แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวเกษร สายธนู คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ประสบการณ์ : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ 15 ปี อาจารย์ 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง (Shives, L. R., 2012) เช่นเดียวกับ วาทินี สุขมาก (2557) กล่าวถึงลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี ว่าเป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีทั้งในสถานการณ์ที่ปกติและไม่ปกติและสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ผิดปกติ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด (จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวัลลภา คชภักดี, 2551) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบ แก่งแย่งแข่งขัน ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับ (รายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, ค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2559) นอกจากนี้ สถิติผู้ป่วยนอกจิตเวชที่มารับบริการของหน่วยบริการในสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2557 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 1,076,155 1,109,183 และ 1,082,407 คน ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นและลดลงบ้าง แต่ถือว่าเป็นจำนวนที่สูง สำหรับสถิติผู้ป่วยนอก ปี 2557 เฉพาะหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิตที่เป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเป็นโรคจิต 5,805 คน โรคซึมเศร้า 1,736 คน และพยายามฆ่าตัวตาย 14 คน นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นโรควิตกกังวล จำนวน 1,139 คน ซึ่งถือว่ามีจำนวนไม่น้อยเลย ซึ่งการเจ็บป่วยทางจิตเวชถือว่าเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่ง บุคคลที่ป่วยทางจิต จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่องบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาและการดูแลที่ต่อเนื่อง ทั้งนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ได้เน้นให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ อย่างได้มาตรฐาน เสมอภาคและเท่าเทียมกัน การป้องกันหรือลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ชุมชนเทศบาลตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน จากการการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตเวชในชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน 27 คน เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท ผู้ป่วยโรคจิตจากสุราและสารเสพติด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตาย 1 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2558) ข้อมูลจากการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นและการวิจัยเชิงพื้นที่ ประจำปี 2557 ระบุว่าจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังจำนวน 86 คน พบว่ามีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 41.86 โดยร้อยละ 13.96 ควรได้รับการประเมินติดตามเพื่อให้การดูแลแก้ไขภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 27.90 ควรได้รับการตรวจประเมินซ้ำและติดตามประเมินต่อเนื่องเพื่อการป้องกันปัญหาที่รุนแรงขึ้น (สุรีย์ ธรรมิกบวรและเพชรตะวัน ธนะรุ่ง,2557) จากสถานการณ์และความสำคัญดังกล่าว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิต ให้บริการวิชาการแก่สังคม และการวิจัย เห็นความสำคัญในดังกล่าว ดังนั้นจึงได้พิจารณาจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน โดยจัดโครงการในชุมชนเทศบาลตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นชุมชนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในการส่งเสริมสุขภาพจิต จึงบูรณาการกิจกรรมโครงการกับการเรียนการสอนรายวิชา 1801 327 ฝึกปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ และงานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยชุมชนมีส่วนร่วม ผู้รับผิดชอบโครงการคาดหวังว่า จะสนับสนุนให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้เรียนจากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และที่สำคัญเป็นการส่งเสริมป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บริการด้านความรู้ในการดูแล ส่งเสริม และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตแก่ประชาชนในตำบลธาตุ
2.เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้การรับผิดชอบและทำงานเป็นทีมโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่ชุมชนและและงานวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนตำบลธาตุ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช 2.กิจกรรมอบรมการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตกลุ่มเสี่ยง 3.กิจกรรมส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตสำหรับประชาชนทั่วไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 0.00
2.กิจกรรมอบรมการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตกลุ่มเสี่ยง --- --- --- 20,000.00
3.กิจกรรมส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตสำหรับประชาชนทั่วไป --- --- --- 20,000.00
4.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช --- --- --- - 15,000.00
5.ประเมินผลโครงการ จัดทำเล่ม รายงานผล --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ประชาชนทุกช่วงวัยในเขตตำบลธาตุได้รับบริการวิชาการด้านสุขภาพจิตอย่างทั่วถึง 2.ประชาชน ชุมชน มีความเข้มแข็งในการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองเสมอ ภายใต้ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และสืบสานภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่ดีงามให้คงอยู่ตลอดไป 3.นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ได้รับประสบการตรง เรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน 4.อาจารย์ได้พัฒนาการเรียนการสอนในชุมชนและพัฒนางานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนโดยแท้จริง 5.พัฒนาเครือข่าย การเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน 6.งานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเพื่อการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา รายวิชา 1801 327 ฝึกปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมโครงการ ค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาจิตเวชชุมชนเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 ระดับ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 9,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 6,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 46,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,200.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร เข้าเล่ม
=
2,000.00 บาท
2) ค่าไวนิลโครงการ
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาพิมพ์งาน
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 500.00 บาท )
1) กระดาษ A 4
5 x 100 บาท
=
500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,800.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
60 x 30 บาท
=
1,800 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 60,000.00 บาท