัตว์เป็นอาหารหยาบที่ดี มีราคาถูก และมีคุณค่าทางอาหารโภชนะต่อสัตว์เลี้ยง จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่า การเลี้ยงโคขุนด้วยอาหารหยาบคุณภาพดีเป็นการเพียงพอ และสามารถให้ผลผลิตน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 300-400 กรัมต่อตัวต่อวัน โดยไม่จำเป็นต้องเสริมอาหารข้นราคาแพง ซึ่งการผลิตพืชอาหารสัตว์ให้เพียงพอต่อความต้องการเลี้ยงสัตว์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการพัฒนาและปรับปรุงด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ทั้งหญ้าและถั่วให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกัน ในด้านการปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ การเขตกรรม การจัดการเกี่ยวกับพืชและสัตว์ การปลูกทุ่งหญ้าผสมถั่ว และการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน อันเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงแปลงทุ่งหญ้าอาหารสัตว์ ให้สามารถผลิตอาหารหยาบได้ปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนการผลิตสัตว์และเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปทำการปลูกหญ้าขาย ซึ่งจัดฝึกอบรมครั้งนี้จะช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง และเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ในภูมิภาคนี้มากขึ้น ทั้งนี้หลังจากมีการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะได้ทำการประเมินผลหลังการฝึกอบรม ว่าเกษตรกรสามารถพัฒนาปลูกสร้างแปลงหญ้ามีความสำเร็จเพียงใด ซึ่งต้องหาหรือมีดัชนีตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินผลโครงการฝึกอบรมดังกล่าว

วัตถุประสงค์
1.เพื่อการพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ให้มีอาชีพการผลิตหญ้าพืชอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน
2.เผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่สังคมชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ และผู้สนใจทั่วไป ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน 2.เกษตรกรผู้สนใจปลูกหญ้าพืชอาหาสัตว์และประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ก. รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรตามกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 กลุ่มๆ 50 คน ข. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน จำนวน 2 วันต่อกลุ่ม ค. ส่งเสริม และสาธิตการผลิตหญ้าพืชอาหารสัตว์ แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม และจัดทำกลุ่มสาธิตตลาดพืชอาหารสัตว์ สาธิตในหมู่บ้านสำหรับ กลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ง. ติดตามตรวจเยี่ยมพื้นที่ และประเมินผลเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และผ่านการฝึกอบรม จ. วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานในปีต่อ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่เป้าหมาย --- --- --- 5,000.00
2.รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกร --- - --- --- 5,000.00
3.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- -- --- 45,000.00
4.ส่งเสริมการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ --- --- - --- 25,000.00
5.ติดตามตรวจเยี่ยมแปลง และประเมินผลเกษตรกร --- --- --- - 10,000.00
6.วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลการดำเนินงาน --- --- --- - 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 พิธีเปิดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ(รุ่นที่ 1 จำนวน 50 ราย) ดร.สราญ ปริสุทธิกุล และคณะ
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
09.00-10.00 ความสำคัญของพืชอาหารสัตว์ต่อปศุสัตว์ไทยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
10.00-11.30 การจำแนกพืชอาหารสัตว์ ดร. อารีย์รัตน์ ลุนผา
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
11.30-12.00 เทคนิคการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
25 มีนาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.30 การปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ - แนะนำพันธุ์พืชอาหารสัตว์ - การเตรียมเมล็ดพ นายประพนธ์ บุญเจริญ
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.30 บรรยาการทำแปลงสาธิตพืชอาหารสัตว์ -การปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัต นายประพนธ์ บุญเจริญ ,นายวันชัย อินทิแสง
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
10.30-12.00 การเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์ นายวันชัย อินทิแสง
26 มีนาคม พ.ศ. 2560
08.30-10.30 การจัดการและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์เพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
22 เมษายน พ.ศ. 2560
13.00-16.30 การปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ - แนะนำพันธุ์พืชอาหารสัตว์ - การเตรียมเมล็ดพ นายประพนธ์ บุญเจริญ
22 เมษายน พ.ศ. 2560
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
22 เมษายน พ.ศ. 2560
11.30-12.00 เทคนิคการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
22 เมษายน พ.ศ. 2560
10.00-11.30 การจำแนกพืชอาหารสัตว์ ดร. อารีย์รัตน์ ลุนผา
22 เมษายน พ.ศ. 2560
09.00-10.00 ความสำคัญของพืชอาหารสัตว์ต่อปศุสัตว์ไทยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
22 เมษายน พ.ศ. 2560
08.30-09.00 พิธีเปิดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ(รุ่นที่ 2 จำนวน 50 ราย) ดร.สราญ ปริสุทธิกุล และคณะ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
08.30-10.30 การจัดการและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์เพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
23 เมษายน พ.ศ. 2560
10.30-12.00 การเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์ นายวันชัย อินทิแสง
23 เมษายน พ.ศ. 2560
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
23 เมษายน พ.ศ. 2560
13.00-16.30 บรรยายการทำแปลงสาธิตพืชอาหารสัตว์ -การปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัต นายประพนธ์ บุญเจริญ ,นายวันชัย อินทิแสง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์มีรายได้ ไม่น้อยกว่า 2,000 –3,000 บาทต่อเดือน
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าสำหรับจำหน่ายไม่น้อยกว่า 2 กลุ่มเกษตรกร
ด้านสิ่งแวดล้อม : พัฒนาพื้นที่ 1แปลงหญ้า 1 ครัวเรือน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1000 บาท/1 ราย

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา Field work (agronomy) I ฝึกงานพืชไร่ 1 (1201 201)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์ )
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การผลิตพืชไร่ การปลูกและการจัดการพืขอาหารสัตว์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 19,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
14,400.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 50,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,840.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,840.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,840.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
16,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,460.00 บาท )
1) วัสดุฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ จำนวน 100 ชุด
=
20,000.00 บาท
2) วัสดุการเกษตร ปุ๋ยเคมี และเมล็ดพันธุ์
=
5,460.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 8,700.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน (จ่ายตามจริง)
100 x 67 บาท
=
6,700 บาท
2) ค่าถายเอกสาร
100 x 20 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิล และค่าเช่าสถานที่ และเครื่องเสียง
2 x 2,000 บาท
=
4,000 บาท
2) ชุดลำโพงขยายเสียงพร้อมใช้งาน
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 5,000.00 บาท )
1) น้ำมันเชื้อเพลิง ดีเซล
200 x 25 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท