แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางนิตยา ชาคำรุณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : – Environmental management – Environmental and Health Impact Assessment (Air pollution and Noise) – Air quality modeling and Emission Inventory – Air quality monitoring and management – Air and Noise pollution control – Greenhouse gas management
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวนิภาพร คำหลอม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ : ผลงานวิจัย (1) เรื่อง การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรระดับจัดการด้านการป้องกันอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2) เรื่อง การศึกษาการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน : กรณีจังหวัดอุบลราชธานี แหล่งทุน ทุนนักวิจัยหน้าใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (3) เรื่อง การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดคอในพนักงานสำนักงาน กรณีศึกษา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (4) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการทางระบบทางเดินหายใจของพนักงานกลุ่มอาชีพหัตถกรรมครัวเรือนที่เกี่ยวกับไม้ กรณีศึกษา : บ้านนาคำ อ. เมือง จ. อุบลราชธานี แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (5) เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานนวดแผนไทย แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (6) เรื่อง การศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีบรรยาย การใช้ Social Media และ Workshop ของผู้เรียนในรายวิชาการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง (1108 417) แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลงานตีพิมพ์ N. Khamhlom, C. Chaikittiporn, C. Pulket, S. Arphorn, V.Singhakajen and S. Taptragarnporn. 2005, “An Improved Workstation for Reducing Muscular Fatigue in the Warm Water Heater Assembly Line”. Safety & Environment Review Journal. Vol. 4, p 31-43. (In Thai) N. Khamhlom. 2008, “An Improved Workstation for Reducing Muscular Fatigue in the Warm Water Heater Assembly Line”. Abstract Book on The 3rd International Scientific Conference on Occupational and Environmental Health. P 155-156.
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, การยศาสตร์, สุขศาสตร์อุตสาหกรรม
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากแผนงานตามยุทธศาสตร์ เพื่อการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้กำหนด ยุทธศาสตร์หลัก 6 ด้าน และมียุทธศาสตร์ที่เน้นด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนคือยุทธศาสตร์ที่ 3 ซึ่งสอดคล้องตามพันธกิจของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559) เรื่องพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง และจากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (2555-2559) ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษาให้เกิดความมั่นคงแก่ชุมชนและท้องถิ่น โดยอาศัยสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่ชนบทต่างๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นสถาบันชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมีพันธกิจในเรื่องการบริการวิชาการ และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคม ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยกลยุทธ์การบริการวิชาการ คือ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตอีสานใต้และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนทุกภาคส่วน ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโรงเรียนในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 24 โรงเรียน จากการทำโครงการบริการวิชาการ โครงการโรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการเก็บข้อมูลและตรวจประเมินด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น พบว่าโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการ มีความเสี่ยงภายในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณห้องเรียน อาคารเรียนที่มีความเก่า ชำรุด ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟที่เก่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าซ็อตหรือลัดวงจรได้ และยังมีการประกอบอาหารซึ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและเตาแก๊สในการให้ความร้อนอีกด้วย ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย และจากการทำโครงการบริการวิชาการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี 2558 พบว่าโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 12 โรงเรียน ไม่มีมาตรการในการดำเนินการกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ และยังไม่มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงเรียนใดเลย และเมื่อพิจารณาถึง สถานการณือัคคีภัยในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 – 2556 พบว่าสถิติการเกิดอัคคีภัยของประเทศไทยจำนวน 53,868 ครั้ง มีมูลค่าความเสียหายรวมทั้งสิ้น 30,695,990,109 บาท (ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2556) และเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยในสถานศึกษาที่ถือว่าก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 คือ เหตุเพลิงไหม้หอพักนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษา ของโรงเรียนพิทักษ์เกียรติวิทยา จ.เชียงราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 17 คน (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก(http://www.komchadluek.net), 2559)) และล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงเรียนบ้านดอนกลาง จ.อุบลราชธานี ที่เป็นโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีมูลค่าความเสียหายกว่า 5 แสนบาท (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (http://www.thairath.co.th), 2559)) ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้แก่ ความร้อน ปริมาณอ็อกซิเจน และเชื้อเพลิง และหากเกิดเพลิงไหม้แน่นอนว่าย่อมมีความเสียหายเกิดขึ้นตามมา ซึ่งผลการสำรวจยังพบว่าในโรงเรียนมีการติดตั้งถังดับเพลิงประจำที่โรงเรียน แต่ยังขาดการดูแลรักษา และยังขาดความรู้ในการใช้งาน อันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการระงับเหตุเบื้องต้น รวมถึงขาดความรู้ในการดำเนินการ เช่น การแจ้งเหตุกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การอพยพกรณีเกิดเหตุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความรุนแรงในการเกิดเพลิงไหม้ และป้องกันอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ตลอดจนการลดความเสียหายจากการเกิดเหตุ การจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเตรียมการเพื่อป้องกันการเกิดเหตุ การดำเนินการเพื่อระงับเหตุและการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ จึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อให้นักเรียนและบุคลากร ในโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้ในการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย และเพื่อพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อันจะสามารถนำไปปฏิบัติกรณีเกิดเหตุการณ์จริงได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนและบุคลากร ในโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้ในการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.เพื่อพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเครือข่าย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. รวบรวมข้อมูลและเตรียมการ 2.เตรียมการอบรม 3.จัดอบรม 4. การพัฒนาแผนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียน 5. การติดตามและประเมินผล 6. สรุปผลการดำเนินการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.รวบรวมข้อมูลและเตรียมการ 1.1.ประสานงานโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ 1.2.จัดการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ - --- --- --- 7,000.00
2.2.เตรียมการอบรม 2.1. ติดต่อประสานงานวิทยากร 2.2. จัดเตรียมเอกสารการอบรม -- -- --- --- 0.00
3.3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียน จำนวน 2 วัน --- -- --- --- 50,600.00
4.4. โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียนตนเอง โดยมีทีมผู้รับผิดชอบโค --- -- -- --- 0.00
5.5.การติดตามและประเมินผล 5.1.ประเมินผลการอบรม 5.2.ประเมินผลการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของแต่ละโรงเรียน --- --- --- 13,400.00
6.6.สรุปผลการดำเนินการและจัดทำรายงานผลการดำเนินการ --- --- --- - 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00-16.00 อบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอััคคีภัย และแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเขียนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
09.00-16.00 การฝึกเขียนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเขียนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : โรงเรียนเครือข่ายสามารถพัฒนาแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับโรงเรียนตนเองได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
740 บาท ต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
หลักสูตร วท.บ.สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาเข้าร่วมการอบรมการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัตตีภัย
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
16,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 48,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 21,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
21,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 14,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน
=
3,000.00 บาท
4) ค่าถ่ายเอกสารและจัดทำรูปเล่มประกอบการอบรม
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 3,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการอบรม
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายโครงการ
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,800.00 บาท )
1) ค่านำ้มัน
2 x 900 บาท
=
1,800 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 74,000.00 บาท